บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
2.2K
2 นาที
15 สิงหาคม 2560
รวม 5 ฟินเทค ที่น่าจับตามอง ฟินเทค ฟินเว่อร์!



ภาพจาก goo.gl/yxurYn 

FinTech หรือ ชื่อเต็มๆก็คือ Financial Technology อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่ในบ้านเราและมีกระแสบูมกันขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้แต่ก็เป็นธรรมเนียมไทยแท้คือฮือฮากันมาพักเดียวแต่ตอนนี้ก็ดูจะซาๆลงไปกับกระแส FinTech ในบ้านเรา แต่ก็ใช้ว่ากระแส FinTech จากทั่วโลกจะเงียบเหงาตามไปด้วย ตรงกันข้ามเรื่องนี้กลับเป็นการลงทุนที่เรียกว่า ฟินเว่อร์กันเลยทีเดียว

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ การลงทุน FinTech เมืองไทยยังช้ากว่าประเทศอื่นอยู่มากเนื่องจากการติดอยู่กับกำแพงความคิด และคนทั่วไปที่ไม่ใช่คนคิดค้นธุรกิจก็ยังไม่เข้าใจว่า FinTech นั้นดีอย่างไร ก็สะท้อนกลับไปที่การส่งเสริมจากภาครัฐที่ต้องตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ให้ได้เพื่อก้าวตาม กระแส FinTech ที่เติบโตไปไกลกว่าที่คิดมาก
 
www.ThaiFranchiseCenter.com ยังมองว่าทิศทางของ FinTech ไม่ใช่เรื่องไกลตัวตรงกันข้ามว่านี่คือเรื่องใกล้ตัวที่ทำให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้นได้แน่ ที่ผ่านมาในเมืองไทยเองก็มีกลุ่มสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ FinTech อยู่หลายรายแต่โดยภาพรวมก็ยังเป็นรองในตลาดโลกที่เราลองมาดูตัวเลขให้จี๊ดหัวใจกันสักนิดว่าธุรกิจนี้ในต่างประเทศเขาเอาจริงเอาจังกันแค่ไหน
 
 
ภาพจาก goo.gl/vLPeCt

เริ่มกันที่สหราชอาณาจักรจากสถิตินั้นพบว่ามีการลงทุนใน FinTech เพิ่มขึ้นกว่า 37%  ในช่วงปีนี้ที่ผ่านมา รายงานจากรอยเตอร์ส กล่าวว่ากระแส FinTech ในสหราชอาณาจักรของช่วงไตรมาส 2 ในปีนี้มีมูลค่า 5,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.7 แสนล้านบาท  ซึ่งมากกว่าช่วงเดียวกันในปีที่แล้วถึง 3,750 ล้านดอลลาร์ และเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

โดยเฉพาะในอังกฤษที่มีการเติบโตสายธุรกิจนี้สูงมาก โดยเป็น เอวิท เอ็กเซนจ์ บริษัทฟินเทคจากแคลิฟอร์เนีย ที่สามารถคว้าดีลการลงทุนขนาดใหญ่นี้ได้ด้วยจำนวนเงินกว่า 300 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ทำให้การเติบโตของ FinTech ในสหราชอาณาจักรนั้นสามารถเติบโตได้เป็นอันดับที่สามเป็นรองแค่สหรัฐอเมริกาและประเทศจีนเท่านั้น
 
ส่วนทางด้านฝั่งเอเชียของเรานั้นก็นำโดยซอฟแบงค์ บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่นที่ลงทุน 1,400 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท กับบริษัทวัน ไนตี้เซเว่นซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ เพย์ทีเอ็ม ฟินเทค ในอินเดีย ก็ทำให้เกิดมูลค่าในธุรกิจนี้ที่เติบโตขานรับกับเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ที่พัฒนามาให้สอดคล้องกันได้เป็นอย่างดีด้วย
 
เมื่อจับกระแส FinTech ทั่วโลกเอามาดูภาพรวมแล้วหลายฝ่ายก็คาดการณ์กันว่าในอีก 3-5 ปีต่อจากนี้จะมีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลถึง 1.5 แสนล้านดอลล่าร์ หรือ 5.3 ล้านล้านบาทไหลเข้ามาลงทุนในธุรกิจฟินเทคทั่วโลก

เรียกได้ว่าจะเป็นการเข้ามาเปลี่ยนบทบาทของธุรกิจบริการทางการเงิน (Financial Services) แบบดั้งเดิม ที่เคยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมเงินทุน จัดสรรเงินทุน การชำระราคา หรือบริการทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ด้วยโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับผู้เล่นที่หลากหลายเพียงแค่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีก็สามารถเข้าสู่ฟินเทคได้จึงเห็นการลงทุนในธุรกิจนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ
 
 
 
ภาพจาก goo.gl/5fjNQz

และเพื่อตอกย้ำให้เห็นตัวเลขที่สุดโต่งในเวทีนี้มากขึ้นต้องมาดูการรวบรวมข้อมูลและประเมินโดย Accenture พบว่าการลงทุนฟินเทคทั่วโลกในปี 2008 อยู่ที่ประมาณ 930 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 33.2 หมื่นล้านบาท และได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2014 กับการลงทุนฟินเทคทั่วโลกสูงถึงประมาณ 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.28 แสนล้านบาท

ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันในช่วงไตรมาสที่ 2ของปี 2016 ที่มูลค่าการลงทุนใน FinTech นี้ก็ยังคงดีต่อเนื่องในอีกหลายประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าฟินเทคเป็นเมกกะเทรนด์และทำให้โลกการเงิน การลงทุนเปลี่ยนโฉมอย่างชัดเจน
 
แน่นอนว่าเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องย้อนกลับไปที่เรื่องเก่าว่า FinTech ในไทยหายไปไหน ทำไมไม่ตูมตามเหมือนต่างประเทศ กระแส FinTech ในบ้านเราบูมขึ้นมาเมื่อประมาณปี 2015 พร้อมกับนโยบาย Thailand 4.0 ที่สร้างความคึกคักมากในตอนนั้นก่อให้เกิด Startup ดาวรุ่งของไทยมาเป็นระลอกๆ แต่ก็อย่างที่ทราบว่ากำแพงหลักๆที่ทำให้ FinTech เมืองไทยยังไปไม่ไกลนักก็มาจากการไม่ชัดเจนในการออกกฏหมาย Digital Signature

เนื่องจากระบบศาลไทยยังไม่ยอมรับลายเซ็นดิจิทัลในการดำเนินการทางกฎหมาย หรือจะเป็นปัญหาของการออกใบอนุญาต P2P lending ในขณะที่ประเทศในแถบ AEC  เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซียได้เดินหน้าไปไกลกว่าเรา และได้ออกกฎ P2P lending ในปี 2016 ซึ่ง ณ ตอนนี้มีแพลตฟอร์มที่ดำเนินการโดยมีใบอนุญาตกว่า 10 รายแล้ว
 
อย่างไรก็ตามหากลองสืบค้นหาเหล่สตาร์ทอัพที่เป็นสาย FinTech เมืองไทยก็มีไม่น้อยเช่นกันเราลองยกตัวอย่างมาให้ดูกันสัก 5 รายต่อไปนี้
 
1. C3.finance  
 
 
ภาพจาก http://c3.finance

เป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับธุรกรรมทางการเงินผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งมีความปลอดภัยสูงสุด จะช่วยให้สถาบันการเงินรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องใช้ข้อมูลต่างๆได้อย่างสะดวกรวดเร็วประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

2. Smart Contract Thailand
 
 
ภาพจาก goo.gl/Gd7HG8

เป็นระบบจัดเก็บสัญญาอัจฉริยะที่ทำให้สถาบันการเงิน ประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและลดต้นทุนค่ากระดาษ และลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการเก็บเอกสาร

3. FundRadars

 
ภาพจาก goo.gl/chpgs6

เป็นสตาร์ทอัพรุ่นแรกสาย FinTechเมืองไทยที่มีการพัฒนาเอาChatbot มาใช้ในการพูดคุยให้ผู้สนใจในการลงทุนในกองทุนต่างทำธุรกรรมเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น
 
4. PrivateChain
 
เป็นบริการให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือบรรดาสตาร์ทอัพได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นโดยทำตัวเหมือนเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ให้เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กเข้ามาระดมทุนและนักลงทุนก็จะได้ผลตอบแทนกลับไปด้วย

5. ABorrow
 
 
ภาพจาก goo.gl/HBNFms

ทำหน้าที่ที่เกี่ยวกับเรื่องสินเชื่อ ทำให้คนที่มองหาสินเชื่อนั้นสามารถจับคู่กับธนาคารที่มีการปล่อยสินเชื่อที่ลูกค้าต้องการได้อย่างถูกต้องผลลัพธ์คือผู้ขอสินเชื่อได้เงินตามเป้าหมายส่วนธนาคารก็ได้ลูกค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายในการออกสินเชื่อเช่นกัน
 
ก็คงต้องตามดูกันต่อไปว่ากระแส FinTech เมืองไทยจะคึกคักได้ดีขนาดไหนแต่ในภาพรวมของธุรกิจนี้ทั่วโลกถือว่าแนวโน้มเติบโตดีเกินคาดและน่าจะเป็นอีกหนึ่งการลงทุนในยุคดิจิตอลที่มองแล้วเห็นโอกาสในการสร้างสรรค์กำไรได้ดีทีเดียว
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด