บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    บริหารงานทรัพยากรบุคล
4.4K
4 นาที
17 มกราคม 2561
“ที่ปรึกษาธุรกิจ SMEs & Franchise” ความอยู่รอดของธุรกิจ 4.0 
 

ผู้ประกอบการธุรกิจหลายคน มักมีเข้าใจผิดว่าธุรกิจ SME ไม่จำเป็นต้องใช้บริการที่ปรึกษา เพราะค่าตัวของที่ปรึกษาราคาแพง ใช้บริการแล้วไม่คุ้มค่า อีกทั้งที่ปรึกษาไม่มีความรู้เฉพาะด้าน เหมือนกับเจ้าของธุรกิจที่ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว 

สาเหตุหลักที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME จำนวนมาก ไม่ยอมลงทุนจ้างที่ปรึกษา อาจมีสาเหตุมาจากการที่ตัวเองมีความรู้ มีความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจทำธุรกิจ เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะต้องเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด จึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง 

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะเล่าให้ฟังว่า “ที่ปรึกษาธุรกิจ” มีบทความสำคัญอย่างไร ต่อการอยู่รอด และการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจยุคใหม่

ผ่านการสัมภาษณ์และพูดคุยกับ “อาจารย์สุชาติ กิติเฉลิมเกียรติ” ที่ปรึกษาอาวุโส ธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์  และที่ปรึกษาศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ที่ปรึกษาธุรกิจ คือ ใคร


อาจารย์สุชาติ เล่าเกริ่นเริ่มแรกว่า ที่ปรึกษาธุรกิจ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างสูง มีความรู้ทางวิชากร มี่ประสบการณ์ มีความสามารถ และมีข้อเสนอแนะ ให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางการดำเนินธุรกิจได้ 

เพราะฉะนั้น การเป็นที่ปรึกษา ไม่ใช่ว่าใครที่ไหนก็เป็นได้ แม้ว่าจะเรียนจบด็อกเตอร์ หรือปริญญาโทมาก็ตาม เพราะยังไม่มีทักษะ และประสบการณ์ในด้านต่างๆ อาทิ การสร้างธุรกิจ การวิเคราะห์ธุรกิจ การผลิต การขยายธุรกิจ บัญชี การเงิน HR การตลาด IT หรือแม้แต่การสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ สำหรับ SME ที่ต้องการเติบโตรวดเร็ว 

ความจำเป็นของ “ที่ปรึกษา” ต่อการอยู่รอดของธุรกิจ 


อาจารย์สุชาติ เล่าต่อว่า ผู้ประกอบการหลายคนมักมองว่า ตัวเองทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จมาแล้ว ทำไมจะต้องไปจ้างที่ปรึกษาทางธุรกิจด้วย แต่อย่าลืมว่าปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องสร้างระบบต่างๆ สร้างทีมงาน เพื่อให้องค์กรมีความแข็งแกร่งและเดินหน้าต่อไปได้  

ความจริงแล้ว ผู้ประกอบการอาจลืมไปว่า ยุคปัจจุบันการทำธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น รูปแบบธุรกิจเดิมต้องมีโรงเรือน โรงงาน ออฟฟิศ แต่ปัจจุบันเพียงแค่มีเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น ก็สามารถทำธุรกิจได้แล้ว 

ขณะเดียวกัน ตัวกฎหมาย หรือกฎระเบียบต่างๆ ของราชการ ได้เข้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ทำให้เกิดการคดโกงหรือฉ้อโกงในธุรกิจ ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมดูแลการทำธุรกิจมากขึ้นด้วย อีกทั้งผู้ประกอบการธุรกิจมีความต้องการทำธุรกิจของตัวเองให้มีความเป็นสากล 

สิ่งเหล่านี้คือความซับซ้อนของธุรกิจยุคใหม่ ยิ่งเมื่อไหร่ที่ธุรกิจมีการเติบโตยั่งยืนไปถึงจุดหนึ่ง ก็ต้องมีปัจจัยเสี่ยง หรืออุปสรรคต่างๆ เข้ามากระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ทัศนคติ และวิธีการคิดเปลี่ยนตามไปด้วย เมื่อโลกออนไลน์มาแรง ก็ทำให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีข้อมูลข่าวสารธุรกิจมากขึ้น

หากผู้ประกอบการเจอความซับซ้อน เจอการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค เจอสภาพการแข่งขันทางธุรกิจรุนแรงมากขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังใช้วิธีคิดแบบเดิมๆ มีวิธีการทำแบบเดิมๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นแบบเดิมๆ จะช้าหรือเร็วก็ต้องออกจากสนามแข่งขันทางธุรกิจ เพราะไม่สามารถสู้กับคู่แข่งในสนามธุรกิจได้ 

ดังนั้น ที่ปรึกษาธุรกิจ จึงเป็นการเติมเต็มให้กับผู้ประกอบการ โดยที่ปรึกษาจะเป็นผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือธุรกิจให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน วิธีการจะเข้ามาแนะนำว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการทำอยู่นั้น ใช่หรือไม่ใช่ แล้วทำการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา แล้วหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันกับผู้ประกอบการ

อาจารย์สุชาติ บอกด้วยว่า ธุรกิจที่กำลังจะเริ่มต้น ยิ่งมีความจำเป็นต้องใช้บริการที่ปรึกษา เพราะผู้ประกอบการอาจไม่เคยทำธุรกิจมาก่อน ยิ่งการมีที่ปรึกษาตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจ จะช่วยให้ผู้ประกอบการเดินตามทางได้อย่างถูกต้อง

ไม่ต้องไปลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ซึ่งที่ปรึกษาอาจจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับเงินลงทุนเริ่มแรก การทำตลาด ช่องทางการทำธุรกิจออนไลน์ วิเคราะห์แนวโน้มและโอกาสของธุรกิจที่ผู้ประกอบการกำลังจะเริ่มต้น 

SME เริ่มใส่ใจบริการที่ปรึกษา


สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจที่กำลังคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่องค์กรของตนเองจะต้องมีที่ปรึกษาธุรกิจ ถือว่าผู้ประกอบการกำลังเปิดตัวเองสู่โลกการค้าอย่างมั่นใจ เพราะที่ปรึกษาที่เก่ง มีความสามารถเฉพาะด้าน

มีส่วนทำให้ธุรกิจเติบโตเป็นเท่าตัว หรือขยายฐานลูกค้า ส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรโดยไม่ต้องใช้เวลานานมากนัก
เนื่องจากบางธุรกิจจำเป็นต้องมีผู้นำทางด้านความคิด เพื่อชี้แนะวิธีการก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคของธุรกิจ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงได้

อาจารย์สุชาติ เล่าในความเห็นส่วนตัว จากการเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจมากว่า 10 ปี ได้เห็นว่า วิธีคิดหรือแนวคิดของผู้ประกอบการไทย เริ่มเห็นความสำคัญของมีที่ปรึกษาทางธุรกิจมากขึ้น เห็นได้ว่าธุรกิจ SME ที่เริ่มเติบโตระดับหนึ่ง ผู้ประกอบการก็จะมองหาที่ปรึกษาด้านต่างๆ เพื่อขอคำแนะนำในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน 

วิธีการทำงานของที่ปรึกษา


อาจารย์สุชาติ บอกวิธีการทำงานของการเป็นที่ปรึกษาว่า ก่อนที่ปรึกษาจะเริ่มเข้าไปทำงานในบริษัท หรือสถานประกอบการต่างๆ ต้องสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และต้องแยกแยะปัญหาให้ออกว่า สิ่งที่เห็นเป็นปัญหา หรืออาการ และต้องรู้ว่าปัญหาขององค์กรหรือบริษัท คือ อะไร 

เมื่อรู้ปัญหาแล้ว ก็ต้องศึกษาแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งที่ปรึกษาอาจให้คำแนะนำหรือหารือร่วมกันกับผู้ประกอบการ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องของสถานประกอบการ ต่อจากนั้นก็สร้างวิธีการแก้ปัญหาขึ้นมา หลังจากนั้นค่อยมาเลือกว่าแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันกับผู้ประกอบการอีกครั้งหนึ่ง 

สรุปก็คือ วิเคราะห์ปัญหา ระบุตัวปัญหา เลือกวิธีการแก้ปัญหา และลงมือแก้ปัญหา 

แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่า ที่ปรึกษา คือ ผู้วิเศษที่จะเข้ามาช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับธุรกิจของพวกเขาทุกๆ เรื่อง ซึ่งไม่ใช่ เพราะที่ปรึกษาเป็นเพียงแค่ “ผู้ช่วย” เข้ามาเสนอแนะและระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร คือ อะไร วิธีการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร แล้วจะช่วยกันทำอย่างไรเท่านั้น  

ดังนั้น หน้าที่ของการแก่ปัญหาโดยหลักแล้ว เป็นหน้าที่ของสถานประกอบการ ที่ปรึกษาเป็นเพียงผู้อำนวยการ หรือผู้สนับสนุน และส่งเสริมช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการ สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่ได้ตกลงกันไว้ 

ประการสำคัญ การแก้ไขปัญหาของสถานประกอบการด้วยตัวเอง ถือเป็นการพัฒนาองค์กรของผู้ประกอบการให้มีความยั่งยืน เพราะต่อไปผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาตลอดไปก็ได้ เพียงแค่ใช้บริการที่ปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาเฉพาะ

ลักษณะธุรกิจ ที่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษา 


อาจารย์สุชาติ บอกว่า ลักษณะของธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องมีที่ปรึกษา คือ ธุรกิจที่ต้องการความยั่งยืน บางครั้งผู้ประกอบการอาจมองว่า ธุรกิจของตัวเองอยู่ได้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่อาจารย์สุชาติเจอหลังจากเจ้าไปช่วย SME เขียนแผนธุรกิจ ทำให้รู้ว่าผู้ประกอบการไม่รู้เลยว่าธุรกิจของตัวเองมีการเติบโตช้าหรือเร็ว 

ผู้ประกอบการรู้เพียงว่า ธุรกิจของตัวเองยังขายสินค้าได้ ธุรกิจมีกำไร สินค้าในสต็อกเพิ่มขึ้น ลูกค้าก็เพิ่มขึ้นด้วย แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการลืมคิด คือ แม้ตอนนั้นธุรกิจจะเดินหน้าได้ราบรื่น แต่บางครั้งมันก็ซ่อนประเด็นปัญหาอยู่ข้างใน 

เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการที่ปรึกษา คือ ธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน ธุรกิจที่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่ง ธุรกิจที่มียอดขายลดลง และธุรกิจที่กำลังจะเริ่มต้น หรือกรณีผู้ประกอบการที่ไม่เข้าใจว่า สภาพแวดล้อมของการแข่งขันทางธุรกิจในเวลานั้นๆ เป็นอย่างไร เพื่อหาช่องทางและ

วิเคราะห์โอกาสของธุรกิจ 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนจ้างที่ปรึกษาด้านต่างๆ ให้กับธุรกิจ ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ผลประกอบการดีขึ้นเสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับที่ปรึกษาที่จ้างมาว่า มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากบางบริษัทฯ มีที่ปรึกษา แต่ก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรจริงจัง เนื่องจากปัจจัยหลายๆ ด้าน 

ไม่ว่าจะเป็นความมั่นใจของผู้ประกอบการเกินไป จึงทำให้ที่ปรึกษาทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือแม้แต่ที่ปรึกษาบางท่านถูกจ้างมาด้วยความสนิทสนมจากเจ้าของธุรกิจ แต่ไม่ได้มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างจริงจัง

ดังนั้น การตัดสินใจเลือกที่ปรึกษาธุรกิจ ต้องเลือกถูกคนและถูกเวลา หมายความว่า หากธุรกิจประสบปัญหาด้านใดด้านหนึ่ง ในสถานการณ์ที่ตลาดมีการแข่งขันสูง และผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลาย ผู้ประกอบการจะต้องเลือกที่ปรึกษาด้านการตลาดที่เก่งๆ เข้ามาทำหน้าที่ขับเคลื่อนยอดขายในช่วงเวลาที่ธุรกิจกำลังตกอยู่ในอาการย่ำแย่ 

หากเลือกนักการตลาดที่มีฝีมือและประสบการณ์โดยตรง ก็จะสามารถพยุงธุรกิจได้ไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ถ้าโชคร้ายเจอคนที่ไม่ใช่ตัวจริง ก็จะทำให้ธุรกิจย่ำแย่ลงไปอีก นั่นหมายความว่า การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

วิธีการเลือกที่ปรึกษา 


1.ที่ปรึกษาต้องมีจริยธรรม
ทั้งความคิดและปฏิบัติ บางคนเรียกตัวเองว่า “ที่ปรึกษา” แต่ความจริงแล้ว ในการเข้าไปช่วยเหลือบริษัท มักมีผลประโยชน์แอบแฝง หรือผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะฉะนั้น ที่ปรึกษาที่ดีต้องมีจริยธรรมอันดีงาม ทั้งแนวความคิด และแนวทางการปฏิบัติ ต้องหลีกเลี่ยงการมีผลประโยชน์ทับซ้อน 

2.ที่ปรึกษาต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เรื่องนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะผู้ประกอบการจะเลือกใครสักคนมาเป็นที่ปรึกษา จะต้องมีทักษะที่เหนือกว่าคนอื่น และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์กรได้

ที่สำคัญจะต้องเป็นผู้ที่ประสบการณ์ตรงในวงการนั้นๆ เช่น หากต้องการที่ปรึกษาด้านไฟแนนซ์ เพื่อมาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน นั่นหมายความว่าผู้ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีความรู้และประสบการณ์ด้านไฟแนนซ์เป็นอย่างดี

3.ที่ปรึกษาจะต้องมีจิตใจบริการเพื่อส่วนรวม และสังคม เพราะการให้คำปรึกษาหรือแนะนำใดๆ ของที่ปรึกษา จะมีผลกระทบต่อธุรกิจนั้นๆ ในภายหลัง ถ้าที่ปรึกษาไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ รวมถึงไม่มีจริยธรรม ไม่มีจรรยาบรรณ ก็อาจทำให้ธุรกิจนั้นไม่ประสบความสำเร็จ จนถึงขั้นนำไปสู่การปลดพนักงาน สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น 

4.ที่ปรึกษาต้องมีความเป็นผู้นำ ทั้งทางด้านบุคลิกภาพ วุฒิภาวะและความรู้ในสิ่งที่องค์กรขาด แนวคิดและมุมมองในการพยากรณ์อนาคตของธุรกิจ ผู้ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวจะต้องคร่ำหวอดอยู่ในแวดวงธุรกิจนั้น ๆ เป็นเวลานับ 10 ปี ที่สำคัญมีศักยภาพนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ 
 
ได้เห็นแล้วว่า “ที่ปรึกษา” มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง ผู้ประกอบการธุรกิจหลายคน อาจมองข้ามจุดนี้ไป และส่วนใหญ่มุ่งมั่นที่จะลงมือทำธุรกิจด้วยตัวเองตามลำพัง 

ใครที่มีความคิดเช่นนี้อยู่ คิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองด้านการทำงาน เนื่องจากที่ปรึกษามีความสำคัญไม่น้อยต่อความอยู่รอดของธุรกิจ เห็นได้จากองค์กรธุรกิจใหญ่ๆ ทุ่มเงินลงทุนจ้างที่ปรึกษาด้านต่างๆ


ผู้ประกอบการท่านใด สนใจขอรับคำปรึกษาธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187 ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy) 

หรือคลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/consult
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
อ่านจดหมายข่าวอื่นๆ www.thaifranchisecenter.com/newsletter/index.php
 


ท่านใดสนใจอยากรับปรึกษาแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด