บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ฟินเทค การรับเงิน-ชำระเงิน
5.1K
3 นาที
19 ธันวาคม 2560
กระแส FinTech เมืองไทย เมื่อไหร่ถึงจะฟิน!
 
 
FinTech มีที่มาจากคำว่า Financial +Technology แปลตรงตัวได้ว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน คำว่า FinTech แม้จะมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงปี 2000

แต่ก็เพิ่งจะมาพัฒนาอย่างรวดเร็วเมื่อประมาณปี 2008 เพราะเป็นช่วงที่ระบบการเงินในสหรัฐกำลังล่มสลายในวิกฤตการณ์ทางการเงิน ทำให้แนวคิด FinTech คือมาตรการที่ภาคธุรกิจพยายามคิดนวัตกรรมมาเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ให้ไปอยู่ในวังวนของวิกฤติการทางเศรษฐกิจดังกล่าว
 
ภาพจาก  facebook.com/ThaiFintechAssociation

ในประเทศไทยเองก็ได้รับเอากระแสของ FinTech นี้เข้ามาเช่นเดียวกันแต่ทั้งนี้เราก็ต้องยอมรับว่าความเป็น FinTech ในเมืองไทยอาจจะยังไม่ชัดเจนมากนักอย่างไรก็ดีทั้งหน่วยงานราชการและบรรดาภาคธุรกิจต่างก็พยายามส่งเสริม FinTech ให้เป็นที่แพร่หลายจนมีการจัดตั้งเป็น Thai Fintech Association ขึ้นมา

www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าเป็นช่องทางสำคัญในการพัฒนาซึ่งเนื้อหาน่าสนใจที่เราได้พูดคุยกับทางสมาคมในวันนี้ล้วนแต่เป็นสาระสำคัญที่บอกถึงการพัฒนา  Fintech เมืองไทยในอนาคตได้ทั้งสิ้น

จุดเริ่มต้นของ Thai Fintech Association 

 ขอขอบคุณรูปภาพจาก คุณอัครเดช ดิษยเดช กรรมการผู้จัดการ Thai Fintech Association

เราได้รับเกียรติพูดคุยกับคุณ อัครเดช ดิษยเดช กรรมการผู้จัดการของ Thai Fintech Association ซึ่งสมาคมฟินเทคแห่งนี้มีคุณ กรณ์ จาติกวณิช เป็นประธานของสมาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2559  ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 200 ราย

บทบาทของสมาคมนั้นเพื่อต้องการยกระดับบริการฟินเทคเมืองไทยให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ชมรมฟินเทคไม่ได้มีนโยบายสร้าง Incubator หรือโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพด้วยตัวเอง แต่จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ และจะสร้าง 3 สิ่งคือ
  1. National FinTech Sandbox
  2. National FinTech Ecosystem
  3. National FinTech Roadmap
เพื่อช่วยพัฒนาให้อุตสาหกรรมนี้เดินต่อไปได้ดีขึ้น  การตั้งชมรมฟินเทคขึ้นมานั้นจะเป็นการรวมตัวที่ชัดเจน และสร้างพลังขับเคลื่อนผ่านการเจรจากับแหล่งเงินทุน และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นด้วย

“ความไม่เข้าใจ”  โจทย์ยากในการพัฒนา Fintech

ขอขอบคุณรูปภาพจาก คุณอัครเดช ดิษยเดช กรรมการผู้จัดการ Thai Fintech Association

ถึงแม้เราจะคุ้นเคยและมีตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา Fintech อย่างสวีเดนหรือหลายประเทศในแถบยุโรปมาเป็นต้นแบบ รวมถึงในเมืองไทยเองภาคธนาคารและบางธุรกิจอย่าง TRUE  AIS  และ LINE ต่างก็ขยับในการพัฒนา Fintech อย่างชัดเจน

แต่ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดในกรอบเล็กๆ ทั้งที่ภาคธุรกิจอีกส่วนใหญ่ยังไม่ได้กระโดดเข้ามาในเวทีนี้ โจทย์ใหญ่ที่ทำให้ธุรกิจยังไม่รุกเข้ามาเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในคุณประโยชน์ของ  Fintech และเลือกที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบเก่าๆเดิมๆกันมากกว่า
 
จากการสำรวจของ Nida นั้นพบว่า 2 คนกว่า 74.24% นั้นไม่เคยใช้บริการของ Fintech เลยทั้งอาจไม่เคยใช้จริงๆหรือใช้โดยไม่รู้ตัวว่าเป็นบริการของฟินเทคเช่นในเวลาที่ต้องจ่ายเงินซื้อของผู้บริโภคที่สำรวจบางกลุ่มก็ยอมไปหน้าร้านและใช้เงินสดจ่ายทั้งที่การจ่ายผ่านมือถือนั้นง่ายและสะดวกกว่าแต่ก็ไม่นิยมทำ

บทบาทและหน้าที่ของ Thai Fintech Association

ภาพจาก  facebook.com/ThaiFintechAssociation

จากการพูดคุยกับคุณอัครเดชนั้นทำให้ทราบว่า สมาคมฟินเทคเองได้พยายามส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการรวมตัวของคนในภาคธุรกิจเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการเงินให้ดียิ่งขึ้นพร้อมกันนี้ก็ยังเดินหน้าในการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนถึงประโยชน์ของFintech ที่แท้จริงและหากจะดูบทบาทของ Thai Fintech Association ที่แท้จริงนั้นมีดังนี้

1. การส่งเสริมเพื่อลดต้นทุนทางการเงิน และธุรกรรมทางการเงินของประเทศไทยแลช่วยให้คนไทยเข้าถึงบริการทางการเงินกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

2.ส่งเสริมการแข่งขันอย่างโปร่งใสและยุติธรรมต่อผู้บริโภค และสนับสนุนให้ FinTech Startup ของไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

ภาพจาก  facebook.com/ThaiFintechAssociation

3.เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง National FinTech Sandbox (ศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคแห่งชาติ) เพื่อเป็นตัวเร่งสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม FinTech และเป็นศูนย์บ่มเพาะหลักสำหรับผู้ประกอบการ

4.เป็นหน่วยงานหลักในการสร้าง FinTech Ecosystem ในประเทศไทย อันประกอบด้วย ผู้ประกอบการ FinTech, สถาบันการเงิน, หน่วยงานกำกับดูแล, ศูนย์บ่มเพาะ, VC, และคู่ค้าทางธุรกิจอื่น ๆ

5.จัดทำ National FinTech Roadmap (แผนพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคแห่งชาติ) ร่วมกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแผนงานหลักในการพัฒนาอุตสาหกรร FinTech ของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
 
ภาพจาก  facebook.com/ThaiFintechAssociation

นอกจากนี้ยังมีเรื่อง Know Your Customer (KYC) โดยเฉพาะการเปิดบัญชีแต่ละครั้งต้องใช้เอกสารจำนวนมากทางสมาคมจึงเริ่มคุยกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาเป็น e-KYC ร่วมกัน เพื่อให้ฟินเทคมีพื้นที่ในการช่วยประชาชนได้มากขึ้น
 
นอกจากนี้ในชมรมยังหารือเรื่อง Neutrality หรือแนวคิดป้องกันไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งมีอำนาจเหนือตลาด และปิดกั้นไม่ให้เกิดการพัฒนาหรือการแข่งขันอย่างเสรีอีกด้วย

จัดตั้ง F13 เป็นศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคแห่งชาติ

ภาพจาก  facebook.com/ThaiFintechAssociation

ศูนย์พัฒนาฟินเทคแห่งชาติ หรือ F13 ตั้งอยู่ที่ชั้น 13 ตึก KX (Knowledge Exchange) มีพื้นที่ประมาณ 300 ตารางเมตร โดยจะเป็นแหล่งทดสอบและพัฒนาบริการฟินเทค และสร้างบุคลากร ทีมงาน ให้มีความรู้ความสามารถมากขึ้น และพร้อมกับการแข่งขันในตลาด

โดยจะมีระบบไอทีเพื่อสนับสนุนให้ผุ้ประกอบการฟินเทคได้เข้าถึงเทคโนโลยีระดับโลก ทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และ API สำหรับการเชื่อมการทำงานบนเทคโนโลยีใหม่ ๆ และแหล่งข้อมูลที่สำคัญ

ภาพจาก  facebook.com/ThaiFintechAssociation

นอกจากนี้ยังมีการทำ Business Matching ระหว่างธนาคารกับผู้ประกอบการฟินเทค เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมการเงินใหม่ๆ ตลอดจนการรับหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำงานร่วมกับหน่วยผู้กำกับดูแลอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย,

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อให้กระบวนการต่างๆมีความสะดวกและง่ายมากขึ้น

ทั้งนี้ภาพรวมของ F13  จึงเหมือนเป็นศูนย์กลางของภาคธุรกิจในการสานต่อนวัตกรรม FinTech ของภาคธุรกิจให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยทำงานร่วมกับธนาคาร สถาบันการเงินในการสนับสนุนคิดค้นจนเป็นบริการที่ออกสู่ตลาดได้อีกทั้งยังเป็นการทำงานร่วมกันกับธนาคารแห่งประเทศไทย,

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อให้ผู้ประกอบการฟินเทคสามารถที่จะดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับได้อย่างถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด และอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วม Regulatory Sandbox ของหน่วยงานกำกับดูแล
 
ภาพจาก  facebook.com/ThaiFintechAssociation

ทั้งนี้ภาพรวมของ FinTech เมืองไทยแม้จะยังไม่ชัดเจนแต่แนวโน้มของการพัฒนาก็เริ่มเดินมาถูกทางมากขึ้น ประกอบกับภาคธุรกิจเองก็เริ่มให้ความสนใจและมองเห็นประโยชน์ที่แท้จริงของ FinTech ว่าไม่ใช่แค่การจ่ายเงินออนไลน์อย่างเดียวเท่านั้น

คาดการณ์วงการ FinTech ในปี 5-10 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าสูงกว่า ล้านล้านบาท โดยภารกิจสำคัญของสมาคมฟินเทคก็คือการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการฟินเทคไทยมีโอกาสในการเติบโตและเพิ่มจำนวนมากขึ้น

เพื่อแข่งขันกับฟินเทคจากต่างชาติที่ปัจจุบันเริ่มเข้ามาแข่งขันในตลาดประเทศไทยแล้ว นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเข้าถึงบริการทางการเงินและการลงทุนใหม่ๆได้มากขึ้นด้วย

ติดต่อ Thai Fintech Association
E-mail :  contact@thaifintech.org 

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด