บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การตลาดออนไลน์ SEO
1.4K
2 นาที
14 กุมภาพันธ์ 2562
แบงก์ไทยจะทำ E-Marketplace รอดหรือร่วง?
 

 
เมื่อไม่นานมานี้แบงก์ชาติได้ประกาศอนุญาตให้ธนาคารไทยทำธุรกิจเกี่ยวกับ e-commerce ได้ เพื่อสู้กับการเข้ามาของยักษ์ใหญ่จากจีนอย่าง Alibaba และ JD.com ซึ่งรู้กันดีว่าบริษัทต่างชาติเหล่านี้มีความเข้มแข็งในเรื่อง e-commerce อย่างมากและบุกเข้ามาในธุรกิจการเงินแล้วด้วย

บริษัทหล่านี้กำลังจะกลายเป็นภัยคุกคามสำหรับธนาคารไทยในอีกไม่ช้า การบุกเข้ามาของธุรกิจต่างชาติเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจดั้งเดิมอย่างธนาคารสู้ไม่ได้อย่างแน่นอนหากยังทำอย่างเดิม เพราะธุรกิจ e-commerce เหล่านี้มีฐานข้อมูลของลูกค้ามากกว่าธนาคารและล้วนเป็นข้อมูลในเชิงลึก ทั้งยังมีข้อมูลของฝั่งผู้ประกอบการ marketplace อีกเป็นจำนวนมาก งานนี้แบงก์ชาติจึงต้องรีบยื่นมือมาช่วยบรรดาธนาคารของไทยในการสู้ศึกครั้งนี้ให้ได้ งานนี้หากใครยังไม่รีบปรับตัวก็น่าเป็นห่วงอย่างมาก
 
ธุรกิจ e-commerce ของจีนนั้นได้ฉีก business model มาทำธุรกิจแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น e-commerce, e-payment ฯลฯ ในกลุ่มยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba กลุ่ม JD.com และกลุ่มของ Tencent มีการสร้าง ecosystem ที่มีทุกอย่างครบถ้วนในตัวเอง สร้างความน่าวิตกอยู่หลายประการ เช่น กลุ่มของ Alibaba ที่ซื้อ Lazada แล้วนั้นตอนนี้น่าจะเชื่อได้ว่ามีฐานข้อมูลผู้ใช้ e-commerce ในประเทศไทยมากที่สุด และยังเข้าไปลงทุนใน Ascend (ทรูมันนี่) อีก 20% ยิ่งเพิ่มความสามารถที่จะบุกเข้าไปในส่วนของ payment ได้ง่ายมากขึ้น

 
ภาพจาก goo.gl/qbtakm

นอกจากนั้นกลุ่มของ JD.com ได้มีการเข้ามาลงทุนใน e-commerce, e-financial และ e-logistics แล้ว เมื่อกลุ่มเหล่านี้เข้ามาบุกธุรกิจในไทย ที่สุดแล้วสิ่งที่ทุกกลุ่มต้องการก็คือการเอาข้อมูลจากธุรกิจมาใช้ในแบบบูรณาการและเอามาวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคว่าเป็นอย่างไร จากนั้นคงเริ่มมีการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มคนทั่วไปซึ่งเป็นธุรกิจที่ใหญ่ทีเดียวและในกลุ่มของผู้ประกอบการในโลกออนไลน์ ซึ่งการปล่อยกู้ในธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็น เพราะ e-marketplace นั้นจะรู้เรื่องการหมุนเวียนของเงินไม่ว่าจะเป็นการเข้าหรือออกของแต่ละธุรกิจที่อยู่ใน marketplace ทั้งหมด
 
ดังนั้นการมาของกลุ่มเหล่านี้และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจึงทำให้ธนาคารไทยต้องปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลต่อรายได้ของธนาคารแน่นอน ฉะนั้นธนาคารจึงควรต้องมีช่องทางที่จะให้บริการลูกค้าบนแพลตฟอร์ม e-commerce ได้เอง โดยเฉพาะบรรดาผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้ว แทนที่บรรดา SMEs หรือบริษัทห้างร้านต่างๆ

ซึ่งเป็นผู้ผลิตจะต้องไปหาตลาดขายเองก็ให้เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มของธนาคารที่มีบริการให้ครบวงจร และธนาคารเป็นผู้โปรโมทเรียกคนให้เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการใน marketplace เอง ความได้เปรียบของธนาคารนั้นอยู่ตรงที่มีฐานข้อมูลของลูกค้าอยู่ในมือ เพียงแต่ทำอย่างไรให้ลูกค้าเดิมเข้ามาอยู่ในช่องทางการขายของธนาคารหรือ marketplace ของตนให้ได้ ซึ่งจุดนี้จะช่วยให้ธนาคารมีข้อมูลของธุรกิจได้เกือบครบวงจร และยังทำให้มีข้อมูลที่จะสามารถต่อยอดธุรกิจต่อไปคือการนำเสนอบริการที่ดีอื่นๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น 
 
การตัดสินใจของแบงก์ชาติครั้งนี้นับว่าทันการณ์และรวดเร็ว ในสภาวการณ์เช่นนี้ที่เกมการแข่งขันไม่ใช่เกมของธุรกิจ e-commerce รายย่อยหรือแค่ผู้ประกอบการในไทยเท่านั้น การอนุญาตของแบงก์ชาติครั้งนี้นับว่าเป็นการยกระดับและทำให้มองเห็นกลุ่มคนที่มีความพร้อมที่จะสู้กับกลุ่มธุรกิจต่างชาติได้ชัดเจนมากขึ้น การที่ธนาคารจะเข้ามาสู้ในสนามนี้ถึงแม้ว่าระยะแรกอาจดูเป็นธุรกิจที่ไม่ทำกำไรในทางตรงแต่ในทางอ้อมธนาคารจะได้ข้อมูลลูกค้ามากขึ้น อย่างน้อยก็เป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้ธนาคารสามารถรับมือกับผู้ให้บริการจากต่างชาติได้ จะเห็นว่าตอนนี้มีบางธนาคารได้ลงมือทำล่วงหน้าไปแล้ว 

ภาพจาก goo.gl/pJE54z
 
ทางออกที่ดีที่พอจะมองเห็นในเวลานี้คือธนาคารไทยหันไปจับมือกับ e-marketplace ของไทยเราเอง ซึ่งดูจะลงตัวมากทีเดียว และควรรีบทำก่อนที่ marketplace ในไทยจะตายจากไปมากกว่านี้ การที่แบงก์ชาติตัดสินใจครั้งนี้จะส่งผลให้ยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศเริ่มหันมาสนใจธนาคารมากขึ้น ธนาคารขนาดใหญ่น่าจะได้เตรียมตัวกันไปแล้ว ส่วนธนาคารที่ยังไม่ได้เตรียมพร้อมในเรื่องนี้ การร่วมมือกับ local marketplace เป็นทางออกที่น่าสนใจและดูว่าจะได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ส่วนข้อดีในฝั่งของบริษัทหรือ SMEs ไทยก็จะมีตัวเลือกมากขึ้น เพราะมีแพลตฟอร์มที่เป็น e-marketplace ของไทยเองที่มีความเข้าใจในธุรกิจด้วยกันดีอยู่แล้ว และสุดท้ายฝั่งของผู้บริโภคก็จะมีตัวเลือกที่มากขึ้นผลจากการแข่งขัน e-commerce ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในประมาณกลางปีหรือปลายปีนี้น่าจะมีผู้ให้บริการ e-marketplace เพิ่มมากขึ้นอีกหลายรายเลยทีเดียว
 
การอนุญาตในครั้งนี้จะทำให้ธนาคารขยับขยายออกมาสู่ธุรกิจใหม่ สามารถเพิ่มศักยภาพจากเดิมที่ทำอยู่แต่ในประเทศจะสามารถขยายออกไปในระดับ Global Business ได้ จากธุรกิจที่เป็นธนาคารมาเป็น non-bank จึงเป็นอะไรที่น่าจับตามองมากทีเดียว เชื่อว่าธนาคารคงต้องมีการดึงคนที่มีประสบการณ์จริงๆ ในด้าน e-commerce เข้าไปช่วย ซึ่งสมาคมทางด้านอีคอมเมิร์ซต่างๆ และผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซทั้งหลายน่าจะพร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือ 
 
การประกาศของแบงก์ชาติครั้งนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการ e-commerce ไทยและจะช่วยให้ e-commerce ไทยโตเร็วมากขึ้น จากนี้ไปการแข่งขันของ e-commerce จะรุนแรงมากขึ้นๆ ในทางกลับกันผู้บริโภคเองก็จะได้ประโยชน์มากขึ้น เงินมหาศาลที่ส่งเข้ามาในธุรกิจออนไลน์จะเร่งให้ธุรกิจออฟไลน์ตายเร็วขึ้น ขณะนี้ทุกธุรกิจเข้าสู่ยุคการปรับตัวแม้แต่ผู้บริโภคเองก็ปรับตัวแล้วเช่นกัน ทุกอย่างกำลังปรับตัวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 จริงๆ ฉะนั้นใครก็ตามที่ยังไม่ปรับตัวเข้ามาสู่ออนไลน์คุณจะตายไปเร็วกว่าเดิม
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด