บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
5.1K
2 นาที
1 มิถุนายน 2555
SMEกับการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)

การสร้างมาตรฐาน เป็นกลไกสำคัญสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันในระดับประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะโครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้าที่ผลิตของชุมชน ที่ผู้ประกอบการจำนวนมากเห็นประโยชน์ที่จะได้รับเพราะเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกและทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน มผช. เพราะเชื่อถือในคุณภาพที่ได้มาตรฐาน และผลทางการตลาดที่ตามมาก็คือเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจในระยะยาว

เป็นที่ยอมรับกันว่า สมอ. หรือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานที่เป็นสื่อกลางที่มีบทบาทโดยตรงให้เกิดการสร้างมาตรฐาน และมีนโยบาย แผนงานเพื่อพัฒนา ส่งเสริมภาคเอกชน วิสาหกิจชุมชน ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวม และมีอีกหลายหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างมาตรฐานชุมชน ณ. ที่นี้จะขอกล่าวถึงอีกหนึ่งหน่วยงานที่ผู้ประกอบการส่วนมากไม่รู้จัก คือ ศูนย์ประกันคุณภาพอาหารและห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารและเครื่องดื่ม แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานภาครัฐ ที่สนับสนุนการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่แตกต่างจากหลายหน่วยงานของภาครัฐ

โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบทางการเกษตรแก่ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและกรมสรรพสามิต ให้การรับรองเป็นหน่วยงานวิเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร ในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถส่งผลิตภัณฑ์เข้าตรวจวิเคราะห์ได้อย่างครบวงจร นอกจากการตรวจวิเคราะห์ ผู้ประกอบการยังสามารถขอคำแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา นับเป็นข่าวดีของผู้ประกอบการที่ต้องการยกระดับมาตรฐานสินค้า โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตรที่กลุ่มผู้ผลิตขนาดเล็กไม่ได้คำนึงถึงการสร้างมาตรฐานมากนัก และมักเกิดปัญหาการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน และเกิดผลตามมาคือผลิตสินค้าแล้วไม่สามารถทำการตลาดได้

นับวันมาตรฐานสินค้าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค เพราะการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันดูเหมือนจะละทิ้งคำว่า มาตรฐานไปไม่ได้ เพราะมาตรฐานเป็นเกณฑ์ที่ต้องมีเพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องสังเกตดูว่ามีอยู่ในข้าวของเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวันหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดตลาดให้สินค้าของประเทศอื่นเข้ามาแข่งขันมากขึ้นภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศคู่ค้า หรือ Free Trade Agreement (FTA) หากมีการทำความตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นปัญหาเรื่องมาตรฐานก็จะกลายเป็นปัญหาหลัก เพราะผู้ประกอบการจะมีคู่แข่งมากขึ้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นในการจัดทำมาตรฐาน จะเป็นมาตรฐานจากหน่วยงานไหนคงต้องขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่เชื่อมั่นในมาตรฐานของสินค้าบางชนิด ก่อนซื้อสินค้าและบริการทุกชนิดผู้บริโภคจะตรวจสอบมาตรฐานที่ออกโดยหน่วยงานต่างๆ ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น และจดจำตราหรือสัญลักษณ์มาตรฐานต่างๆ เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น มอก. ซึ่งถือเป็นมาตรฐานอ้างอิงที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสำหรับ

ผู้ประกอบการ ได้รับการยอมรับและเชื่อถือได้ มาตรฐาน GMP ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ดีในแง่ของการผลิตสินค้า แต่หากไม่มีการบังคับคุ้มครองให้ชัดเจน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็ไม่สามารถช่วยผู้บริโภคได้ ฉะนั้นเกณฑ์มาตรฐานต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้เข้มแข็งขึ้น ซึ่งปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคทั้งในประเทศและในตลาดโลก ได้หันมาให้ความสนใจกับเรื่องมาตรฐานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนทุกปี สังเกตได้จากได้มีเรื่องราวร้องทุกข์มากขึ้น

เพราะผู้บริโภครู้จักใช้สิทธินั้น หากมองในมุมผู้ประกอบการที่เห็นว่าการสร้างมาตรฐานให้สินค้าชุมชนเป็นการเพิ่มการขายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และเป็นการพิสูจน์ถึงคุณภาพสินค้าได้อีกระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีมาตรฐานการันตีคุณภาพสินค้าแต่ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งก็ประสบปัญหาในเรื่องการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูง ฉะนั้นการสร้างมาตรฐานของภาครัฐนั้นจะต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างกลไกทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการด้วย ปัจจุบันมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ขาดการเตรียมตัวเพื่อสร้างมาตรฐาน โดยผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่การปรับกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งต้องมีการคัดเฟ้นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ

รวมถึงการจัดทำบัญชีงบดุล งบกำไรขาดทุนให้ได้คุณภาพอีกด้วย เพื่อให้สามารถรักษามาตรฐานได้ตลอด และควรมีการตรวจดูสินค้าทุกๆ 3 เดือน เพื่อดูว่าสินค้ายังมีคุณภาพอยู่หรือไม่ เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการตรวจสอบมาตรฐาน อีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ประกอบการชุมชนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือการเผชิญกับคู่แข่งในระดับโรงงาน เพราะโรงงานสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่า ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้นผู้ประกอบการชุมชนควรมองหาวิธีพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อแข่งขันในตลาดสินค้าคุณภาพ และเพื่อสร้างมาตรฐานตั้งแต่ระดับชุมชน จนถึงระดับสากลเพื่อการส่งออกได้

มาตรฐานชุมชนจึงเป็นมาตรฐานแรกของการสร้างธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในระดับชุมชนในอีกทางหนึ่ง นอกจากนั้นการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ยังเป็นการสะสมคะแนนสำคัญในการประเมินผลในเวลาที่ผู้ประกอบการต้องการส่งผลงานเข้าประกวดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพราะการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นก้าวแรกในการที่จะทำให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมาตรฐานมองเห็นผู้ประกอบการรายนั้นได้ โดยหากผู้ประกอบการรายใดต้องการข้อมูลการสร้างมาตรฐานชุมชนเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ กองส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐาน โทร 02-202-3429

อ้างอิงจาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,681
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,319
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
520
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
520
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
462
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
434
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด