บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
3.9K
3 นาที
24 มีนาคม 2559
โอกาสธุรกิจไทยในประเทศเวียดนาม ปี 2559-2560


ปัจจุบันการบริโภคสินค้าของชาวเวียดนามได้เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาของประเทศ ทำให้ชาวเวียดนามมีความต้องการบริโภคสินค้าสูงขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย
โดยรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของชาวเวียดนามได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 ในช่วง 10 ที่ผ่านมา จากเดิมที่ชาวเวียดนามมักเลือกซื้อสินค้าราคาถูก โดยเฉพาะสินค้าที่มาจากเมืองจีน


แต่ปัจจุบันพฤติกรรมเหล่านั้นของชาวเวียดนามได้เปลี่ยนไปแล้ว คนวัยหนุ่มสาวที่มีมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนประชากร หันมาบริโภคสินค้าระดับกลางถึงระดับบน รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น เพราะชาวเวียดนามได้คำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการเป็นสำคัญ แม้ว่าต้องควักกระเป๋าจ่ายในราคาแพงขึ้น

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ธุรกิจไทยที่น่าจะมีโอกาสเติบโตในเวียดนาม และโดนใจชาวเวียดนาม มาฝากท่านผู้ประกอบการ และนักธุรกิจที่กำลังมองหาลู่ทางในการออกไปเจาะตลาดต่างประเทศครับ

1.ธุรกิจค้าปลีกกำลังมาแรง


นับตั้งแต่รัฐบาลเวียดนามได้อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในธุรกิจค้าปลีกมาตั้งแต่ปี 2552 ก็ทำให้บริษัทต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ รวมถึงไทย ต่างทยอยเข้าไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายตัวในระยะยาว

โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญ จำนวนประชากรของเวียดนามที่มีมากกว่า 90 ล้านคน ถือเป็นตลาดใหญ่ อีกทั้งประชากรกว่าร้อยละ 60 อยู่ในวัยหนุ่มสาว จึงนับว่าเป็นตลาดกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ รวมทั้งกำลังซื้อของชาวเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลเวียดนามคาดการณ์ว่าในปี 2563 ชาวเวียดนามจะมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีที่ 3,400 ดอลลาร์สหรัฐ

โดยปัจจุบันประเภทธุรกิจค้าปลีกที่ชาวเวียดนามนิยมใช้บริการ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ซึ่งการลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ในเวียดนาม ชาวต่างชาติสามารถลงทุนในสัดส่วน 100% ได้เลย นับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเปิดตลาดต่างประเทศอย่างเวียดนาม

2.ธุรกิจแปรรูปพืชผลทางการเกษตร


เป็นที่ทราบกันดีว่า เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการเพาะปลูกพืชผลการเกษตร (คู่แข่งไทย) เช่น ข้าว ชา กาแฟ พริกไทย และพืชที่ใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ แม้โดยพื้นฐานของประเทศไทยและเวียดนามจะมีสินค้าที่คล้ายคลึงกัน

รวมถึงยังเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ แต่ทั้งสองประเทศยังสามารถร่วมมือกันได้ในหลายด้าน โดยอาศัยความสมบูรณ์ของทรัพยากรและแรงงานของเวียดนาม ประกอบกับความสามารถด้านการแปรรูป เทคโนโลยี และการจัดการตลาดของไทย

3.ธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล


ปัจจุบันเกษตรกรเวียดนามนิยมเลี้ยงปลามากกว่าเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากการเลี้ยงปลาให้ผลผลิตดีและรายได้โดยรวมสูง ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล ตลาดปลากระป๋องยังเปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยสหรัฐฯ และยุโรปนิยมปลาทูนา

ส่วนเอเชียนิยมปลาซาร์ดีน ปัญหาคือ เวียดนามมีวัตถุดิบไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ประกอบการต้องแย่งซื้อปลาที่หน้าแพปลา แม้ราคาจะสูงแต่ไม่สามารถต่อรองราคาได้ เนื่องจากความต้องการมีสูงกว่าการผลิต ผู้ประกอบการไทยด้านอาหารแปรรูปสามารถเข้าไปเปิดตลาดอาหารปลากระป๋องในเวียดนามได้ไม่ยาก

4.ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับรถจักรยานยนต์


รถจักรยานยนต์ถือเป็นตัวบ่งบอกฐานะทางสังคมของชาวเวียดนามได้เป็นอย่างดี เวียดนามมีรถจักรยานยนต์มากกว่า 20 ล้านคัน และเพิ่มขึ้น 1-2 ล้านคันทุกปี ธุรกิจที่น่าสนใจลงทุน เช่น ยางรถจักรยานยนต์ อะไหล่ชิ้นส่วน หมวกกันน็อค เป็นต้น

โดยเฉพาะหมวกกันน็อค ปัจจุบันเวียดนามมีกฎหมายบังคับให้สวมหมวกกันน็อคเมื่อขับขี่บนทางหลวงแล้ว และนับตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2550 บังคับใช้กับการขับขี่ในเมืองด้วย ความต้องการหมวกกันน็อค คาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านใบ และหลายระดับราคา หมวกกันน็อคส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในตลาดเวียดนามยังไม่ได้มาตรฐาน

5.ธุรกิจสินค้าแฟชั่นเครื่องแต่งกาย


ยอมรับว่ากำลังเป็นกลุ่มสินค้าที่อยู่ในกระแสความนิยมของชาวเวียดนาม เป็นสินค้าระดับกลางถึงระดับบน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รองเท้า ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่มีฝีมือ

เพราะปัจจุบันชาวเวียดนามโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวได้รับอิทธิพลการแต่งกายมาจากชาติตะวันตก ทำให้ต้องแต่งตัวให้มีความทันสมัยมากขึ้น ส่งผลให้สินค้าแฟชั่นเครื่องแต่งกายเป็นที่ต้องการของตลาด มีแบรนด์ท้องถิ่นและต่างชาติเข้าไปเปิดร้านอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะในกรุงฮานอย และนครโฮจิมินห์ โดยชาวเวียดนามมีการใช้จ่ายในสินค้าแฟชั่นราว 95 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อคนต่อปี ดังนั้นผู้ประกอบการไทยอาจจะต้องสร้างแบรนด์ไทยให้โดนใจ เพื่อสร้างมูลค่า และหาช่องทางการขายในห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ต

6.ธุรกิจกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์


ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเทคโนโลยี ไอที เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน กำลังเป็นที่ต้องการของชาวเวียดนาม โดยเฉพาะโทรศัพท์และสมาร์ทโฟนถือเป็นตัวบ่งบอกฐานะทางสังคมของชาวเวียดนาม นอกเหนือจากรถจักรยานยนต์

ดังนั้น ตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเวียดนามจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจของผู้ประกอบการไทย ที่ต้องการเข้าสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตสมาร์ทโฟนของเวียดนาม โดยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้ในเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กลางน้ำ อาทิ วงจรพิมพ์ วงจรรวม และไมโครแอสเซมบลี

7.ธุรกิจสุขภาพและความงาม


ชาวเวียดนามยุคใหม่ได้หันมาใส่ใจเรื่องของสุขภาพและความงามมากขึ้น รวมถึงกระแสการออกกำลังกายที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้สินค้าและบริการในกลุ่มนี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเวียดนาม โดยชาวเวียดนามที่มีรายสูงมักเลือกซื้อสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพและความงามที่มีราคาสูง และมีคุณภาพมาตรฐาน

ดังนั้น จึงเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพและความงามของไทย ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจสปา ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อุปกรณ์กีฬา รวมถึงธุรกิจกลุ่มเครื่องสำอาง ที่จะเข้าไปทำเปิดตลาดในเวียดนาม

8.ธุรกิจแฟรนไชส์


เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจะมีโอกาสเติบโตในประเทศเวียดนาม จากปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม รวมถึงการมีรายได้เพิ่มขึ้นของชาวเวียดนาม จึงทำให้ชาวเวียดนามมีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยมากขึ้น

อีกทั้งรัฐบาลเวียดนามได้ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์จากต่างประเทศให้เข้าไปลงทุนในเวียดนาม เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามให้มีการเติบโตมากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในการเจาะตลาดและขยายสาขาในเวียดนาม


โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความสนใจจากชาวเวียดนาม อาทิ แฟรนไชส์ค้าปลีก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม บริการดูแลรถยนต์ ดูแลเด็ก ทำความสะอาด สุขอนามัย บริการจ้างงาน ท่องเที่ยว โรงแรม เครื่องเรือนตกแต่งบ้าน สินค้าและบริการด้านการศึกษา ร้านสะดวกซื้อ เครื่องสำอาง ดูแลความงาม เป็นต้น


ผู้ประกอบการท่านใดที่ยังไม่มั่นใจในการลงทุนต่างประเทศ อาจเริ่มต้นธุรกิจด้วยการส่งสินค้าเข้าไปทดลองตลาดก่อนตัดสินใจลงทุน ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพความต้องการของตลาด และเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งมองเห็นปัญหาที่อาจต้องทำการปรับเปลี่ยนตัวสินค้า หรือกลยุทธ์การเข้าตลาดก่อนลงทุนใหม่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและระยะเวลาในการทำตลาดหลังจากลงทุนจริงได้ครับ


สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการท่านใด ที่สนใจเข้าไปลงทุนและขยายธุรกิจในเวียดนาม แต่อยากจะสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนามก่อน สามารถติดต่อสอบถาม และดูรายละเอียดงานแสดงสินค้าแฟรนไชส์และค้าปลีกในเวียดนามเพิ่มได้ที่  Vietnam Int’l Retail + Franchise Show 2016

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
749
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
501
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
425
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
416
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด