บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
3.8K
2 นาที
1 มิถุนายน 2555
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ผลกระทบต่อเอสเอ็มอีไทย

“ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”ยังคงเป็นปัจจัยความเสี่ยงทางด้านสาธารณสุขของโลก ที่อยู่นอกเหนือการคาดหมาย สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะเข้าไปอยู่ในรายชื่อลำดับที่ 31 ของประเทศที่มีการตรวจพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่ไม่พบการแพร่ระบาด และหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องก็มีการควบคุมอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในหลายประเทศ นับว่าเป็นปัจจัยที่ซ้ำเติม นอกเหนือจากหลากหลายปัจจัยลบที่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีต้องเผชิญอยู่ โดยเฉพาะผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีบางรายในไทยมีผลประกอบการย่ำแย่ลงไปอีก โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และธุรกิจที่อิงกับผู้ใช้บริการที่เป็นชาวต่างประเทศ เช่น ธุรกิจศัลยกรรมความงาม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีธุรกิจเอสเอ็มอีบางธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

องค์การอนามัยโลกระบุว่าในวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 มีผู้ติดเชื้อ 13,398 รายใน 46 ประเทศ และมีผู้เสียชีวิต 95 คน หลังจากพบผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 รายในเม็กซิโก ขณะเดียวกันก็พบว่ามีผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีก 444 รายในช่วงหนึ่งวันที่ผ่านมา ในจำนวน 444 รายนั้น มีถึง 367 รายที่เกิดขึ้นในเม็กซิโก ทำให้ยอดรวมถึงผู้ติดเชื้อในประเทศที่เป็นต้นตอของการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์2009 แห่งนี้ เพิ่มเป็น4,541 รายแล้ว ส่วนประเทศอื่นๆที่พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือออสเตรเลีย ที่เพิ่มขึ้นวันเดียว 20 ราย ทำให้ยอดรวมเป็น 39 คน ขณะที่อาร์เจนตินา พบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 14 คนและยอดรวมอยู่ที่ 19 ราย นอกจากนี้ บาห์เรนและสิงคโปร์ เป็น 2 ชาติล่าสุดที่รายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัส  เอช1เอ็น1 รายแรกของประเทศ

องค์การอนามัยโลกกำลังพิจารณาที่จะเพิ่มระดับเตือนภัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เป็นระดับสูงสุด ซึ่งหมายความว่ามีการระบาดใหญ่ทั่วโลก ทั้งนี้จากการระบาดต่อเนื่อง ทำให้องค์การอนามัยโลกขอให้คณะนักวิทยาศาสตร์ช่วยสร้างความชัดเจนของหลักเกณฑ์ที่จำเป็นในการประกาศยกระดับเตือนภัยดังกล่าว ท่ามกลางความวิตกว่าการตอบสนองขององค์การอนามัยโลกจะก่อให้เกิดความตื่นกลัว และความวุ่นวายเกินจำเป็นไปทั่วโลก

“ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีไทยในหลากหลายธุรกิจ ดังนี้

ธุรกิจท่องเที่ยว คาดว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นปัจจัยซ้ำเติมธุรกิจท่องเที่ยวของไทย หลังจากที่มีหลากหลายปัจจัยลบกดดันธุรกิจท่องเที่ยว โดยจะส่งผลให้ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยในปี 2552 มีแนวโน้มถดถอยลงจากปี 2551 รุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทยในปี 2552 จะมีจำนวนประมาณ 11-12 ล้านคน ลดลงร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับปี 2551 และรายได้ด้านการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะลดลงเหลือเพียง380,000-400,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.0 เมื่อเทียบกับปี 2551 ทั้งนี้อาจจะต้องติดตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อย่างใกล้ชิดต่อไปด้วย

ดังนั้น ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งปรับตัว นอกเหนือจากการลดแลกแจกแถม และการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อรักษาเงินหมุนเวียนที่มีอยู่ให้ได้นานที่สุด โดยผู้ประกอบการควรเร่งนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวแนวใหม่ๆเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะการปรับแผนการตลาดที่หันมาเน้นคนไทยและกลุ่มคนต่างชาติที่ทำงานในไทยมากขึ้นและสร้างโอกาสในการขยายตลาดโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตลาดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเพื่อการแต่งงาน/ฮันนีมูน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวเพื่อการผจญภัย เป็นต้น

นอกจากจะเป็นการสร้างมูลค่าให้แก่กิจกรรมในการเดินทาง สถานที่การท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และแหล่งช้อปปิ้ง ที่มีให้เลือกในรูปแบบที่หลากหลายแล้ว ยังเป็นแนวทางในการนำเสนอสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกันออกไปได้อย่างเหมาะสมด้วย ขณะเดียวกันยังเป็นทางเลือกใหม่ๆที่น่าจะสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคในยุคที่พฤติกรรมนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติต่างหันมาเน้นความคุ้มค่าคุ้มราคาได้บ้างพอสมควร
 
นอกจากนี้  ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระบาดหลายประเทศทั่วโลกส่งผลกระทบกับตลาดคนไทยเที่ยวต่างประเทศในเดือนพฤษภาคม 2552 เนื่องจากคนไทยไม่กล้าเดินทางออกนอกประเทศ เพราะกลัวจะติดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเอง และไปแบบหมู่คณะ ยกเลิกการจองแพ็กเกจท่องเที่ยวมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่จะเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง ยกเลิกการจองแพ็กเกจท่องเที่ยวสูงถึงร้อยละ 80-85 คาดการณ์ว่าในช่วงไตรมาส 3 การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศน่าจะชะลอลงต่อเนื่อง

แม้ว่าช่วงดังกล่าวไม่ใช่ฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศน้อยอยู่แล้ว คาดว่าปี 2552 นี้จะน้อยกว่าเดิม โดยคาดว่าจะลดลงอีกประมาณร้อยละ 15 ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวต่างหวังว่าในช่วงปลายปีที่คาดการณ์กันว่าสถานการณ์ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะบรรเทาลง ซึ่งจะทำให้คนไทยหันมาสนใจไปเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงมีการปรับกลยุทธ์โดยการใช้ราคาจูงใจ เช่น เสนอขายแพ็กเกจราคาพิเศษลดถึงร้อยละ 40-45 เป็นต้น
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด