บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
3.5K
2 นาที
6 ตุลาคม 2560
7 เรื่อง “ฟรีแลนซ์” ต้องรู้! 

 
หลายคนทำงานประจำ หลายคนทำงาฟรีแลนซ์ หรือเรียกอีกอย่าง “มือปืนรับจ้าง” ซึ่งทั้งสองมีข้อดีข้อเสียต่างกัน บางคนอาจเลือกทำงานฟรีแลนซ์เพื่อหารายได้เสริม บางคนก็ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาชีพหลัก
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอนำเสนอวิธีการเป็นฟรีแลนซ์ สำหรับบุคคลที่ต้องการเป็นฟรีแลนซ์ เพราะหากคุณมีความกระหายยากทำงานอิสระ ต้องรู้เรื่องอะไร บริหารเรื่องการเงินอย่างบ้าง ไม่ใช่ว่างานฟรีแลนซ์จะไม่มีค่าใช้จ่าย 
 
1.ค่าใช้จ่ายรายเดือน


 
การบริหารเงินสำหรับฟรีแลน์ซ์ สามารถทำได้ก็ต่อเมื่อเรารู้รายได้และรายจ่ายในแต่ละเดือน สำหรับมนุษย์ฟรีแลนซ์อย่างน้อยควรจะต้องรู้รายจ่ายในแต่ละเดือนของเราว่า มีค่าอะไรบ้างที่จำเป็นจะต้องจ่ายทุกเดือน หากเรายังไม่ทราบก็ต้องเริ่มทำ เริ่มจากการจดบันทึกค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่เราจ่ายไป เมื่อครบเดือนก็มารวบรวมคำนวณเป็นหมวดหมู่ 
 
เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าบ้าน ค่าของใช้ส่วนตัว ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ การจดบันทึกค่าใช้จ่ายนอกจากจะทำให้เราทราบจำนวนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนแล้ว จะทำให้แยกให้เห็นชัดเจนได้ด้วยว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่จำเป็นและส่วนไหนที่ไม่จำเป็น หากเรารู้สึกว่าค่าใช้จ่ายของเราเยอะเกินไปก็สามารถเลือกตัดทอนจากที่ไม่จำเป็นออกไปได้ด้วย
 
2.ออมเงินจากรายได้

 
การทำงานฟรีแลนซ์แม้จะมีรายได้ไม่แน่นอน แต่ทุกครั้งที่ทำงานแล้วได้เงินมา ควรนำเงินเข้าบัญชีธนาคาร มีเผื่อสำหรับค่าใช้จ่ายประจำบ้าง ทำแบบนี้ทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามา ควบคู่ไปกับการจดบันทึกรายจ่าย จะทำให้เราเห็นสถานะรายได้รายจ่ายของเราว่ายังคงเพียงพอกันอยู่หรือไม่ ช่วงที่มีงานมากมีรายได้มาก ก็ไม่ควรใช้เงินเพลิน
 
ต้องเผื่อไว้สำหรับอนาคตที่อาจมีช่วงงานน้อยเงินน้อยด้วย มนุษย์ฟรีแลนซ์น่าจะมีเงินเก็บเผื่อไว้ประมาณ 3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายรายเดือนเพื่อให้ไม่ต้องกังวลหากมีงานเข้ามาน้อย ก็ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ลำบาก
 
3.ลงทุนแบบยืดหยุ่น


 
คนทำงานฟรีแลนซ์มีรายได้ที่ไม่แน่นอนอยู่แล้ว เมื่อมีเงินออมจากการเหลือเก็บ ก็ต้องพยายามลงทุนเพื่อให้เงินทำงานงอกเงยเป็นผลตอบแทนให้กับเราด้วย โดยช่องทางการลงทุนที่เหมาะสมกับมนุษย์ฟรีแลนซ์ 
 
ควรเป็นการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นพอสมควร ต้องเป็นการลงทุนที่ไม่ได้กำหนดเงินฝากหรือทุนรายเดือน ควรเป็นการลงทุนที่เราเลือกจะลงทุนเท่าไหร่หรือเมื่อไหร่ก็ได้ เช่น ซื้อทองคำ ซื้อกองทุน ฯลฯ
 
4.ทำประกันสุขภาพ

ภาพจาก goo.gl/crekrb
 
การเป็นฟรีแลนซ์เนื่องจากไม่มีต้นสังกัดเป็นบริษัท ส่วนมากจึงไม่มีสวัสดิการในเรื่องของการประกันสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็จะต้องดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายเอง การทำประกันสุขภาพไว้อย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้มนุษย์ฟรีแลนซ์ สามารถบริหารเงินได้ดีขึ้น

เนื่องจากการทำประกันสุขภาพจะทำให้เราทราบค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่เราต้องจ่ายและคุ้มครองสุขภาพของเราไปทั้งปี จะทำให้เราบริหารเงินได้ดีกว่าหากเกิดกรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุต้องรักษาตัวและต้องใช้เงินก้อนใหญ่ซึ่งอาจทำให้เรามีปัญหาติดขัดได้
 
5.อย่าก่อหนี้ไม่จำเป็น


 
รายได้ที่ไม่แน่นอน ก็ทำให้คนทำงานฟรีแลนซ์ขอสินเชื่อจากธนาคารได้ค่อนข้างยากอยู่แล้ว แต่ก็มีช่องทางทำได้เช่นกัน แต่อย่างน้อย อย่าลืมว่ารายได้ของเรานั้นไม่แน่นอน หากจะก่อหนี้อะไร โดยเฉพาะหนี้ระยะยาว ควรคิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน หากเราไม่มีเงินชำระหนี้คืนได้ ก็จะเป็นปัญหาที่ต้องแก้กันอย่างยืดยาวในอนาคต
 
6.บริหารบิลค่าใช้จ่าย
 
ภาพจาก goo.gl/d9EHkz

บิลค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มาเรียกเก็บทุกเดือน หากทำได้ควรบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง ให้มีวันครบกำหนดชำระที่กระจายกันไป ไม่กระจุกตัวรวมกันอยู่ที่ช่วงใดช่วงหนึ่งเพียงช่วงเดียว หากเป็นมนุษย์เงินเดือนก็อยากจะแนะนำให้รวบทุกบิลมาจ่ายพร้อมกันจะได้ไม่ลืม สะดวก และง่ายต่อการจัดการ แต่เพราะเป็นมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ไม่แน่นอน 
 
การทยอยจ่ายแต่ละบิลจะช่วยบริหารเงินของเราได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับยอดรวมของบิลทุกประเภทด้วย หากจำนวนเงินรวมไม่มากนัก ไม่อยากมาคอยจำก็เลือกรวบบิลรวมรอจ่ายในช่วงเดียวกันของเดือนก็ได้
 
7.บริหารเรื่องภาษี


 
มนุษย์ฟรีแลนซ์ก็ต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับมนุษย์เงินเดือน เพียงแต่การยื่นแบบฟอร์มอาจต่างประเภทกัน สำหรับค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่สามารถนำมาหักจากเงินได้ก่อนคำนวณภาษี ก็เหมือนกับของมนุษย์เงินเดือน

หากเป็นไปได้มนุษย์ฟรีแลนซ์ก็ควรบริหารในเรื่องภาษีนี้ด้วย โดยหากมีค่าลดหย่อนอะไรที่สามารถนำมาหักเพื่อทำให้จ่ายภาษีน้อยลงก็ควรอย่าลืมนำมาหักด้วย จะช่วยให้สามารถประหยัดภาษีได้
 
แม้ว่าการทำงานฟรีแลนซ์จะเป็นอาชีพที่หลายๆ คนนิยมทำกันในตอนนี้ แต่ก็อย่าลืมว่า อาชีพอิสระแบบนี้ ต้องมีการบริหารจัดการให้เป็น ทุกอย่างย่อมมีด้านดี ด้านเสียต่างกันครับ 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://www.thaifranchisecenter.com/home.php 
อ้างอิงข้อมูลจาก goo.gl/KBWPxS
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด