บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
8.9K
2 นาที
18 เมษายน 2555
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นเสมือนมิติใหม่ของการรวมกลุ่มของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน สิงคโปร์ อินโดนีเซียน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย โดยเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย 4 ประการ ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในปี 2558 ได้แก่
  1. การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม : โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
  2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน : ด้วยการสร้างความสามารถในด้านต่างๆ เช่น นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษีและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง ฯลฯ) เป็นต้น
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค : ด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิก และลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่า เช่น สนับสนุนการพัฒนา SMEs
  4. การบูรณาการการเข้ากับเศรษฐกิจโลก : ด้วยการรวมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก เน้นการประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค
AEC มีผลกระทบกับประชาชนชาวไทยอย่างไร
 
การที่อาเซียนกลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี ในฐานะผู้ผลิต ก็จะมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลายในต้นทุนที่ต่ำลง เนื่องจากภษีส่งออกและนำเข้าในอาเซียนจะเหลือ 0% หรือจะย้ายฐานการผลิตภไปยังประเทศกลุ่ม AEC ที่มีวัตถุดิบและแค่แรงถูกกว่า ทำให้ผลิตสินค้าได้ถูกลงไปอีก ขณะที่การขนส่งสินค้าก็จะสะดวกขึ้น และตลาดขายสินค้าก็ขยายใหญ่ขึ้นจากที่เคยขายในเมืองไทยซึ่งมีประชากร 60 กว่าล้านคน แต่ต่อไปเราสามารถส่งสินค้าไปยังตลาดอาเซียนที่มีประชากรมากถึง 600 ล้านคนได้อย่างเสรีและปลอดภาษี นั่นหมายถึงโอกาสในการขายสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันเราก็มีคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน
 
ในฐานะผู้บริโภค จะมีสินค้าและบริการให้เลือกมากขึ้นและราคาไม่แพง เพราะสินค้าที่เข้ามาขายในไทยจะไม่เสียภาษี สำหรับผู้ที่ชอบการท่องเที่ยว AEC จะทำให้เดินทางท่องเที่ยวในกลุ่ม AEC ได้สะดวกและเสรีมากขึ้น
 
ในส่วนของแรงงานวิชาชีพ เช่น แทพย์ วิศวกร หรือนักบัญชี พยาบาล สถาปนิกฯลฯ แรงงานเหล่านี้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ตามข้อกำหนดมาตรฐานที่จะมีขึ้น และโอกาสที่จะได้ค่าแรงสูงก็จะมากขึ้นตาม แต่แรงงานจากประเทอื่นๆก็สามารถมาทำงานในไทยได้เช่นกัน
 
AEC ไม่ได้มีแต่โอกาสอย่างเดียว อาจนำพาซึ่งการแข่งขันสูงเข้ามาด้วย
 
โอกาสและวิกฤติมักจะมาคู่กัน ขึ้นกับว่าใครปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่อย่างไร  ก่อนอื่นผู้ประกอบการต้องทำการประเมินตนเองว่ามีจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส วิกฤติ อย่างไร (SWOT Analysis) อะไรบ้างแล้วต้องเร่งปรับแก้จุดอ่อน แก้วิกฤติที่จะมี และหาลู่ทางการลงทุน ตลอดจนมีแผนธุรกิจที่ครอบคลุมไปถึง AEC โดยอาจเลือกตลาดเพื่อนบ้านที่มีความเหมาะสมในการแข่งขันกับธุรกิจของคุณ   และยังต้องเร่งขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ลดต้นทุน เน้นคุณภาพ และสร้างความแตกต่างฯลฯ
 
ท้ายนี้ อย่าคิดว่ายังเหลือเวลาอีกตั้ง 3 ปี (เริ่ม ม.ค. 2558) แล้วชะล่าใจ เพราะเมื่อเวลานั้นมาถึงเราอาจปรับตัวไม่ทัน ผลเสียที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่แค่ธุรกิจจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ยังอาจทำให้ธุรกิจนั้นถึงขั้นขาดทุนจนปิดกิจการเลยก็ได้ ฉะนั้นต้องลุกขึ้นมาเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้  ถึงแม้ว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบ พร้อมหรือไม่พร้อม สุดท้ายแล้วการก้าวสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คงเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป

อ้างอิงจาก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด