บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    กระแสเงินสด เงินทุนหมุนเวียน
3.7K
2 นาที
8 พฤศจิกายน 2559
6 วิธีการบริหารกระแสเงินสด! ดันธุรกิจให้รุ่ง พุ่งแรง!

 
มีคำถามมากมายว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง

แต่ไม่ว่าจะใช้เทคนิคหรือวิธีการไหนสิ่งที่มีผลต่อการอยู่รอดของธุรกิจมากที่สุดก็คือ “เงินทุน” โดยเฉพาะกับกระแสเงินหมุนเวียนที่ทุกธุรกิจจำเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการบริหาร
 
ซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะสายป่านทางธุรกิจจะสั้นยาวแค่ไหนก็ดูได้จากเงินสดของธุรกิจต่างๆ การบริหารกระแสเงินสดที่ไหลเวียนเข้าออกในแต่ละวันแต่ละเดือนจึงต้องมีเทคนิคการบริหารจัดการที่ดีเพราะสิ่งที่ว่านี้คือกุญแจสำคัญที่พร้อมจะดันให้ธุรกิจคุณพุ่ง หรือดึงให้ธุรกิจคุณร่วงได้เช่นกัน
 
6วิธีบริหารจัดการกระแสเงินสดสำหรับการทำธุรกิจ

1. การรักษาสภาพคล่อง

คือต้องให้ธุรกิจมีรายรับเพียงพอกับรายจ่าย หรือมีเงินเพียงพอเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งSMEsต้องหมั่นติดตามตรวจสอบกระแสเงินสดเข้าออกของธุรกิจอย่างใกล้ชิด เพราะรายรับและรายจ่ายทั้งหลายนั้นต่างก็มีวงจรหรือช่วงเวลาของมันอยู่ เช่น ธุรกิจซื้อสินค้ามาขาย 1 ชิ้น ได้เครดิตเทอมจากซัพพลายเออร์ (จ่ายเงินให้ผู้ขายสินค้า) 30 วัน แต่สินค้าชิ้นนี้กว่าจะขายได้ใช้เวลา 45 วัน

ดังนั้นระยะเวลาส่วนต่าง 15 วันที่ยังไม่ได้รับเงินค่าสินค้านี่เอง ที่ธุรกิจต้องมีเงินมาหมุนใช้ในธุรกิจให้เพียงพอ ทั้งนี้ในความเป็นจริงธุรกิจไม่ได้ซื้อขายสินค้าทีละชิ้น และยังต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำค่าไฟ เงินเดือนพนักงาน หนี้การค้า หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้เงินกู้ที่ธุรกิจต้องจ่าย ทำให้ต้องบริหารกระแสเงินสดในมือให้เพียงพอ ถึงจะเรียกว่ามีสภาพคล่อง เพราะหากบริหารเงินในส่วนนี้ไม่ได้จะกลายเป็นปัญหาให้ธุรกิจสะดุดถึงขั้นหยุดชะงักได้เลยทีเดียว 

2. มีการถือเงินสดอย่างเหมาะสม

หมายถึงการมีเงินสดเพียงพอต่อการหมุนเวียนในวงจรปกติของธุรกิจที่พอดีไม่น้อยจนติดขัดและขาดสภาพคล่อง แต่ก็ไม่มากจนเสียโอกาสในการเอาไปลงทุนสร้างผลตอบแทนให้งอกเงย

เนื่องจากการถือเงินสดนั้นมีต้นทุนค่าเสียโอกาส และเงินมีมูลค่าลดลงจากอัตราเงินเฟ้อ จึงควรนำไปหาประโยชน์ให้ธุรกิจ เช่น นำไปลดภาระเงินกู้ยืมเพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ลงทุนในตราสารอายุสั้น หรือนำไปขยายธุรกิจตามสมควร เป็นต้น
 
3. ต้องมองหาเงินทุนมาเติมส่วนที่ขาด

สำหรับSMEsที่มีกระแสเงินสดไม่เพียงพอหมุนเวียนในธุรกิจ จำเป็นต้องจัดหาเงินมาเติมในช่องว่างส่วนที่ขาด เช่นจากตัวอย่างข้างต้น ถ้าใน 15 วัน ธุรกิจไม่สามารถหาเงินมาหมุนเวียนระหว่างรอลูกค้าจ่ายเงินได้ ก็อาจต้องหาทางออกด้วยการเจรจาขอให้ลูกค้าจ่ายเงินให้เร็วขึ้น

หรือเจรจาขอยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้กับซัพพลายเออร์ หรืออาจจำเป็นต้องหาเงินทุนด้วยการเพิ่มทุนจากหุ้นส่วน หรือการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ แต่ในการกู้ยืมนั้นต้องคำนึงถึงภาระดอกเบี้ยที่ตามมาด้วยว่า ธุรกิจสามารถรองรับภาระในส่วนนี้ได้หรือไม่ 
 
4. รู้จักคำนวณการใช้เงินให้แม่นยำมากขึ้น
การที่ธุรกิจสามารถคำนวณกระแสเงินสดทั้งรายรับและรายจ่ายในระยะสั้นและระยะยาวได้ จะเป็นการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ให้ธุรกิจ รวมถึงวางแผนการใช้เงินได้อย่างถูกต้อง

ทั้งยังส่งผลถึงแผนการผลิต แผนการขายและการตลาด และนโยบายการให้เครดิตเทอมแก่ลูกค้าหรือระยะเวลาที่ลูกค้าแต่ละรายจะต้องจ่ายเงินเพื่อให้เพียงพอกับวงจรเงินสดของธุรกิจนั้นๆด้วย

การคาดคะเนล่วงหน้าถือเป็นสิ่งดีที่ทำให้เราพอจะมองเห็นภาพรวมของธุรกิจในระยะยาวนักธุรกิจที่ดีจะสามารถคำนวณสิ่งเหล่านี้ล่วงหน้าได้มากกว่า 3 เดือนเป็นอย่างน้อยทำให้เกิดการควบคุมกระแสเงินสดได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้นด้วย
 
5. รู้จักการประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจ

เป็นภาพรวมที่เกิดขึ้นได้ดทั้งในระดับอุตสาหกรรมและในระดับธุรกิจ หมายถึงประเมินความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับเรา เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน หรือความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังต้องประเมินความเสี่ยงในระดับธุรกิจ คือการประเมินธุรกิจตัวเองเปรียบเทียบกับคู่แข่ง เช่น การบริหารต้นทุน การลดค่าใช้จ่าย เป็นต้น เพื่อดูว่าธุรกิจของคุณมีความสามารถในการแข่งขันเป็นเช่นไร และจำเป็นต้องปรับปรุงกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อการแข่งขันหรือลดความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้น ซึ่งในบางกลยุทธ์อาจจำเป็นต้องใช้เงินสดในการลงทุน
 
6. จำเป็นต้องหาแหล่งสำรองเงินไว้เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน
 
การลงทุนมีความเสี่ยงเพราะฉะนั้นทุกวินาทีมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาได้ทั้งสิ้น มีเหตุการณ์หลายอย่างที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจได้แบบไม่คาดคิดมาก่อน เช่น ไฟไหม้ ค่าเงินผันผวน คนงานนัดหยุดงาน หรือลูกค้าหลักยกเลิกคำสั่งซื้อ ผู้ประกอบการSMEsจึงควรมีเงินสดหรือทรัพย์สินที่ซื้อง่ายขายคล่องสำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอ

เผื่อวันใดที่จำเป็นต้องใช้จะได้มีไว้ใช้ประคับประคองให้ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้ และการมีแหล่งสำรองเงินทุนนี้ก็ควรมีไม่น้อยกว่า 2 ที่เผื่อในยามที่เกิดปัญหาจะได้กระจายความเสี่ยงโดยไม่ยึดติดกับที่ใดที่หนึ่งเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้เมื่อมีแผนสำรองการเงินก็ต้องมีแผนการจ่ายคืนที่ชัดเจนอีกด้วยเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในระยะยาว
 
การทำธุรกิจที่ดีจึงควรศึกษาระบบเทคโนโลยีที่มีช่วยทำให้ธุรกิจมีความคล่องตัวขึ้นเช่นการใช้ระบบโทรศัพท์ในการสั่งจ่ายเช็ค หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์สั่งจ่ายเงินเดือนพนักงาน หรือการโอนเงินออนไลน์ในกรณีสั่งซื้อหรือรับโอนค่าสินค้าเรียกได้ว่าเงินเข้าก็บอก เงินออกก็รู้ ซึ่งจะช่วยทำให้สามารถบริหารกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และรวดเร็วยิ่งขึ้น
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,790
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,395
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด