บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
3.1K
3 นาที
3 พฤษภาคม 2561
ฟังชัดๆ “Start Up จับต้องได้” จาก 7 สตาร์ทอัพไทยโกอินเตอร์ 
 

ในวันนี้เชื่อว่าหลายๆ คน คงรู้จักคำว่า Start Up กันเป็นอย่างดี และหลายๆ คน โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ ก็อยากเดินตามเส้นทางของ Start Up แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน ทำธุรกิจอะไรดี และจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำแนวคิดการเป็นสตาร์ทอัพ จากเวทีสัมมนา หัวข้อ “STARTUP จับต้องได้: เจาะลึกธุรกิจ สร้างสังคมแห่งสตาร์ทอัพ” ณ โรงละครอักษรา คิง พาวเวอร์ จัดโดย Positioningmag.com ในเครือผู้จัดการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561 เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้อยากเริ่มก่อตั้งธุรกิจ และขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
สแนปอาส์ค...ติวเตอร์ส่วนตัว 
 
 
ภาพจาก www.facebook.com/snapaskth

1.นายชวัล เจียรวนนท์ ซีอีโอ บริษัท สแนปอาส์ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การเป็นสตาร์ทอัพเป็นเรื่องยาก และหลายคนคิดว่าอาจจะต้องทำอะไรหลายๆ อย่าง แต่ถ้าหากว่าเลือกโฟกัสในการทำธุรกิจจะต้อง “Have a Purpose” (H.A.P) คือจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการทำธุรกิจ และจะต้องมีสิ่งที่อยากจะทำและลงมือทำ 

 
ซึ่ง “สแนปอาส์ค” เป็นแอพพลิเคชั่น ที่พัฒนามาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย Machine Learning และ AI ที่สร้างมาเพื่อให้บริการสำหรับนักเรียน ที่ต้องการพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้กับติวเตอร์ ในวิชาที่ตนเองไม่ถนัด 

 
เป็นแอพพลิเคชั่นที่เริ่มต้นมาจากฮ่องกง และสามารถขยายสาขาไปถึง 7 ประเทศในเอเชีย และประเทศไทยเป็นแห่งที่ 8 ก็เป็นสิ่งการันตีถึงคุณภาพและการตอบรับของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
 
Mu Space…ทัวร์อวกาศเป็นเรื่องใกล้ตัว
 

ภาพจาก www.facebook.com/muSpaceTech

2.นายวรายุทธ เย็นบำรุง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด หรือ mu Space กล่าวว่า แนวคิดในการทำธุรกิจสำหรับสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องคิดต่าง ทำเร็ว และทีมเวิร์กที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ และตนเองในฐานะที่เป็นคนไทย มีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยีอวกาศ 

 
จึงมุ่งมั่นศึกษาด้านนี้ในต่างประเทศ พร้อมมีแนวคิดที่จะใช้ดาวเทียม ลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี พัฒนาคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ห่างไกล ด้วยการจับมือกับ Blue Origin เตรียมส่งดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่วงโคจร 

 
ด้วยจรวด New Glenn เที่ยวแรกในปลายปี 2563 ถือเป็นสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ที่มีความมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีอวกาศ มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขณะนี้เขาเตรียมสร้างห้องสภาวะไร้น้ำหนัก เพื่อฝึกฝนผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวในอวกาศ ได้มีการฝึกฝนและปรับตัวอย่างง่าย ในระยะเวลาอันสั้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการท่องอวกาศในเร็วๆ นี้แล้ว
 
AIRPORTELs...รับ-ส่งกระเป๋าต่างชาติ
 
ภาพจาก www.facebook.com/airportels

3.นายอภิโชค ประเสริฐรุ่งเรือง กรรมการฝ่ายการขนส่งและผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจ AIRPORTELs กล่าวว่า การทำงานหนักเป็นปัจจัยสำคัญของการเป็นสตาร์ทอัพ เพราะตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจนี้ มีเทคนิคการทำงานอยู่ 4 ข้อหลัก คือ
  1. การเป็นผู้ประกอบการจะต้องทำงาน 7 วัน/สัปดาห์
  2. มีเฉพาะเวลาเริ่มงาน แต่ไม่มีเวลาเลิกงาน 
  3. ทะเลาะกับพาร์ทเนอร์เป็นประจำ เพื่อหาช่องทาง และทางออกที่ดี
  4. เลิกคิดถึงการท่องเที่ยว เพราะถ้าคิดถึงเรื่องพักเมื่อไหร่ จะมีคู่แข่งเกิดขึ้นมาใหม่เสมอ

เนื่องจาก AIRPORTELs เป็นธุรกิจขนส่งกระเป๋าจากสนามบินไปยังโรงแรม จากใน กทม.ไปยังต่างจังหวัด รวมถึงบริการรับฝากกระเป๋าด้วย ขณะนี้หลังเปิดให้บริการมานานกว่า 2 ปี ขนส่งกระเป๋าของลูกค้ามาแล้วกว่า 3 แสนใบ 
 
และตอนนี้มีโรงแรมที่เป็นพาร์ทเนอร์ด้วยกันกว่า 500 โรงแรม รายได้จากการทำธุรกิจที่ได้จากการขนส่งในปี 2017 เติบโตไปกว่า 750% ส่วนรายได้จากการฝากกระเป๋าเติบโตไปกว่า 2,000%

 
สำหรับจุดเริ่มต้นของธุรกิจ AIRPORTELs เกิดจากปัญหาที่ประสบด้วยตนเอง คือ ไปเจอนักท่องเที่ยวถือกระเป๋าไปใหญ่ออกจากสนามบินเพื่อไปยัง แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (Airport Rail Link) ลงบันไดที่มีความสูงพอสมควร 
 
และพี่ชายของตนก็ไปไปเที่ยวต่างประเทศกับคุณแม่ และไปถือของที่ซื้อมา จึงคิดว่าทำไมถึงไม่มีบริการที่อำนวยความสะดวก จึงเกิดมาเป็น “AIRPORTELs” ขึ้น
 
บ๊อกซ์ 24…ล็อกเกอร์ทีเป็นมากกว่าตู้ฝากของ 
 
ภาพจาก www.facebook.com/Box24Corp

4.นายนิธิพนธ์ ไทยานุรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท บ๊อกซ์24 จำกัด กล่าวว่า เขาใช้การมองปัญหาให้เป็นการสร้างโอกาสให้แก่ตัวเอง เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจตนเองเพิ่มเติม โดยการก่อตั้งบริษัทนี้เพราะเห็นโอกาสทางธุรกิจเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ที่เห็นประโยชน์ของตู้ล็อกเกอร์ที่เป็นมากกว่าตู้ฝากของ 

 
ดังนั้น เขาจึงวางตำแหน่งผู้นำรายแรกของโลก ที่นำตู้ล็อกเกอร์มาผูกโยงกับธุรกิจซักรีด ภายใต้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจรับส่งพัสดุไปรษณีย์ ซื้อสินค้าออนไลน์ รับฝากส่งสิ่งของระยะสั้น-ยาว และรับจ่ายบิลทุกชนิด อีกทั้งยังให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ปัจจุบันมีทั้งหมด 150 ตู้ และมีจำนวนลูกค้าอยู่ 30,000 คน ที่ใช้บริการ 
 
ปัจจุบันมีทั้งหมด 150 ตู้ และมีจำนวนลูกค้าอยู่ 30,000 คน ที่ใช้บริการ สำหรับวอชบ๊อกซ์ มีจำนวน 5 - 6 หมื่นชิ้น/เดือน หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า คนใช้บริการเป็นจำนวนมากขนาดนี้ตู้จะเต็มหรือไม่ 

 
แต่ก็มองเป็นปัญหาที่ดี ที่จะได้เพิ่มตู้เพื่อบริการมากขึ้น โดยให้รองรับต่อความต้องการของลูกค้า คุณนิธิพนธ์ใช้การมองปัญหาให้เป็นการสร้างโอกาสให้แก่ตัวเอง เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจตนเองเพิ่มเติมต่อไป
 
N-Save…นวัตกรรมเพิ่มความเย็น ช่วยประหยัดไฟ
 
 
ภาพจาก www.nrg-inno.com/n/save

5.นางสาวพริบตา วงศ์อนวัช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นอาร์จีเอ็ม จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเย็นให้กับเครื่องปรับอากาศ แบบประหยัดไป และใส่ใจสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เทคนิคการก้าวขึ้นเป็นสตาร์ทอัพของแบรนด์ N-Save ต้องทำให้สินค้ามีความเป็นแมส (mass) และมีความยืดหยุ่นสูง 

 
หากมีการจดสิทธิบัตรให้กับผลิตภัณฑ์ ก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์ก้าวเข้าไปนั่งในใจของผู้บริโภคได้ไม่ยาก โดย N-Save สามารถนำไปติดตั้งได้กับเครื่องปรับอากาศทุกรุ่น ติดตั้งง่าย ด้วยการนำน้ำทิ้งจากเครื่องปรับอากาศมาหมุนเวียนในกล่องที่ชื่อว่า N-Save ไปหยดที่คอยด์เย็น ซึ่งเป็นน้ำบริสุทธิ์เหมือนน้ำกลั่น ทำให้เครื่องปรับอากาศเย็นเร็วขึ้น 

 
เมื่ออุณหภูมิลดลง ระบบการทำงานจะตัดไม่เปลืองไฟ สามารถช่วยประหยัดไปได้ถึง 40-50% ปัจจุบันมีองค์กรใหญ่นำนวัตกรรมดังกล่าวไปช่วยประหยัดไฟหลายราย และบริษัทได้จดสิทธิบัตรจากรมทรัพย์สินทางปัญญา เรียบร้อยแล้ว 
 
Priceza…เทียบราคาให้หาสินค้าได้ทั่วโลก 


 

ภาพจาก www.priceza.com


6.นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด กล่าวว่า การเป็นสตาร์ทอัพได้นั้น สิ่งที่ต้องมีคือ Passion หรือชอบที่เชื่อว่าทุกคนมี เขามีความชอบในเรื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เด็ก และเดินตามฝันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ จนก่อเกิดเป็นเว็บไซต์ Priceza ทำให้ผู้คนสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการ 

 
พร้อมการเปรียบเทียบราคาที่ดีที่สุดได้ โดยเมื่อปี 2560 มีจำนวนผู้คนเข้ามาชมเว็บกว่า 200 ล้านครั้ง/ปี ในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เข้าชม 2 ล้านครั้ง/เดือน
 
TUK TUK PASS…แอพฯ ท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ ครบวงจร 
 
ภาพจาก www.facebook.com/tuktukpass

7.นางสาวปรางพิสุทธิ์ แดงเดช เจ้าของธุรกิจและผู้ก่อตั้งตุ๊กตุ๊กพาส (TUK TUK PASS) แอพพลิเคชั่นที่รวบรวมข้อมูลด้านการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร กล่าวว่า เป็นแอพพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้อย่างแท้จริง ซึ่ง TUK TUK PASS เป็นสตาร์ทอัพน้องใหม่ของไทย ที่ประกาศเตรียมระดมทุนในรูปแบบใหม่ ICO (Initial Coin Offering) มูลค่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อเตรียมติดตั้งเครื่องคีออส รวบรวมข้อมูลท่องเที่ยว 100 เมืองท่องเที่ยวระดับโลก

 
คาดว่าโครงการจะพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ตามแผน ภายในระยะ 5 ปี โดยเกิดจากความชอบในการท่องเที่ยว ได้มีโอกาสเดินทางไปทั่วโลก และได้เห็นปัญหาของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะโปรแกรมการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ที่ยังไม่มีแหล่งข้อมูลที่ครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จ เธอจึงคิดทำแอพพลิเคชั่น TUK TUK PASS ขึ้น เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้ตรงจุด
 
เห็นได้ว่า 7 สตาร์ทอัพของไทย เกิดขึ้นจากความต้องการ ที่จะแก้ปัญหาให้กับลูกค้า โดยในแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ล้วนแต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน จึงทำให้สตาร์ทอัพไทย นำเสนอบริการได้ตรงความต้องการของลูกค้า

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://www.thaifranchisecenter.com/home.php 
เลือกแฟรนไชส์ไทยขายดี ทำธุรกิจ https://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

SMEs Tips

ธุรกิจที่เรียกว่า Start Up ต้องสามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภคได้ 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด