บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
1.5K
2 นาที
16 มกราคม 2562
ถึงเวลาต้องมองเรื่องขาดดุลการค้าดิจิทัลแล้วรึยัง
 
ภาพจาก goo.gl/nc2UcU

ผมศึกษาเรื่องการเสียภาษีของธุรกิจจากต่างประเทศที่เป็นธุรกิจออนไลน์ซึ่งคนไทยนิยมใช้กัน แต่รายได้ส่วนใหญ่ออกไปยังต่างประเทศเกือบทั้งหมด ทุกวันนี้จะเห็นว่าคนไทยเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เริ่มเข้าสู่บริการต่าง ๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้น

ไม่ว่าจะซื้อซอฟต์แวร์ ดูหนัง ฟังเพลง ไลฟ์สไตล์ของเราเริ่มผูกอยู่กับออนไลน์มากขึ้น และปรากกว่าบริการต่าง ๆ บนออนไลน์ที่เราใช้และจ่ายเงินไปนั้นเป็นบริการของต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ ผมจึงเริ่มเก็บข้อมูลดูว่าปัจจุบันคนไทยนิยมจ่ายอะไรกันไปบ้างซึ่งผมแบ่งออกได้ 11 กลุ่มคือ 

ภาพจาก goo.gl/ESygbG
 
กลุ่ม e-Commerce หรือกลุ่มคนที่ซื้อสินค้าออนไลน์ต่าง ๆ เช่น ซื้อผ่าน eBay, Alibaba, AliExpress, amazon ฯลฯ กลุ่ม Media & Advertising เช่น จ่ายเงินลงโฆษณากับ Google, Facebook, Line@, Twitter ฯลฯ

กลุ่ม Service ต่าง ๆ อย่างการใช้ซอฟต์แวร์บางตัว เช่น Evernote, Cloud Computing, Cloud Storage กลุ่ม Transportation หรือการเดินทาง บางคนนั่ง Grab หรือบางคนจองสายการบินผ่านเว็บไซต์ของต่างประเทศโดยตรง กลุ่ม Travel การจองโรงแรมต่าง ๆ เอง เช่น Booking.com, Airbnb (ผมเช็กมาแล้วปรากฏว่า Agoda มีการลงบันทึกรายได้ในประเทศไทยครับ) 

ภาพจาก goo.gl/YMYvcL
 
กลุ่ม Digital Content เช่น Netflix, iflix, JOOX, Spotify ฯลฯ ยังมี Digital Content อีกประเภทหนึ่งก็คือพวก porn จัดเป็นพวก adult content ในต่างประเทศมีเยอะบ้านเราก็มีการจ่ายให้กับพวกนี้ด้วยเหมือนกัน กลุ่มซอฟต์แวร์ เช่น การดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จาก App Store หรือ  Play store กลุ่มเกมต่าง ๆ เดี๋ยวนี้มีทั้งพวกเกมและพวก in-app purchases ต่าง ๆ เยอะมากซึ่งรายได้จะวิ่งตรงไปต่างประเทศก่อนแล้วค่อยหักส่วนแบ่งกลับมายังผู้ให้บริการในประเทศอีกที หรือบางคนไปซื้อเกมเมืองนอกก็จ่ายให้เมืองนอกทั้งหมดเลย 
ภาพจาก goo.gl/Q7VR9B
 
กลุ่ม Infrastructure เราพูดถึงพวก Cloud ต่าง ๆ เช่น Google Cloud หรือบางคนก็ใช้ amazon จ่ายค่าเว็บโฮสติ้งต่าง ๆ กลุ่ม Financial พวกเพย์เมนต์ต่าง ๆ  เช่น PayPal, AliPay ฯลฯ และ กลุ่มการพนัน betting ที่มีคนเล่นอยู่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว เดี๋ยวนี้ไม่ต้องไปเข้าบ่อนแล้วแค่เปิดมือถือขึ้นมาก็สามารถเล่น Poker, Roulette, Slot และอื่น ๆ เวลาจ่ายเงินก็ใช้วิธีการรูดบัตรเครดิต
 
ที่ผมพูดมาหลายคนน่าจะคุ้น ๆ อยู่บ้าง บางคนก็ใช้อยู่ในชีวิตปกติ แต่เงินทั้งหมดที่จ่ายไปนั้นเป็นเงินเท่าไหร่ ผมลองเก็บข้อมูลของตัวเองว่าในหนึ่งเดือนผมจ่ายค่าบริการออนไลน์พวกนี้ไปเท่าไหร่ แล้วปีหนึ่งเท่าไหร่ ปีหนึ่ง ๆ ผมจ่ายไปหลายหมื่นบาทอยู่ครับ

อย่างผมใช้ Evernote ซื้อพื้นที่เก็บเมลใน Gmail เพิ่ม ดูหนังฟังเพลงด้วย iflix, Netflix ฯลฯ เหล่านี้บางคนที่ใช้บริการแล้วจ่ายไปทีละเล็กละน้อยไม่ได้มาเก็บข้อมูลไว้ว่าจ่ายไปเท่าไหร่ หากลองคิดดูบริการบางอย่างรวม ๆ แล้วมันเยอะมากเลยทีเดียว

ภาพจาก goo.gl/29zTQo
 
ผมคาดการณ์ว่าปีหนึ่ง ๆ ค่าใช้จ่ายที่คนไทยจ่ายผ่านออนไลน์น่าจะหลายหมื่นล้านบาท และยิ่งเวลานี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนไทยที่เริ่มหันมาใช้ออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ผู้ให้บริการต่างก็พยายามหารายได้จากการเก็บค่าบริการต่าง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเราปล่อยให้เป็นไปมากกว่านี้ นั่นหมายถึงคนไทยจะจ่ายเงินออกนอกประเทศโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน 
 
สรรพากรเองก็เริ่มมองเห็นถึงจุดนี้แล้วเช่นกัน โดยส่วนตัวผมก็ค่อนข้างจะกลัว ๆ อยู่เหมือนกัน และเมื่อมีโอกาสได้เข้าไปคุยกับทีมสรรพากรจึงเอาความกังวลเหล่านี้ไปพูดคุยว่าจริง ๆ มันเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเยอะแล้วนะ

และสิ่งหนึ่งที่ผมพยายามกระตุ้นให้ภาครัฐทำออกมาก็คือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้เห็นข้อมูลเหล่านี้มากขึ้น ความจริงข้อมูลเหล่านี้ธนาคารทุกธนาคารจะมีหมด เพราะรายชื่อของทุกบริษัทจะปรากฏบนสเตทเม้นท์ของบัตรเครดิตที่เราใช้ สามารถขอความร่วมมือให้ธนาคารแต่ละแห่งดึงข้อมูลแล้วนำไปรวมไว้ให้กรมสรรพากรขับเคลื่อนในเรื่องนี้ได้
 
ภาพจาก  pixabay.com
 
การเสียดุลการค้าของไทยกับต่างประเทศมันมหาศาลมาก ๆ หากอยากรู้ว่าเราเสียดุลไปเท่าไหร่ เงินไหลออกไปเท่าไหร่ ดูได้จาก รายงานระบบการชำระเงินประจำปี ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะมีการขอข้อมูลจากธนาคารต่าง ๆ เพื่อทำการรวบรวมซึ่งมีออกมาทุกปีและเป็นข้อมูลที่ดีมาก

ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถสรุปได้ว่าทุกวันนี้มีคนไทยจ่ายเงินออกไปต่างประเทศเท่าไหร่ และหากสามารถ (แต่จะผิดขั้นตอนหรือ privacy หรือไม่) บอกได้ว่าจ่ายออกไปยังท็อปเท็นของกลุ่มบริษัทต่างประเทศที่คนไทย เช่น Google ฯลฯ จะทำให้เราเริ่มเห็นอะไรบางอย่างด้วยเหมือนกัน อย่างน้อยข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราตั้งรับอะไรบางอย่างได้ 
 
เรื่องของ data เป็นเรื่องสำคัญมาก เมื่อเราเห็น data เราจะเริ่มมาวางกลยุทธ์ได้ว่าจะทำอะไรต่อไป ตอนนี้สรรพากรเองพยายามจะทำกฎหมายตัวหนึ่งที่ว่าธุรกิจใดก็ตามเมื่อมีรายได้จากคนไทยจะต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย โดยได้มีการคุยกันมาสักระยะหนึ่งและได้มีการทำประชาพิจารณ์ออกมาแล้ว

ผมเห็นด้วยกับกฎหมายนี้เพราะแนวโน้มคนไทยเริ่มจ่ายเงินออกไปนอกประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ หากมีกฎหมายตัวนี้เกิดขึ้นบริษัทต่าง ๆ ที่อยู่ในต่างประเทศก็จะต้องมาเสียภาษีในประเทศไทยให้ถูกต้อง หรืออาจเชิญให้บริษัทเหล่านั้นให้มาตั้งบริษัทในประเทศไทยหรือในเขต EEC มาจ้างแรงงานคน และเอาองค์ความรู้เข้ามาในประเทศไทย เพื่อทำให้ธุรกิจโตมากขึ้นแต่โตในประเทศไทย รายได้ก็มาลงบันทึกในประเทศไทย 

ภาพจาก  pixabay.com
 
การขาดดุลการค้าดิจิทัลยังไม่ถูกยกขึ้นมาเป็น issue ของประเทศสักที ตอนนี้เรากำลังส่งเสริมเศรษฐกิจหลาย ๆ อย่าง แต่ในแง่ของดิจิทัลเราก็พยายามเป็นไทยแลนด์ 4.0 เพียงแต่ว่าเราสร้างนักรบดิจิทัลออกมาไม่เพียงพอ และข้อมูลที่เรามีอยู่ก็น้อยไป

ท่านใดที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องนี้และอยากลองทำข้อมูลตรงนี้ หากสนใจผมยินดีจะร่วมมือ ผมว่าตรงนี้สำคัญมากเพราะตอนนี้เศรษฐกิจมุ่งเข้าสู่ดิจิทัลมากขึ้น เงินนับหมื่นนับแสนล้านกำลังไหลเข้าสู่ดิจิทัล แต่ดิจิทัลนั้นไม่มีพรมแดน

ฉะนั้นเราต้องรู้ว่าเงินไหลออกไปด้วยดิจิทัลเท่าไหร่ และในขณะเดียวกันมันไหลกลับเข้ามาในประเทศผ่านดิจิทัลของไทยเท่าไหร่ด้วย และพอเมื่อเรารู้ทั้ง inbound และ outbound แล้วก็จะสามารถนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ต่อไปได้
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
749
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
501
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
425
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
416
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด