บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
2.9K
2 นาที
4 พฤษภาคม 2560
มาแน่ๆ! 5 วิธีปรับกลยุทธ์ธุรกิจ ต้อนรับสังคมไร้เงินสด

 
ภาพจาก goo.gl/vMFRRH

อย่างที่ทราบกันดีว่าแนวคิดของ Cashless society หรือสังคมไร้เงินสดนั้นกำลังมาแรงเป็นอย่างมาก ทั่วโลกต่างก็ขานรับกับแนวความคิดนี้ทั้งที่ความจริงในบางประเทศเองก็ถือว่ามีการใช้เงินสดกันน้อยอยู่แล้วเช่นเกาหลีใต้ที่มีบริการ T Money ที่สามารถใช้จ่ายค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าแท็กซี่ และซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อโดยตัวเลขเฉลี่ยประชากรเกาหลีใต้นั้นมีบัตรเครดิต 1.9 ใบต่อประชากร 1 คน การซื้อขายสินค้าและบริการโดยใช้เงินสดมีอยู่ประมาณร้อยละ 20 เท่านั้น
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่ากระแสสังคมไร้เงินสดนี้มีแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็ยังผลักดันให้เรื่องนี้เกิดขึ้นกับธุรกิจไทยในภาพรวมแม้จะยังไม่เป็นรูปร่างชัดเจนมากนักเพราะการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จำเป็นที่ต้องมีระบบการจัดการมารองรับ

แต่กระนั่นในภาคธุรกิจเองก็พยายามที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแส Cashless society นี้โดยที่เราเห็นเปิดตัวบริการออกมาเช่น m-Pay, True Money, และ Rabbit เป็นต้น รวมถึง Samsung Pay นวัตกรรมทางการเงินที่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือแทนบัตรเครดิตได้

ไม่ว่าจะเคยมีบัตรอยู่กี่ใบก็สามารถเก็บไว้ในโทรศัพท์เครื่องเดียวได้ และต่อไปนี้คือแนวทางการเปลี่ยนแปลงที่บางอย่างก็เริ่มต้นแล้วบางอย่างก็กำลังจะเริ่มต้นขึ้นเป็นบรรทัดฐานให้ธุรกิจไทยได้เอาไว้ใช้เป็นแนวทางปรับตัวไปกับกระแส Cashless society นี้

1.PromptPay


ภาพจาก goo.gl/AVps1q

ดูว่าจะเป็นบริการใน Cashless society ที่เราได้ยินกันมากที่สุดช่วงนี้ การเข้ามาของ PromptPay ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมโอนเงินธนาคาร โดยเริ่มต้นที่ 0 บาท สูงสุดไม่เกิน 10 บาท รวมถึงการที่โมบายแบงก์กิ้งหลายธนาคาร ใช้กลยุทธ์ควบคู่กับ PromptPay ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนข้ามธนาคารมาเป็นจุดขาย ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภคที่สามารถโอนเงินชำระเงินได้อย่างสะดวกขึ้นในราคาถูกลงและไม่ต้องใช้เงินสด 
 
2.โครงการกระจายเครื่องรับชำระเงิน (อีดีซี) 

 
ภาพจาก goo.gl/DQhCU7

เครื่องอีดีซี เป็นการรองรับการชำระเงินผ่านบัตรเดบิต ซึ่งบัตรเดบิตในประเทศมีประมาณ 54 ล้านใบ แต่กลับใช้จ่ายผ่านการรูดบัตรน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้บัตรเดบิตเพื่อกดเงินสดจากเอทีเอ็ม กระทรวงการคลังมองว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากจุดรับบัตรน้อยเกินไปจึงเป็นที่มาของโครงการนี้ ฉะนั้นหากมีเครื่องอีดีซีครอบคลุม คนจะใช้บัตรเดบิตชำระเงินโดยตรง โดยไม่ต้องกดเงินสดมาใช้โดยตั้งเป้ากระจายเครื่องไปที่หน่วยงานราชการและร้านค้ากว่า 5.5 แสนแห่งทั่วประเทศและคาดว่าจะวางเครื่องครบทุกแห่งภายในไตรมาสแรกของปี 2561
 
3.จัดตั้ง White ATM 

 
ภาพจาก goo.gl/CWUE7K

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแผนงานให้ธนาคารพาณิชย์ร่วมมือกันจัดตั้ง "White ATM" ขึ้นมาเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไป แทนที่ตู้เอทีเอ็มที่ใช้ทุกวันนี้แต่ละแบงก์ต่างมีของตัวเอง โดยมีรายละเอียดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะขึ้นกับแต่ละธนาคารกำหนด

หากมีการนำ "White ATM" การเก็บค่าธรรมเนียมอยู่บนอัตราเดียวกันย่อมเป็นเรื่องดีสำหรับผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากค่าธรรมเนียมที่ถูกลง ขณะที่ในทางปฏิบัติการจัดตั้ง "White ATM" ให้เกิดขึ้น อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายทีเดียว เพราะมีอีกหลายโจทย์ที่จะต้องมาตกลงกันว่าจะให้ใครเป็นเจ้าของตู้เอทีเอ็ม ใครเป็นผู้บริหารเงินสด ใครเป็นผู้ดูแลความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายจะเรียกเก็บอย่างไร จากใคร รวมไปถึงการจะแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากค่าธรรมเนียมที่เก็บอย่างไร เป็นต้น
 
4.Startup ต้องพัฒนา FinTech ด้วย

 
ภาพจาก goo.gl/w0m5CC

ผู้ประกอบการหน้าใหม่ (สตาร์ทอัพ) ที่มีแนวคิดปิดช่องว่างความไม่สะดวกสบายในการใช้เงินสดหรือบริการผ่านธนาคาร รวมทั้งปิดช่องว่างค่าธรรมเนียมแพง ควรคิดค้นเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ใหม่เข้ามาเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดาสถาบันการเงินเองที่หันมาจริงจังกับFinTech มากขึ้นเช่นกันเพื่อเป็นการปิดช่องว่างที่ผู้บริโภคจะอิงไปตามกระแสเป็นส่วนใหญ่มากขึ้นด้วย
 
5.คิวอาร์โค้ดจะมาแทนเงินสดมากขึ้น

 
ภาพจาก goo.gl/C7R7Qc

ปัจจุบันธุรกิจหลายแห่งกำลังปรับปรุงระบบการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด โดยใช้ความสะดวกจากสมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชั่นการอ่านโค้ด มาเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารหรืออี-วอลเล็ต เพียงใช้สมาร์ทโฟนส่องคิวอาร์โค้ด ก็สามารถตัดเงินเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการได้เลยซึ่งคิวอาร์โค้ดนี่เองจะเข้ามาเป็นทางเลือกที่ 2 ของการใช้บัตรเดบิต

ในกรณีที่ไม่ได้พกบัตรเดบิตมา เป็นความเปลี่ยนแปลงที่อาจทำให้บัตรพลาสติกเริ่มหมดความหมายลง ทั้งบัตรเดบิต และบัตรเครดิต เช่นที่สวีเดนเมืองบางแห่งคนสามารถออกจากบ้านได้โดยไม่ต้องพกเงินสด และคาดว่า Cashless society ของสวีเดนจะเต็มรูปแบบภายในปี 2030
 
นอกจากนี้ถ้าเรามาดูในกลุ่มธุรกิจที่เริ่มมีการปรับตัวรับกับ Cashless society อย่างเห็นได้ชัดหนึ่งในนั้นคือAmazon Go Cashless Shopping Store ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปลายปีก่อน และได้ตอบเสียงตอบรับจนเป็นที่ฮือฮามาก เนื่องจากว่าเป็นร้านสะดวกซื้อที่ไม่มีแคชเชียร์ เพียงแค่เข้าไปในร้าน หยิบของใส่ถุง แล้วเดินออกจากร้านได้เลย แล้วระบบจะหักเงินอัตโนมัติจากบัญชี Amazon ที่ลูกค้าได้เปิดบัญชีจ่ายเงินไว้
 
แมคโดนัลด์ที่ร่วมกับRabbit LinePay เปิดตัวร้านค้าออฟไลน์ร้านแรกที่รองรับการชำระเงินด้วย Rabbit LINE Pay ผลักดันสังคมไร้เงินสดในร้านค้าออฟไลน์อย่างจริงจังและยกระดับสังคมไทยให้ก้าวไปสู่โลกยุคดิจิตอลอย่างแท้จริงซึ่งแน่นอนว่าการพัฒนาระบบเหล่านี้ย่อมมาคู่กับแคมเปญโดนใจที่กระตุ้นให้คนสนใจเข้ามาลองใช้บริการกันได้มากขึ้นด้วย
 
และถ้าเราลองตามข่าวกันไปเรื่อยๆ จะพบว่าเทคโนโลยีการเงินต่างๆ เริ่มมีพัฒนาการมากขึ้นในหลายธุรกิจดังนั้นคนที่คิดจะลงทุนในช่วงนี้นอกจากคิดแผนการตลาดที่ดี มีสินค้าที่น่าสนใจ เรื่องของระบบการเงินที่เปลี่ยนแปลงนี้ก็ต้องศึกษาไว้ให้ละเอียดเพื่อให้สินค้าไม่ตกเทรนด์และพร้อมจะก้าวไปสู่สังคมยุคใหม่ได้พร้อมๆกับผู้บริโภคด้วย
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด