บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
6.4K
1 นาที
25 เมษายน 2555
การผลิตถั่วเหลืองไทย ภายใต้กรอบ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ถั่วเหลืองเป็นพืชมีคุณค่าทางโภชนาการ มีสารอาหารหลายประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และช่วยป้องกันโรค ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบรไฮเดรท แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน และเลซิทีน เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์มากมาย คือ
 
1) ใช้เป็นอาหารที่บริโภคได้โดยตรง ทั้งการต้มหรือที่เรียกว่า ถั่วแระ การบริโภคเป็นถั่วเหลืองฝักสดหรือบรรจุกระป๋อง และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ถั่วงอกเต้าเจี้ยว เต้าหู้ ซีอิ้ว นมถั่วเหลือง โปรตีนเกษตร แป้งถั่วเหลือง และกาแฟถั่วเหลือง เป็นต้น
 
2) ใช้ในอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมัน ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ คือ น้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้สำหรับปรุงอาหาร และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอื่นๆ ที่เป็นการเพิ่มคุณสมบัติให้ถั่วเหลือง เช่น เนยเทียมหรือมาการีน น้ำสลัดน้ำพริกเผา ปลาทูน่ากระป๋อง กาว สี ปุ๋ย วิตามิน ยา กระดาษ ผ้า ฉนวนไฟฟ้า หมึกพิมพ์ สบู่ เครื่องสำอาง เบียร์ เส้นใย เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีกากถั่วเหลือง ที่เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ทั้งเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออก
 
3) ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ โดยการนำเมล็ดถั่วเหลืองแปรรูปเป็นถั่วเหลืองนึ่ง (Full Fat Soy) ใช้ผสมอาหารสัตว์
 
4) ใช้ทำปุ๋ยหรือบำรุงดิน โดยไถกลบถั่วเหลืองลงไปในดินจะเป็นปุ๋ยพืชสด ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และมีคุณสมบัติดีขึ้น ที่รากของถั่วเหลืองจะมีปมซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียมที่สามารถดูดไนโตรเจนให้มาอยู่ในรูปของสารประกอบซึ่งพืชสามารถใช้เป็นปุ๋ยได้ เมื่อเก็บถั่วแล้ว ใบ ลำต้น เปลือก ไถกลบลงสู่ดิน รวมทั้งรากและปมที่ตกค้างอยู่ในดินจะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีของพืชชนิดอื่นที่จะปลูกต่อไป สำหรับเปลือกสามารถนำมาใช้เพาะเห็ดได้ เรียกว่าเห็ดถั่วเหลือง
 
(ข้อเสนอแนะ) ยุทธศาสตร์ถั่วเหลืองไทย ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
 
1. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
 
1.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองให้มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้นและได้ผลผลิตที่มีมาตรฐานเพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูก
 
1.2 อบรมเกษตรกร รวมทั้งจัดทำแปลงสาธิตเกษตรเพื่อให้ความรู้ในการดูแลรักษาถั่วเหลืองให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งเทคนิคการเก็บเกี่ยวและการคัดเลือกปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง
 
1.3 จัดทำข้อมูลทรัพยากรดินในแล่งเพาะปลูกสำคัญๆ รวมทั้งวิเคราะห์และปรับปรุงดินให้มีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น
 
2. พัฒนาคุณภาพถั่วเหลือง
 
2.1 ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
 
2.2 วิจัยพันธุ์ถั่วเหลืองให้มีคุณภาพมากขึ้นโดยเฉพาะโปรตีนในเมล็ดถั่วเหลือง เพื่อเพิ่มจุดเด่นให้แก่ถั่วเหลืองของไทย
 
3. ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เพิ่มมูลค่าของถั่วเหลืองในระดับท้องถิ่น อาทิ การผลิต ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และการวิจัยพัฒนา เทคโนโลยีการนำถั่วเหลืองไปแปรรูปร่วมกับผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่ได้รับความนิยม เช่น กาแฟถั่วเหลือง ชอคโกแลตถั่วเหลือง เป็นต้น
 
อ้างอิงจาก    ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด