บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    การลงทุน
2.8K
2 นาที
3 เมษายน 2561
ธุรกิจบัตรเครดิตมีรายได้จากทางไหนบ้าง

เวลาไปธนาคารเคยสงสัยกันไหมว่านอกจากธนาคารจะคอยขายประกันแบบต่างๆ ให้เราแล้ว บางธนาคารยังถามเราอีกด้วยว่ามีบัตรเครดิตหรือยัง  และก็ทันทีหากเราตอบว่าไม่มี หรือมีแล้วแต่ไม่ใช่ของธนาคารนี้พนักงานจะขอเวลาในการอธิบายเหตุผลต่างๆ ให้เราตัดสินใจทำบัตรเครดิต

เป็นเรื่องน่าสงสัยว่าบัตรเครดิตเล็กๆ1ใบสร้างรายได้อย่างไรให้ธนาคาร และคนที่เกี่ยวข้องกับรายได้จากการรูดบัตรเครดิตของเรานั้นมีใครบ้าง www.ThaiFranchiseCenter.com นำเสนอข้อมูลนี้

เป็นความรู้ให้เราก้าวทันสังคมยุคใหม่ที่เขาพยายามผลักดันให้กลายเป็นสังคมไร้เงินสดมากขึ้น ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตอาจมีกฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องมีบัตรเครดิตอย่างน้อย 1 ใบก็เป็นได้


มาเริ่มที่คำถามง่ายๆว่าบริษัทเจ้าของบัตรเครดิต ธนาคารผู้ออกบัตร ธุรกิจเหล่านี้ได้ประโยชน์อะไรจากบัตรเครดิต คำตอบก็คือ “ค่าธรรมเนียม”  โดยปกติค่าธรรมเนียมที่ว่านี้จะถูกเรียกเก็บ 2-3% ของราคาสินค้า

ซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวก็ใช่ว่าธนาคารเจ้าของบัตรจะได้รับไปเต็มๆ คนเดียว ยังมีตัวแบ่งอีกหลายส่วนตั้งแต่ธนาคารเจ้าของเครื่องรูด ตัวกลางในการตัดเงิน เป็นต้น

 
เพื่อให้เห็นภาพเส้นทางการเงินของการรูดบัตรเครดิตแต่ละครั้งว่าเงินที่เราเสียไปนั้นกระจายไปที่ไหนบ้าง ก่อนอื่นต้องเข้าใจ องค์ประกอบของผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีด้วยกัน 5  ส่วนคือ
  1. ลูกค้าผู้จ่ายเงิน
  2. ร้านค้าที่รับเงิน
  3. ธนาคารของลูกค้า
  4. ธนาคารของร้านค้า
  5. ตัวกลางในการตัดเงินระหว่างธนาคารของลูกค้าและร้านค้า ซึ่งก็คือชนิดของบัตรเครดิตในมือของเรานั่นเอง

ลองยกตัวเลขสินค้าราคา 100 บาท เริ่มจากเรารูดบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคาร X (สมมุติ) จากร้านค้าที่มีเครื่องรูดเงินของธนาคารY (สมมุติ)  เงินจะเริ่มต้นเดินทางจากธนาคาร X ไปยังบริษัทบัตรเครดิต 98.2 บาท

ธนาคารเจ้าของบัตรได้เงินค่าธรรมเนียมทันที 1.8 บาท และหลังจากที่บริษัทบัตรเครดิตได้เงิน 98.2 บาท ก็จะส่งต่อให้ธนาคาร Y ในฐานะเจ้าของเครื่องรูดเงิน 98.09 บาท

แสดงว่า บริษัทบัตรเครดิตได้ค่าธรรมเนียม 0.11 บาท  และเมื่อธนาคาร Y ได้เงิน 98.09 บาท ก็จะส่งต่อให้ร้านค้าที่ลูกค้าซื้อสินค้าไป 97.76 บาท โดยตัวเองกินค่าธรรมเนียม 0.33 บาท 
 

ทีนี้ก็คงจะเข้าใจเหตุผลว่าทำไมธนาคารที่เรามีบัญชีเงินฝากเขาถึงอยากให้เรามีบัตรเครดิต ก็เพราะตัวธนาคารเองจะได้ค่าธรรมเนียมจากการใช้จ่ายของเรามากที่สุด เขาถึงได้จัดแคมเปญต่างๆ ออกมามากมายเพื่อล่อตาล่อใจให้เราใช้บัตรเครดิตมากขึ้น 

ซึ่งตัวธนาคารเองก็ใช่จะกินเปล่าค่าธรรมเนียมแบบไม่เสียอะไร เพราะตัวธนาคารเองก็มีต้นทุนที่ต้องใช้งบประมาณมาทำการตลาด รวมถึงมีเงินสำรองจ่ายให้ลูกค้าก่อนเรียกเก็บทีหลัง ไม่รวมพวกหนี้เสียที่ธนาคาต้องคอยตามจัดการ จึงถือได้ว่าตัวธนาคารเองก็ต้องเหนื่อยเหมือนกันกับธุรกิจบัตรเครดิตรนี้


แม้แต่ร้านค้าเองก็ตามเรามักจะเห็นบางร้านติดป้ายว่ารับชำระด้วยบัตรเครดิตเมื่อมียอดใช้จ่าย 500 บาทขึ้นไป เพราะถ้ายอดบิลต่ำกว่านั้นแล้วถูกหักไปอีก 2-3% ก็อาจจะไม่เหลือกำไรเลยก็ได้
 
แต่ถ้ามองดูตัวเลขก็พอทำให้ชื่นใจได้อยู่บ้างเพราะแม้จะเป็นค่าธรรมเนียมแค่ 1.8 บาท ที่ดูไม่เยอะแยะนักแต่จากข้อมูลในแต่ละปีจะมีคนรูดบัตรเครดิตมูลค่ารวมเป็นแสนล้าน ดังนั้นรายได้เข้าธนาคารลองเอาตัวเลข 1.8 ไปคูณต่อคนก็ถือว่าไม่ธนรรมดา

และยิ่งมีการส่งเสริมให้เป็นสังคมไร้เงินสดมากขึ้นก็เท่ากับเปิดช่องทางการแข่งขันเรื่องนี้อย่างเต็มตัว ธุรกิจบัตรเครดิตจึงเป็นอีกหนึ่งการลงทุนของธนาคารที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด

SMEs Tips (ผู้ทีส่วนได้จากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต)
  1. ลูกค้าผู้จ่ายเงิน
  2. ร้านค้าที่รับเงิน
  3. ธนาคารของลูกค้า
  4. ธนาคารของร้านค้า
  5. ตัวกลางในการตัดเงินระหว่างธนาคารของลูกค้าและร้านค้า
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่  goo.gl/Io5k2S

ภาพจาก www.freepik.com

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด