บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
6.0K
3 นาที
15 มีนาคม 2558
กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศเวียดนาม
 


กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์


ประเทศเวียดนามไม่มีกฎหมายชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์จนกระทั่งปี 2549 โดยก่อนหน้านี้ การทำธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามดำเนินการผ่านการทำข้อตกลงเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าและการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Trademark Licensing and Technology Transfer) นับตั้งแต่ปี 2549 ประเทศเวียดนามได้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงบังคับใช้ อันได้แก่
  • Decree No. 35/2006/ND-CP of the Government dated 31 March 2006 Detailing the Provisions of the Commercial Law on Commercial Franchising
  • Circular No. 09/2006/TT-BTM of the Ministry of Trade (ปัจจุบันคือ Ministry of Industry and Trade) dated 25 May 2006 Providing Guidelines on the Registration of Franchising Activities โดยจะกำหนดขั้นตอนการจดทะเบียนและแบบฟอร์มมาตรฐาน ซึ่งเป็นการรองรับบทบัญญัติและเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ใน Decree No. 35/2006/ND-CP
โดยมีเงื่อนไขบังคับเบื้องต้นสำหรับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่สำคัญ มีดังนี้


ภาพจาก bit.ly/38wq9xW
  • ธุรกิจของแฟรนไชส์ซีที่จะรับการให้แฟรนไชส์จะต้องเป็นธุรกิจที่เปิดดำเนินการมาแล้วในประเทศเวียดนามไม่น้อยกว่า 1 ปี (Article 5 of Decree No. 35/2006/ND-CP)
  • ธุรกิจของแฟรนไชส์ซีจะต้องได้รับอนุญาตตามทะเบียนพาณิชย์ให้ดำเนินธุรกิจในประเทศเวียดนามได้โดยชอบด้วยกฎหมาย (Article 6 of Decree No. 35/2006/ND-CP)
  • การจดทะเบียนธุรกิจแฟรนไซส์ กล่าวคือ ธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศจะต้องดำเนินการจดทะเบียน ณ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Trade) (Article 17 of Decree No. 35/2006/ND-CP) ซึ่งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการจดทะเบียนเช่นว่านั้น ได้แก่ คำขอจดทะเบียนธุรกิจแฟรนไซส์ คำรับรองธุรกิจแฟรนไชส์ คำรับรองสถานะทางกฎหมายของแฟรนไชส์ซอร์ คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินอุตสาหกรรมที่มีในประเทศเวียดนามหรือในต่างประเทศในกรณีของการอนุญาตให้ใช้สิทธิ นอกจากนี้ ในกรณีที่เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศจะต้องแปลเป็นภาษาเวียดนามและรับรองโดยโนตารีพับพลิคของเวียดนาม หรือรับรองโดยสถานกงสุลของเวียดนามที่อยู่ต่างประเทศ (Article 19 of Decree No. 35/2006/ND-CP)
  • หน้าที่ในการเปิดเผยและแจ้งข้อมูลของแฟรนไชส์ซอร์แก่แฟรนไชส์ซี (Article 8 of Decree No. 35/2006/ND-CP) กล่าวคือ
    • แฟรนไชส์ซอร์จะต้องจัดส่งสำเนาสัญญาแฟรนไชส์และคำรับรองธุรกิจแฟรนไชส์ (แบบฟอร์มของคำรับรองต้องเป็นไปตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ากำหนด) ให้แก่แฟรนไชส์ซีอย่างน้อย 15 วันทำการก่อนที่จะมีการตกลงลงนามในสัญญา เว้นเสียแต่คู่สัญญาจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ข้อมูลที่เปิดเผยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น ข้อผูกพันทางการเงินและการลงทุนต่างๆ ที่แฟรนไชส์ซีจะต้องชำระ เงื่อนไขที่แฟรนไชส์ซีต้องซื้ออุปกรณ์และวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ การฝึกอบรมบุคลากรและการเลือกสถานที่ สิทธิของแฟรนไชส์ซีในการใช้เครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น
    • แฟรนไชส์ซอร์จะต้องแจ้งให้บรรดาแฟรนไชส์ซีทั้งหมดทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใดๆ ของระบบแฟรนไชส์ซึ่งอาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจตามรูปแบบของแฟรนไชส์ที่กำหนดไว้แล้ว
    • ในกรณีที่แฟรนไชส์ซอร์นั้นเป็นแฟรนไชส์ซอร์ลำดับรองที่ได้รับสิทธิมาอีกทอดหนึ่ง แฟรนไชส์ซอร์ลำดับรองนั้นต้องแจ้งให้แฟรนไชส์ซีทราบถึงรายละเอียดของสิทธิที่ได้รับมา เนื้อหาของสัญญาแฟรนไชส์ที่ตกลงกันระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ลำดับแรกและแฟรนไชส์ซอร์ลำดับรอง และเงื่อนไขในการดำเนินการกับสัญญาแฟรนไชส์ลำดับรองในกรณีที่มีการบอกเลิกหรือสิ้นสุดลงของสัญญาแฟรนไชส์ลำดับแรก จ. หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ในการแจ้งต่อหน่วยงานรับจดทะเบียนแฟรนไชส์ให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ของการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ (Article 21 of Decree No. 35/2006/ND-CP) นอกจากนี้ Article 10 of Decree No. 35/2006/ND-CP ยังได้กล่าวถึงสิทธิในทรัพย์สินอุตสาหกรรม (หรือทรัพย์สินทางปัญญา) จะต้องเป็นไปตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องของประเทศเวียดนาม ซึ่งการวิจัยนี้จะศึกษาเฉพาะสิทธิในเครื่องหมายการค้าและความลับทางการค้า อันเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ trung nguyen franchise
ภาพจาก facebook.com/TrungNguyenLegendTuyenDung
 
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

1) กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมาย (การค้าหรือบริการ) ของประเทศเวียดนามได้แก่
  • ประมวลกฎหมายแพ่ง
  • Decree No. 63/CP dated 24 October 1996
  • Decree No. 06/2001/ND-CP dated 1 February 2001
ระบบการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของประเทศเวียดนามนั้นเป็นระบบจดทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนดังเช่นประเทศอื่นๆ ที่เป็นภาคีสมาชิก World Trade Organization โดยมีอายุการคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี และสามารถต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี ทั้งนี้ การยื่นคำขอจดทะเบียนจะต้องยื่นต่อ National Office for Industrial Property ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหลักเกณฑ์การรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็คล้ายคลึงกับประเทศอื่นเช่นกัน กล่าวคือ
  • ต้องเป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
  • ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับของบุคคลอื่นที่ได้รับความคุ้มครองแล้วในประเทศเวียดนาม
  • ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายจนก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ได้รับความคุ้มครองแล้วในประเทศเวียดนาม (รวมถึงเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายอย่างกว้างขวาง)
  • ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายจนก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดกับชื่อทางการค้าหรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองแล้ว
  • ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายจนก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดกับแบบผลิตภัณฑ์ของบุคคลอื่นทั้งที่ได้รับความคุ้มครองแล้วหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณา (ฉ) ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายจนก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดกับรูปรอยประดิษฐ์หรือภาพของบุคคลอื่นที่ได้รับความคุ้มครองแล้ว
  • ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปร่างทางเลขาคณิตธรรมดาหรือตัวเลข
  • ต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่เป็นการลวงผู้บริโภคให้สับสนหลงผิดในตัวสินค้า
  • อื่นๆ ตามประกาศ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ trung nguyen franchise
ภาพจาก bit.ly/3aBYvBD

นอกจากนี้ การทำแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าจากเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งในกรณีเช่นว่านี้ จะต้องมีการยื่นขอจดบันทึกการอนุญาตให้ใช้สิทธิไว้ต่อ National Office for Industrial Property ด้วย โดยจะต้องยื่นคำขอตามแบบฟอร์มที่ประกาศกำหนด หนังสือมอบอำนาจที่รับรองโดยโนตารีพับบลิค และสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า

หน่วยงานที่รับผิดชอบ National Office of Industrial Property (NOIP) P.O. Box 432, Hanoi 384-386 Nguyen Trai Street, Thanh Xuan District, Hanoi Tel.: 84 4 558 82 17, 858 30 69, 858 37 93 Fax: 84 4 858 40 02, 858 34 25, 858 84 49
E-mail: noip@fpt.vn


ภาพจาก bit.ly/37p7tQP

2) กฎหมายความลับทางการค้า เหตุที่ต้องกล่าวถึงความลับทางการค้านั้น เนื่องจากว่าธุรกิจแฟรนไชส์หลายประเภทประกอบด้วยความลับทางการค้าที่ไม่เปิดเผยต่อคู่ค้าและบุคคลภายนอกถึงรายละเอียด แต่คู่ค้าสามารถใช้สิทธิในความลับทางการค้านั้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเจ้าของสิทธิดังกล่าว

กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับความลับทางการค้าของประเทศเวียดนามได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่ง และ Decree No. 54/2000 on Protection of Industrial Property Rights with respect to Trade Secrets, Geographical Instruction and Trade Names and Protection of Rights to Fight against Unfair Competition relating to Industrial Property การให้ความคุ้มครองความลับทางการค้านี้แตกต่างจากการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ มิได้อยู่ภายใต้ระบบจดทะเบียน และจะไม่มีการบันทึกข้อมูลความลับทางการค้า

เนื่องด้วยลักษณะของความลับทางการค้ามิอาจเปิดเผยได้ เช่นนี้ เจ้าของความลับทางการค้าจะต้องมีมาตรการรักษาความลับทางการค้าของตนเอง (Article 6 of Decree No. 54/2000) ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของเจ้าของความลับทางการค้า เจ้าของความลับทางการค้าสามารถฟ้องร้องคดีละเมิดต่อผู้กระทำละเมิดได้และรวมถึงสิทธิในการทำลายความลับดังกล่าวด้วย (Article 8(1) of Decree No. 54/2000) เงื่อนไขที่ถือว่าการกระทำใดเป็นการกระทำละเมิดความลับทางการค้า อาทิ การกระทำที่เป็นการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับของเจ้าของความลับทางการค้าที่มีมาตรการป้องกันไว้แล้ว

ภาพจาก bit.ly/2Rm9gQN

หรือการเปิดเผยหรือการใช้ข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของความลับทางการค้า เป็นต้น (Article 18 of Decree No. 54/2000) ส่วนเรื่องอายุความคุ้มครองความลับทางการค้านั้นไม่มีข้อจำกัดอายุการคุ้มครองแต่อย่างใด โดยจะได้รับความคุ้มครองตราบเท่าที่ยังความเป็นความลับทางการค้าอยู่ (Article 8(2) of Decree No. 54/2000)

อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ในปัจจุบันประเทศกัมพูชาไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องแฟรนไชส์ มีเพียง The Law on Commercial Enterprises ที่มีบทบัญญัติบางส่วนครอบคลุมถึงธุรกิจแฟรนไชส์ในลักษณะของการประกอบธุรกิจ ทั่วไปในประเทศกัมพูชา..
113months ago   4,800  5 นาที
ประเทศลาวก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้โดยตรง ทั้งยังไม่มีข้อกำหนด ระเบียบกฎเกณฑ์เฉพาะเจาะจงสำหรับการจัดตั้งธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเหมือนดังเช่นประเทศสิงคโปร์และประเทศอื่นๆ ที่มิได้หมายความว่าการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศลาวจะไม่มีข้อกำหนด กฎเกณฑ์อื่นมาควบคุม กฎหมายท..
112months ago   4,679  4 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,561
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,288
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด