บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
2.7K
2 นาที
3 กรกฎาคม 2560
9 วิธีเลือกลงทุนกับกองทุนที่ถูกใจ


ปัจจุบันการเลือกลงทุนกับกองทุนรวมนั้นถือเป็นอีกหนึ่งการออมที่มนุษย์เงินเดือนให้ความสนใจมาก ด้วยความพิเศษของการออมประเภทนี้ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าแม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างมากน้อยก็ตามแต่กองทุนที่เลือกใช้บริการ แต่ธนาคารเองก็มีหน่วยบริการที่พร้อมสนับสนุนคนที่คิดจะลงทุนแบบรายย่อยให้สามารถเลือกลงทุนได้เงินขั้นต่ำที่ไม่กระทบกระเทือนต่อชีวิตประจำวัน
 
แต่ในฐานะของมือใหม่ด้านการลงทุนเองก็อาจจะไม่แน่ใจนักว่าในสารพัดกองทุนที่มีให้เลือกจำนวนมากนี้จะมีวิธีการอย่างไรที่จะเลือกกองทุนที่ดีที่ถูกใจที่สุดด้วยเหตุนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จึงมี 10 วิธีสำหรับการตัดตัวเลือกที่ไม่จำเป็นให้คุณสามารถเลือกลงทุนกับกองทุนที่ถูกใจลองไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันได้เลย
 
1.ดูที่อัตราตอบแทน (เบื้องต้น)

 
แม้อัตราผลตอบแทนเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญของธุรกิจกองทุนแต่ก็ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง นักลงทุนควรสืบหาว่าตัวเลขที่ปรากฏนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร เช่น การเทียบอัตราผลตอบแทนกองทุนทุกๆ เดือนกับดัชนี หาเดือนที่ผลตอบแทนสูงเป็นพิเศษแล้ววิเคราะห์ว่าเดือนที่สามารถชนะตลาดนั้นมาจากปัจจัยใดบ้าง และผู้จัดการกองทุนน่าจะสามารถทำซ้ำได้อีกในอนาคตหรือไม่

การลงทุนกองทุนก็เป็นเหมือนการวัดใจอย่างหนึ่งหากเราขายหน่วยลงทุนไปในตอนที่สถานการณ์ไม่ดีแต่อาจมีโอกาสที่กองทุนนั้นจะกลับมามีราคาดีได้อีก ทั้งนี้ประสบการณ์ในการดูและวิเคราะห์จึงจำเป็นมาก
 
2.เทียบมวยให้ถูกคู่ 
 
กองทุนรวมมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติเฉพาะตัว และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป และแต่ละกองทุนก็มีความเสี่ยงและผลตอบแทนไม่เท่ากัน เมื่อทราบดังนี้ การเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนที่คุณสมบัติแตกต่างกันย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก ดังนั้นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนควรจะเป็นการเปรียบเทียบ ระหว่างกองทุนที่มีนโยบายและคุณสมบัติคล้ายกันที่สุด

3.ซื้อของดีและถูก 


กองทุนแต่ละกองมีค่าใช้จ่ายในตัวเอง ทั้งค่าบริหารกองทุน ค่าผู้ดูแลผลประโยชน์ มาร์เกตติ้ง หนังสือพิมพ์ และอีกมากมาย โดยทั่วไป กองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงมักจะมีค่าใช้จ่ายมากตามไปด้วย ข้อมูล “อัตราส่วนค่าใช้จ่าย” หรือเปอร์เซ็นของสินทรัพย์ที่จะต้องหักไปจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถบอกได้ว่ารายได้สุทธิที่นักลงทุนจะได้รับจะถูกลดตัดตอนไปมากน้อยเพียงใด และคุ้มค่ากับผลตอบแทนที่ได้รับกลับคืนมากแค่ไหน
 
4.หลีกเลี่ยงกองทุน Turnover สูง 

กองทุนที่มีอัตราหมุนเวียนหลักทรัพย์สูง หรือมีการซื้อขายหลักทรัพย์บ่อยครั้งจะก่อให้เกิดค่าจ่ายทางอ้อมต่อเงินของนักลงทุนคือ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมหรือคอมมิชชั่นนั่นเอง นอกจากนั้นนักลงทุนบาง ส่วนอาจมีมุมมองว่าผู้จัดการกองทุนที่มีอัตราหมุนเวียนหลักทรัพย์สูงไม่มีความมั่นใจในการลงทุน จึงไม่มีเหตุผลที่ดีพอในการถือสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไป
 
5.ทำความรู้จักผู้บริหารกองทุน 

 
นักลงทุนสามารถวิเคราะห์แนวทางการลงทุนของผู้จัดการกองทุนได้หลายทาง เช่น การคำนวณทางคณิตศาสตร์และสถิติพวก Sharp ratio, Alpha, R square ฯลฯ เพื่อหากลยุทธ์ของผู้จัดการกองทุนว่ามีประสิทธิภาพ เข้ากับสไตล์ของเราหรือไม่ อาจจะพอทำให้เราเห็นว่าธรรมชาติของผู้จัดการกองทุนนั้นๆ มีแนวโน้มตามตลาดใด ชอบตัวแปรปัจจัยใดเป็นพิเศษ และแพ้ทางสถานการณ์แบบใด ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีหน่วยงานกลางหลายแห่ง มีบริการจัดอันดับกองทุนตามวิธีของตนเผยแพร่กับนักลงทุนมากขึ้นด้วย

6.Active vs Passive fund 
 
กองทุนแบบ passive คือกองทุนที่ไม่ได้ถูกบริหารอยู่ตลอดเวลา การบริหารกองทุนประเภทนี้ไม่ต้องการหาช่องทางในการชนะตลาดเหมือนกองทุนแบบ active แต่จะพยายามเลียนแบบผลตอบแทนและความเสี่ยงของดัชนีที่เลือกไว้  เพราะว่ากองทุนประเภทนี้ไม่ต้องบริหารจัดการและการตัดสินใจอะไรมากมาย ค่าใช้จ่ายการจัดการกองทุนจึงน้อย สำหรับประเทศไทยที่กองทุนแบบ passive เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน และยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก จึงน่าติดตามว่ากองทุน Passive นี้จะเติบโตเหมือนในต่างประเทศได้หรือไม่
 
7.คัดทิ้งไปซะบ้าง

 
สมัยนี้ บลจ.ต่างขยันเปิดกองทุนใหม่ๆ มาแข่งกัน บางกองทุนก็แค่เปลี่ยนคุณสมบัติจากกองอื่นๆ เล็กน้อยเพื่อให้ตั้งชื่อใหม่ได้ ทำให้การเลือกลงทุนยากขึ้นทุกวันๆ เพราะมีตัวเลือกมากเหลือเกิน ถ้าการเลือกกองทุนจากเทคนิคร้อยแปดพัดเก้านั้นทำให้เราปวดหัว การตัดตัวเลือกทิ้งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แทนที่นักลงทุนจะวิเคราะห์คัดเลือกกองทุนทีละกองมาใส่ในพอร์ตการลงทุนก็น่าจะทำให้ชีวิตการลงทุนนั้นง่ายขึ้นเยอะ

9.ขายตอนไหนดี
 
ต้องเข้าใจก่อนว่ากองทุนนั้นไม่ใช่หุ้น หลักของการซื้อขายหุ้นของคนส่วนมากคือการซื้อถูก ขายแพง เมื่อตลาดหุ้นตกฮวบจึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้คนส่วนใหญ่จะเทขายหุ้นของตนออกไป แต่ไม่จำเป็นเสมอไปสำหรับกองทุนรวม เพราะกองทุนได้ถูกบริหารความเสี่ยงแล้ว ความสัมพันธ์กับตลาดจึงอาจจะไม่เหมือนกัน การขายกองทุนจึงอาจมีเหตุผลต่างไปจากหลักทรัพย์แบบหุ้น

นี่คือตัวอย่างของหลักเกณฑ์ที่จะเตือนว่าอาจจะถึงเวลาขายแล้ว กองทุนที่ผลประกอบการแย่อย่างเสมอต้นเสมอปลาย กองทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน เช่น เปลี่ยนผู้จัดการกองทุนหรือเปลี่ยนกลยุทธการลงทุน สุดท้ายคือ เหตุผลส่วนตัวของนักลงทุน เช่น จุดประสงค์ในการลงทุนของเราเปลี่ยนไป พอร์ตการลงทุนไม่สมดุล หรือว่าเราได้ไปถึงจุดหมายที่ต้องการแล้ว
 
อย่างไรก็ตามการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจกองทุนรวมอาจส่งผลให้ เราตามหลังผู้อื่นอยู่ก้าวหนึ่งการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากสิ่งที่รู้เดิมๆ ก็จะช่วยให้เราซื้อกองทุนได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น และนี่คือเคล็ดลับพื้นฐานที่ไม่ควรลืมเมื่อเรากำลังตัดสินใจซื้อกองทุน
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด