บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    การหางาน สมัครงาน
2.5K
3 นาที
22 มิถุนายน 2560
10 เรื่องที่ควรทำหลังโดนไล่ออกจากงาน


 
สมัยนี้การตกงานไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะการตกงานเป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับมนุษย์เงินเดือนทุกคน ยิ่งมีกระแสข่าวของ AI ที่ว่าจะมาทดแทนการทำงานของมนุษย์ก็ยิ่งทำให้ใครหลายคนวิตกกังวลมากขึ้นว่าเรื่องการตกงานจะมาถึงคิวของตัวเองเมื่อไหร่ รวมถึงปัจจัยแวดล้อมรอบด้านที่อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราจู่ๆก็กลายเป็นคนว่างงานขึ้นมาซะอย่างงั้น เรื่องแบบนี้ไม่อยากมีใครให้เกิดแต่ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วจะต้องทำอย่างไร

www.ThaiFranchiseCenter.com  มีแนวทางดีๆกับเรื่องที่ควรทำหลังตกงานหรือโดนเลิกจ้างไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ลองทำตาม 10 วิธีที่ว่านี้เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบาและเพื่อให้เราลุกขึ้นมาสู้ใหม่ได้อย่างรวดเร็วที่สุด
 
1.ตกงานอย่าตกใจ 

 
บอกว่าไม่ให้ตกใจก็คงจะยากแต่ตกใจแล้วต้องรีบทำใจให้เร็วที่สุด รวมถึงต้องรวบรวมสติให้ตัวเองใจเย็นโดยเร็วที่สุด ไม่ต้องมาเสียเวลางอนง้อหรือร้องไห้ฟูมฟาย การควบคุมตัวเองให้ได้คือคุณสมบัติข้อแรกที่ควรทำในเบื้องต้น

ใช้สติที่มีอยู่ทั้งหมดค่อยๆตั้งหลักว่าเราควรทำอะไรต่อไปหลังจากนี้ เราอาจผิดหวัง ท้อแท้ เสียใจ แต่เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเราแก้ไขอะไรไม่ได้สิ่งที่ทำได้คือพยายามยืนขึ้นใหม่และก้าวไปข้างหน้าให้รวดเร็วที่สุด ฉะนั้นสิ่งสำคัญอันดับแรกคือสติล้วนๆ
 
2.สอบถามสิทธิลูกจ้างของเราที่ยังมีอยู่
 
เมื่อสติมาปัญญาก็จะเกิดถ้าเรื่องถูกไล่ออกไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เราก็ต้องผ่อนหนักให้เป็นเบาได้มากที่สุดเพราะอย่าลืมว่าทันทีที่เราถูกเลิกจ้างจากสาเหตุใดก็ตามสิทธิในการเป็นลูกจ้างของเรายังคงมีอยู่และควรใช้สิทธินั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในการเซ็นสัญญาทำงานครั้งแรกกฎระเบียบของบริษัทมีไว้อย่างไร ในกรณีที่ถูกเลิกจ้างแบบที่ไม่บอกล่วงหน้า หรือการไล่ออกที่ไม่ใช่เหตุผลอันสมควร เราควรจะได้รับอะไรเท่าไหร่ในการเลิกจ้างดังกล่าว

เราต้องละเอียดในเรื่องนี้เพราะต่อจากนี้เงินที่ได้จากบริษัทที่ไล่เราออกจะกลายเป็นทุนสำคัญในการตั้งต้นใหม่ ยิ่งในบริษัทใหญ่ๆจะมีเงินสะสม เงินกองทุน สวัสดิการของการถูกเลิกจ้าง เราต้องรักษาสิทธิของเราให้ถึงที่สุดและให้บริษัทจ่ายชดเชยในส่วนที่สมควรจ่ายกับเราโดยเร็วที่สุด
 
3.สำรวจหาจุดบกพร่องของตัวเองก่อนเริ่มต้นใหม่


 
ภาพจาก goo.gl/jtMCfK

ทันทีที่เรื่องสิทธิของเราได้จัดการเป็นที่เรียบร้อยก่อนจะเริ่มต้นใหม่กับอาชีพใหม่หรือบริษัใหม่ที่เราได้รับโอกาสก่อนหน้านั้นเราเองในฐานะที่เพิ่งออกจากงานมาหมาดๆก็ควรย้อนมองดูตัวเองสักนิดว่าที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นกับชีวิต เรามีความบกพร่องหรือผิดพลาดในการทำงานตอนไหน

และอะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราโดนไล่ออก อย่ามัวไปมองและตำหนิคนอื่นที่ทำให้โดนไล่ออกเพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เมื่อมองเห็นจุดที่ควรแก้ไขในตัวเองแล้วเราก็ต้องพยายามแก้ไขสิ่งบกพร่องที่เรามองเห็นนั้นเพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในการทำงานที่ใหม่ได้อีก
 
4.ขอบคุณเพื่อนร่วมงานดีๆที่มีอยู่ในบริษัท
 
ด้วยสายสัมพันธ์ของพนักงานที่บางคนอาจทำงานมานานเป็น 10 ปีหรือมากน้อยกว่านั้นก็ตามแต่เราย่อมมีเพื่อนร่วมงานที่ดีและไม่ดีในระหว่างที่เราทำงานอยู่เมื่อถึงวันที่เราต้องออกจากงาน สิ่งที่เราควรทำคือกล่าวขอบคุณเพื่อนร่วมงานทั้งหลายอาจจะกล่าวขอบคุณโดยตรง หรือส่งไลน์ ไปหา หรือว่าข้อความทางอีเมลล์ก็แล้วแต่ความถนัด

ซึ่งบางทีด้วยสายสัมพันธ์ดีๆที่เรามีมานานการกล่าวขอบคุณของเราอาจทำให้บุคคลเหล่านี้เสนอความช่วยเหลือให้กับเราเช่นช่วยหางานใหม่ๆให้ หรือการแนะนำบริษัทที่เขารู้จักเพื่อให้เราไปสมัครงาน ก็มีโอกาสเป็นไปได้ทั้งนั้น
 
5. ถึงเวลาต้องปรับปรุง Resume กันแล้ว

 
หลายคนเมื่อยังทำงานอยู่ก็ไม่เคยนึกจะสนใจกับรีซูเม่ของตนเอง จนกระทั่งถึงเวลาที่จะต้องใช้อีกครั้งนี่ล่ะ ดังนั้นหากในวันหนึ่งที่เราเกิดตกงานละก็ ก่อนที่จะเริ่มหางานใหม่ ควรให้เวลากับการปรับปรุงรีซูเม่อันเดิมของเราก่อน เพิ่มเติมข้อมูลของงานที่ผ่านมา

ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตของงาน ผลงานที่เคยทำ ถ้าคิดอยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ ก็อย่าลืมเติมความสนใจใหม่ ๆ ลงไปด้วย หรือถ้าคิดว่ารูปแบบรีซูเม่ของเราเริ่มจะล้าสมัยเกินไป ก็ทำขึ้นมาใหม่เลย เท่านี้ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้หางานใหม่ได้ง่ายขึ้นด้วย
 
6.ระวังเรื่องรายรับรายจ่ายมากขึ้นเป็นพิเศษ
 
ในตอนที่เรายังทำงานอยู่แน่นอนว่าเรามั่นใจว่าเราจะมีรายได้เข้ามาทุกเดือน จะมากบ้างน้อยบ้าง พอใช้บ้างไม่พอใช้บ้างแต่เราก็รู้ว่าต้องมีรายได้เข้ามาแน่ๆ แต่เมื่อถูกให้ออกจากงาน เรื่องการเงินต้องระวังให้มากเพราะเราไม่รู้ว่าต่อจากนี้อีกนานเท่าไหร่ที่จะหางานใหม่ได้ทางที่ดีควรระวังการใช้จ่ายให้มากที่สุด

อะไรที่เคยทำและไม่จำเป็นตอนยังมีงานทำเว้นได้ก็เว้นไปก่อน เรียกว่าเป็นการรัดเข็มขัดให้กระชับที่สุด ยิ่งถ้าเราไม่มีเงินก้อนออกมาพร้อมกับการทำงานที่เก่าด้วยแล้วยิ่งต้องระวังให้มากเป็นพิเศษกับช่วงเวลาที่สุ่มเสี่ยงที่สุดของคนตกงานช่วงนี้
 
7.เปิดมุมมองและสร้างโอกาสใหม่ๆให้ตัวเอง 

 
เรียกว่าเป็นการคิดบวกได้เหมือนกันหรือจะเรียกว่าเป็นเวลาเปลี่ยนตัวเองก็ว่าได้ หลายคนที่เคยทำงานอาจจะไม่ใช่งานที่ตัวเองถนัดหรือเป็นงานที่ตัวเองอยากจะทำเพียงแต่ตอนนั้นไม่มีทางเลือกก็เลยต้องจำใจทำๆไปก่อนเหมือนคลุมถุงชนคือทำๆไปเดี๋ยวก็รักกันเองประมาณนั้นแต่เมื่อเรามีโอกาสได้ก้าวออกมาจากจุดนั้น

เราก็ควรหันมาทบทวนตัวเองว่างานที่ผ่านมาคือสิ่งที่ใจเรารักและอยากทำหรือไม่หากคำตอบคือไม่ลองมองหาในสิ่งที่ตัวเองอยากทำและลองก้าวไปตามความฝันนั้นดู อาจจะไม่ใช่งานใหม่ในบริษัทใหม่ แต่อาจเป็นงานของตัวเอง ธุรกิจของตัวเอง แน่นอนว่าย่อมมีความยากที่ต่างไปจากเดิมแต่ถ้าเราคิดว่าใช่และใจเรารักก็ลองทุ่มเทกับมันสักครั้งอาจจะดีกว่าที่คิดก็ได้
 
8.พักผ่อนสักนิดก่อนคิดทำอะไรต่อไป
 
ยิ่งเราเป็นประเภททำงานหามรุ่งหามค่ำ ทำงานหนึ่งสัปดาห์แทบไม่มีวันหยุด พ่อแม่ลูกเมียแทบไม่เคยเจอหน้า วันๆเอาแต่ทำงานเช้าไปมืดก็กลับแถมยังหอบงานกลับมาทำที่บ้านด้วยอีก การถูกเชิญออกจากงานน่าจะเป็นหนทางสวรรค์ที่เขาประทานมาเพื่อให้เราได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น

กิจกรรมอะไรที่เราไม่เคยทำได้ตอนที่ทำงานอยู่ในช่วงนี้รีบทำให้เต็มที่ไม่ว่าจะพาครอบครัวไปเที่ยวตากอากาศ ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา เฮฮาสังสรรค์(ตามสมควร) กับเพื่อนๆ หรือเอาเวลาไปรับไปส่งลูกที่โรงเรียนมากขึ้น การผ่อนคลายจากกิจกรรมที่เราห่างเหินไปนานอาจช่วยให้เรามองเห็นโลกที่สดใสมากขึ้นและอาจทำให้เราคิดอะไรดีๆว่าในชีวิตนี้ไม่ได้มีแต่เรื่องงานอย่างเดียวเท่านั้น
 
9.ตรวจสอบประกันสังคมของตัวเอง 

 
สำหรับคนที่ทำงานมาเป็นเวลานาน ๆ หลายปี หากวันหนึ่งเราต้องออกจากงานแบบกะทันหัน สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกก็คือตรวจสอบสิทธิ์ที่เราพึงได้รับจากสำนักงานประกันสังคม อันเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของคนทำงานเกือบทุกคน ทั้งนี้เราควรจะเช็กว่าตัวเองจะได้รับการคุ้มครองเรื่องการรักษาพยาบาลถึงเมื่อไร ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน  

นอกจากนี้ยังควรรีบไปขึ้นทะเบียนคนว่างงานภายในระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่ออกจากงานด้วย เพราะตามเงื่อนไขของประกันสังคม ผู้ที่ส่งเงินสมทบติดต่อกัน 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงานจะสามารถขึ้นทะเบียนคนว่างงาน และรับเงินชดเชยได้

โดยหากถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชยในจำนวน 50% ของรายได้ เป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่วนในกรณีลาออกก็จะได้รับชดเชย 30% เป็นเวลา 3 เดือน ทั้งนี้สามารถไปยื่นเรื่องที่สำนักงานจัดหางานของรัฐได้ทุกแห่ง 
 
10.ติดต่อกรมจัดหางานเป็นตัวช่วยในการหางานอีกทางหนึ่ง

 
ในช่วงที่เราก็ไม่รู้ว่าจะหางานใหม่ได้จากที่ไหน หรือใบสมัครที่ส่งไปก็ยังไม่มีใครตอบรับ พอจะหาอะไรทำเป็นรายได้เสริมก็ไม่รู้จะทำอะไรดี ขอแนะนำให้ขึ้นทะเบียนตนเองกับกรมการจัดหางาน หน่วยงานนี้นอกจากเป็นตัวช่วยในการหางานใหม่ให้เราแล้ว ก็ยังมีการฝึกอบรมดี ๆ ที่สามารถไปสร้างเป็นอาชีพได้ โดยสามารถไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางานได้ทั่วประเทศ บางทีเราอาจจะได้ความรู้ด้านอาชีพใหม่ ๆ หรืออาจจะได้โอกาสในการทำงานดี ๆ จากที่นี่ก็เป็นได้
 
คำว่าตกงานอย่าตกใจน่าจะเป็นคำที่พูดแล้วเห็นภาพที่สุด ทั้งนี้สิ่งสำคัญในการตกงานคือเราจะต้องไม่ดูถูกตัวเองว่าไร้ความสามารถและไม่ผยองจนเกินงามว่าที่ตกงานเพราะบริษัทตาไม่ถึง เราควรถือทางสายกลางคิดซะว่านี่คือหนทางของวิถีคนทำงานที่อาจจะเกิดเหตุการณ์นี้กับใครก็ได้ เพียงแต่ต้องรู้จักตั้งหลักให้ถูก ให้เร็ว และเลือกวิธีการเดินที่เหมาะสมกับตัวเองแล้วการตกงานก็จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เราไม่อยากเจอแต่ถ้าเจอแล้วเราก็สามารถก้าวผ่านไปได้อย่างสบายๆ
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด