บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    สร้างความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน
2.5K
2 นาที
10 พฤศจิกายน 2560
5 การสื่อสารควรหลีกเลี่ยงระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง
 
หัวหน้า กับ ลูกน้อง เป็นของคู่กัน ไม่มีวันที่จะแยกจากกันได้ หากเรายังคนต้องทำงานอยู่ในออฟฟิศ เราจะทำงานโดยไม่มีหัวหน้าไม่ได้ และในขณะเดียวกัน หัวหน้าไม่สามารถทำงานได้ทั้งหมด หากไม่มีลูกน้อง บางครั้งหัวหน้ากับลูกน้องไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่ปัญหาการไม่มีความสุขในการทำงาน
 
ขณะเดียวกัน การทำงานให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการสื่อสารที่มีประสิทธิระหว่างหัวหน้า-ลูกน้องด้วย เพราะถ้าคุณไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพกับพนักงานในองค์กรได้แล้วล่ะก็ คุณก็บอกลาการติดต่ออย่างสร้างสรรค์ ความสามารถด้านการผลิต และการคงอัตราการเติบโตของธุรกิจไปได้เลย ดังนั้น การจะผลักดันให้เกิดการติดต่ออย่างสร้างสรรค์ภายในทีมงานได้ บรรดาหัวหน้า-ลูกน้อง ต้องเรียนรู้วิธีการสื่อสารอย่างให้ประสิทธิผล 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอนำเสนอ 5 การสื่อสารที่เราต้องหลีกเลี่ยงระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง หากต้องการที่จะผลักดันให้เกิดการติดต่ออย่างสร้างสรรค์ภายในทีมงานได้ นำไปสู่การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
1.ตอกย้ำความล้มเหลว
 

พนักงานที่เห็นว่าบรรดาหัวหน้าให้ความสำคัญกับจุดแข็งของพวกเขา จะขะมักเขม้นกับการทำงานจนสำเร็จในสัดส่วน 67% และหากพนักงานรู้สึกตรงกันข้าม ก็จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง71% ที่ทำงานแบบขอไปที ไม่มุ่งเน้นทำงานให้มีคุณภาพ
 
การตอกย้ำความล้มเหลวหรือจุดอ่อนของพนักงานอยู่เรื่อยๆ ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่า พวกเขาไม่เคยทำอะไรถูกต้องเลยในสายตาหัวหน้า ในทางตรงกันข้าม หากผู้จัดการปรับมุมมองใหม่ โดยโฟกัสที่จุดแข็งของพนักงาน ก็จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกอยากดึงเอาจุดแข็งนั้นๆ ออกมาใช้เพื่อให้การทำงานให้ผลลัพธ์ที่ดี
 
2.ทำตัวเข้าถึงยาก


มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่า หัวหน้า หรือเจ้านายเป็นบุคคลที่เข้าถึงยาก เช่น บางคนอาจจะมีปฏิกิริยาในทางลบเพื่อเจอเรื่องร้องเรียนจากพนักงาน บางคนอาจจะมีเวลาจำกัดในการหารือในประเด็นปัญหาต่างๆ กับพนักงานแบบตัวต่อตัว และบางคนก็ใช้เวลานานเกินไปในการตอบข้อสงสัยของพนักงานทางอีเมล์
 
พนักงานอาจจะรู้สึกว่า ผู้จัดการการยุ่งตลอดเวลา หรือไม่กล้าตัดสินใจเพราะกลัวความผิดพลาด และพยายามซ่อนปัญหาต่างๆ เอาไว้ หรือแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยไม่ปรึกษาผู้จัดการหรือหัวหน้างาน 

พนักงานที่ลังเลที่จะพูดคุยปัญหาเรื่องงานกับบรรดาหัวหน้างาน จะนำไปสู่การทำงานที่ผิดพลาด เปิดโอกาสให้เกิดความขัดแย้งในที่ทำงาน และท้ายที่สุด อาจทำให้ปัญหานั้นบานปลายจนยากจะเยียวยา
 
3.ไม่ใส่ใจ


หัวหน้าบางคนมองบทบาทตัวเองสูงเกินไป บางคนคิดว่าตัวเองมีหน้าที่แก้ปัญหา เมื่อพนักงานไม่สามารรถรับมือกับปัญหานั้นๆ ได้เท่านั้น ซึ่งการคิดแบบนี้ เท่ากับทำให้บรรดาผู้จัดการไม่ได้มีโอกาสแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในบริษัทแบบวันต่อกัน  ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่า หัวหน้าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หรือไม่ก็อาจจะคิดว่า หัวหน้าขี้เกียจ
 
หัวหน้าที่ดี ควรใส่ใจและมีส่วนร่วมในการทำงาน รวมถึงการแก้ปัญหาหน้างานกับบรรดาพนักงานแบบวันต่อวัน หากทำแบบนี้ได้ พนักงานจะเกิดความรู้สึกว่าอยากเข้ามาขอคำแนะนำต่างๆ จากคุณก่อนที่จะเกิดปัญหาภายในองค์กร
 
4.ยุ่งทุกเรื่อง

บรรดาหัวหน้า ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานของพนักงานอย่างมีขอบเขต เพราะบางครั้งหากหัวหน้างานดำเนินบทบาทแบบไม่มีขอบเขต ผลที่ได้จะเลวร้ายกว่า 3 ข้อ ที่พูดถึงข้างต้น การเป็นหัวหน้าที่ทำงานกับพนักงานแบบ“ยุ่งทุกเรื่อง”หรือ“ล้วงลูก”งานของพนักงาน อาจทำลายขวัญและกำลังใจพนักงานโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะตั้งคำถามการตัดสินใจของพนักงานในทุกเรื่อง ตรวจสอบการทำงานของพนักงานมากไป เข้าข่าย “จับผิด” และจี้ให้มีการสรุปรายละเอียดของงานหรือภารกิจที่เสร็จสิ้นไปแล้ว
 
ดังนั้น ทางที่ดีคือ ปล่อยให้พนักงานทำงานของตัวเองอย่างมีอิสระ และใช้ความสามารถที่มีอย่างเต็มที่ รวมถึงให้เขาเหล่านี้ได้ทำผิดพลาดได้ด้วย เพื่อจะได้ทำข้อผิดพลาดนี้ เป็นบทเรียนสำหรับปรับปรุงการทำงานในโอกาสต่อไป
 
5.สื่อสารอ่อนนอก-แข็งใน
 

หัวหน้าจะสื่อสารกับพนักงานให้ได้ผล นอกจากความชัดเจนแล้ว ยังต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ การสื่อสารแบบอ่อนนอก-แข็งใน เป็นตัวการทำลายองค์ประกอบสำคัญๆ ของการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพภายในองค์กร เพราะมักจะถูกตีความผิดๆ และท้ายที่สุด ก็นำไปสู่ความขัดแย้งภายในองค์กร ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการทำงานโดยปริยาย
 
ไม่มีหัวหน้าคนไหนสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ ที่ต้องปะทะสังสรรค์กับพนักงาน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ยิ่งหาความสมบูรณ์แบบไม่ได้ แต่ขอให้ยึดหลัก ตรงไปตรงมา ชัดเจนในการแก้ปัญหาร่วมกับพนักงาน เท่านี้ก็ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจของพนักงานในองค์กรได้แล้ว 
 
ทั้งหมดเป็น 5 การสื่อสารที่หัวหน้างาน ผู้จัดการ และพนักงาน ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างการสื่อสารกันองค์กร ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง ระบบการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ นำไปสู่ความเสียหายของธุรกิจได้ครับ
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://www.thaifranchisecenter.com/home.php 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด