บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
3.3K
2 นาที
10 กุมภาพันธ์ 2558
ภาคการผลิตกับผลกระทบของ AEC

ใครที่อยู่ในยุคนี้ ยุคที่โลกไร้พรมแดน ขนาดคุณแม่ยังอุ้มบุญข้ามเชื้อชาติกันได้  หรือขนาดการค้าขายยังง่ายแค่ปลายนิ้ว ใครขืนยังปรับตัวไม่ได้ หรือกลับลำกันไม่ทัน มีหวังคงได้ชีช้ำกะหล่ำแฉะกันแน่ๆ อย่างเช่น เจ้าของกิจการรายหนึ่งที่คงจะอึดอัดใจมานาน ถามมาว่า ตนเองจะต้องทำอย่างไรสำหรับธุรกิจการผลิตเพื่อขาย


ซึ่งเดิมทำคนเดียว ก็อยู่มาได้หายห่วง แต่มายุคนี้ พ.ศ.นี้ นับวันยอดขายจะสาละวันเตี้ยลงๆ ยิ่งมาได้ยินได้ฟังกันว่า สมาชิกอาเซียนกำลังจะเข้าสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่เรียกกันว่า  AEC (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY) เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในละแวกบ้านใกล้เรือนเคียง เข้ามาทำกิจการในไทยกันได้อย่างเสรี แกเลยชักยิ่งจะกลุ้มหนัก และชักจะหวาดเสียว..เอาตอนแก่

จะว่าไปก็เห็นใจเถ้าแก่อยู่ไม่น้อย แต่ใคร่ขอทำความเข้าใจกับทุกท่าน ณ จุดๆ นี้ก่อนเลยว่า การเปิด AEC หรือไม่เปิด AEC สำหรับกิจการการผลิตนั้น ไม่มีผลกระทบอะไรมากไปกว่าที่เป็นอยู่มากนัก เหตุผลก็เพราะที่ผ่านมาบ้านเราเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจด้านการผลิตโดยสามารถถือหุ้นได้ถึง 100% อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเพื่อขายในประเทศ หรือเป็นการผลิตเพื่อส่งออก

โดยไม่ขัดต่อกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก รัฐบาลไทยที่ผ่านมาก็ยังจะให้การส่งเสริมการลงทุนผ่านหน่วยงานของรัฐอย่าง BOI อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด ทั้งสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี จนบางทีผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำกิจการด้านการผลิตในไทยก็ยังแอบน้อยใจกันอยู่เนืองๆ

"ในการปรับตัวนั้น ... ไม่มีสูตรสำเร็จเหมือนซุปไก่ก้อน ท่านต้องทดลองทำเองจากการพูดคุย ปรึกษา สัมมนา แลกเปลี่ยนความรู้ หรือบางทีอาจซื้อหา หรือหยิบยืมมาใช้ก็ได้"
 
ด้วยเหตุผลข้างต้น ก็เป็นอันว่า “เถ้าแก่” คงจะได้โล่งใจไปเปลาะหนึ่ง ว่ากิจการของตนคงจะไม่ต้องมาล่มสลายเพราะโดนกระแส AEC เข้าถล่มแต่อย่างใด เพราะธุรกิจการผลิต (ที่ไม่รวมสินค้าจำพวกศิลปวัฒนธรรม อย่างเช่น เครื่องเงิน เครื่องไม้แกะสลัก) นั้น ต่างชาติเขาเข้ามาแข่งขันได้ตั้งนานแล้ว  ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และยุโรป นี่แค่เพิ่มประเทศอาเซียนอีกแค่ 9 ประเทศเท่านั้นเอง ถือว่าจิ๊บๆ! 

อย่างไรก็ดี ไหนๆ ก็พูดแล้ว ขอแถลงไขให้กระจ่างแจ้งกันไปเลยว่า ถ้าหากธุรกิจที่ว่านั้น กลับกลายเป็นธุรกิจที่มีการว่าจ้างให้ผลิตแล้วนำออกขาย (โดยที่บริษัทมิได้ทำการผลิตเอง) หรือบริษัททำการรับจ้างผลิตแล้วติดยี่ห้อคนอื่น อย่างนี้ ก็จะไม่เข้าข่ายเป็นกิจการการผลิต แต่ถือว่าเป็นธุรกิจบริการที่ยังต้องห้ามมิให้ต่างชาติทำได้ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ ดังนั้น หากกิจการของท่านอยู่ในข่ายเป็น OEM (Original Equipment Manufacturer) ก็น่าจะยังได้รับอนุญาต ให้กลุ้มใจไปได้อีกสักพัก ในระหว่างที่ท่านกำลังหาทางปรับตัวอยู่นี้ 

อย่างไรก็ดี ในการปรับตัวนั้น ขอบอกเลยว่าไม่มีสูตรสำเร็จเหมือนซุปไก่ก้อน ท่านต้องทดลองทำเองจากการพูดคุย ปรึกษา สัมมนา แลกเปลี่ยนความรู้ หรือบางทีอาจซื้อหา หรือหยิบยืมมาใช้ก็ได้ทั้งน้าน อย่างในกรณีของกิจการการผลิต อาจเริ่มจากการปรับโครงสร้างองค์กร

จากเดิมที่เคยคิดคนเดียวทำคนเดียวก็คงต้องหาคนมาช่วยคิด บวกกับหาคนที่มีความสามารถในด้านอื่นๆ มาช่วยด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา เทคโนโลยี การควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้า หรืออาจมองหาผู้ร่วมทุน (partner) ใหม่ๆ เพื่อมาแชร์ knowhow ที่อาจจะใช้เป็นทางลัดในการต่อยอดนวัตกรรม หรือนำมาปรับใช้กับการต่อยอดธุรกิจ

ส่วนในด้านตลาดและผลิตภัณฑ์ ท่านอาจจะต้องสำรวจความต้องการของตลาด และความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อผลิตสิ่งที่ตลาดและลูกค้าต้องการ มิใช่ผลิตแต่สิ่งที่ท่านทำเป็นเพียงอย่างเดียว ส่วนในด้านกระบวนการผลิต ควรมีระบบการผลิตที่คำนึงถึงการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต (TPS) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อผลในการลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจ

อ้างอิงจาก  krungsri.com
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด