บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
11K
2 นาที
21 พฤษภาคม 2562
Situational Analysis หรือ การวิเคราะห์สถานการณ์อดีต
 

ภาพจาก https://bit.ly/2Wfx3p0

บทความนี้อยากจะคุยเรื่องการตลาดกันบ้างนะครับ Situational Analysis หรือ การวิเคราะห์สถานการณ์อดีต ปัจจุบัน หรือแม้แต่อนาคตก็จำเป็นอย่างมากในการจะออกแบบการตลาดให้กับธุรกิจของเราที่กำลังจะเริ่ม หรือ กำลังจะพัฒนาต่อยอด และเราคงเคยได้ยินคำว่า SWOT Analysis ที่มีทั้งสภาวะแวดล้อมภายในองค์การและสภาวะแวดล้อมภายนอกองค์กร เพื่อให้รู้จุดอ่อนและจุดแข็งขององค์กรเราเสียก่อน ก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจ 
                                          
อีก 1 กลยุทธ์ ที่เราเรียกว่า Ansoff Matrix เป็นเครื่องมือสำหรับรวางแผนเชิงกลยุทธ์และใช้เป็นกรอบแนวคิดสำหรับช่วยนักการตลาด ในการวางแผนกลยุทธ์จัดเป็นเครื่องมือ 1 ตัวที่จะเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เรามาทำความรู้จักกันหน่อย

Ansoff Matrix ได้มาจากชื่อของผู้พัฒนาแนวคิดชาวรัสเซีย-อเมริกัน Mr.Igor Ansoff ในปี ค.ศ. 1957  และได้ตีพิมพ์บทความ โดยให้คำนิยามสำหรับกลยุทธ์สำหรับสร้างผลิตภัณฑ์ทางการตลาด การออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการ   โดยแบ่งเป็น 4 ช่องทาง ในการสร้างความเติบโตของสินค้าและตลาดได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ 
 
1.Market Penetration

 
ภาพจาก https://bit.ly/2VP7trC

การแข่งขันในตลาดเก่า ที่ยังคงใช้สินค้าเก่าในการทำตลาด อธิบายเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น คือ การแข่งขันในจุดเดิมๆที่ไม่ได้มีอะไรใหม่ในตัวของสินค้า ตลาดเดิมที่มีลูกค้ากลุ่มเดิม ซึ่งอาจจะมีการแชร์ตลาดกับเจ้าอื่นอยู่แล้ว เมื่อไม่ปรับปรุงสินค้าก็ต้องไปปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น เพื่อขายให้ได้มากขึ้น ลดต้นทุนเพื่อให้มีกำไรสูงขึ้น 
 
2.Product Development

การแข่งขันตลาดเก่าแต่เป็นสินค้าใหม่ คล้ายกับแบบที่ 1 มาก แต่เป็นการเพิ่มสินค้าใหม่หรือจากการพัฒนาสินค้าเก่าให้ดีขึ้น เพิ่มรสชาติใหม่มากขึ้นเปลี่ยนรูปแบบของสินค้าให้ทันสมัยมากขึ้น สร้างกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น ปรับราคาสินค้าสูงขึ้น ก็ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างที่เราเห็นบ่อยๆ เช่น ยาสระผมออกสูตรใหม่ มาม่าออกรสชาติใหม่ เป็นต้น

3.Market Development

 
ภาพจาก https://bit.ly/2WWczia

สินค้าเดิม สร้างตลาดใหม่ๆ การขยายลูกค้าให้มากขึ้น อาจจะเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ เป็นสินค้าทางเลือกให้กับกลุ่มสินค้าที่คล้ายกันก็ย่อมทำได้ การขยายจากตลาดเดิม จากตลาดค้าปลีก ไปตลาดค้าส่ง หรือการสร้างตลาดจากตัวแทนในการจัดจำหน่ายก็ย่อมทำได้ รวมถึงการขยายไปขายยังประเทศเพื่อนบ้านก็ย่อมทำได้ ถ้าเรามีกำลังการผลิตที่มากพอและเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาด

4.Diversification

สินค้าใหม่ที่ต่างจากเดิม แต่ใช้องค์ความรู้เก่าในการสร้างธุรกิจใหม่และตลาดกลุ่มใหม่ๆ อาจจะทำได้ดีมากกว่าเดิมก็ย่อมเป็นไปได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมเดิมอิ่มตัว จากประสบการณ์เดิม เห็นช่องทางใหม่ก็เป็นอีก 1 แนวทางที่จะสร้างสินค้าใหม่ในตลาดที่แตกต่างไปจากเดิม เราอาจจะเรียกว่าการสร้างสินค้าหรือธุรกิจที่มี นวัตกรรม ก็ได้ เพราะการสร้างนวัตกรรมต้องมาจากความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และที่สำคัญต้องทำกำไรได้ด้วย เมื่อเราเข้าใจรูปแบบของสินค้าและตลาดของธุรกิจเรามากขึ้นก็จะทำให้เราวางแผนด้านการตลาดได้ง่ายขึ้น
 
เครื่องมือทางด้านการตลาดยังมีอีกหลายตัวที่น่าศึกษาและน่าสนใจที่ต้องเรียนให้รู้ไว้บ้างเพราะมันเสมือนการตรวจสอบว่าเรายังคงขาดอะไรในการทำด้านการตลาดอยู่หรือเปล่า
 
อย่างเรื่องของ Product หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องเลือกใช้ ส่วนประสมทางการตลาด เรามักจะคุ้นกับศัพท์ที่ว่า Marketing Mix Strategy อย่าง 4P and 4C เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าของเรา
 
บทความต่อไปจะนำตัวอย่างของ 4P  ที่ใช้กับสินค้า 7P ที่ใช้กับงานบริการมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เกิดแนวคิดด้านการตลาดที่กว้างขึ้นครับ
 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด