บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การตลาดออนไลน์ SEO
1.3K
1 นาที
28 สิงหาคม 2562
ค้าขายออนไลน์จากนี้ไปต้องทำอะไรบ้าง
 

ภาพจาก  pixabay.com

นอกจากต้องเตรียมตัวรับมือกับภาษีอีคอมเมิร์ซในปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นความโกลาหลกันอย่างแน่นอน เพราะเรียกว่าในทางปฏิบัติยังเป็นของใหม่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีการเผยแพร่ไปแล้วที่จะถูกนำมาใช้จริง โดยสถาบันการเงินจะรวบรวมจำนวนเงินการโอนทั้งเข้าและออกในบัญชี หรือจำนวนครั้งต่อหนึ่งธนาคาร ฯลฯ นำส่งแก่กรมสรรพากรตามกฎหมาย 
 
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือน่าจะมีคนทั้งแบบโวยวายแล้วไปปรับตัวทำให้ถูกต้อง บางคนอาจไปเปิดเป็นบริษัทซะให้สิ้นเรื่อง หรือจะมีคนที่แบบโวยวายแล้วก็หลบเลี่ยงหรือเลิกไปเลยก็น่าจะมี หากมองในแง่ดีจะได้มีการเริ่มวางแผนการจัดการภาษีที่เป็นระบบอย่างถูกต้อง เพราะหลายคนเองก็อยากจะทำให้มันดี ยิ่งทุกวันนี้มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเหลือในการทำบัญชีมากมายเต็มไปหมด 
 
คนทำธุรกิจในมุมออนไลน์จากนี้ถึงถึงสิ้นปีควรต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร
 
1. พึ่งแพลตฟอร์มเดียวไม่ได้


ภาพจาก  pixabay.com
 

ข้อมูลจาก ETDA การซื้อขายอีคอมเมิร์ซไปกระจุกตัวอยู่ที่โซเชียลมีเดียถึง 40% อยู่ที่มาร์เก็ตเพลส 30% และส่วนที่เหลืออยู่ในเว็บไซต์ของตน
 
ที่ผ่านมาบางมาร์เก็ตเพลสเริ่มมีการเก็บค่าคอมมิชชั่นแล้ว จากที่เมื่อก่อนไม่มีการเก็บเงินค่าใช้จ่ายใด ๆ  ที่เห็นคือ shopee มีการเก็บค่าคอมมิชชั่นแล้ว สำหรับ Lazada เท่าที่ได้คุยมานั้น ในฝั่งมาร์เก็ตเพลสยังไม่มีนโยบายเก็บค่าคอมมิชชั่นเพราะรูปแบบที่เป็นต้นแบบในจีนคือ Taobao ทุกอย่างยังขายฟรี ไม่เก็บค่าคอมมิชชั่น 
 
แต่สำหรับ LazMall ซึ่งเป็นช้อปปิ้งมอลล์ หรือต้นแบบในเมืองจีนคือ Tmall มีการเก็บค่าคอมมิชชั่น เพราะแบรนด์ต่าง ๆ สามารถจ่ายค่าคอมมิชชั่นได้อยู่แล้ว เพราะสมัยก่อนแบรนด์ยังต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นหรือค่าวางสินค้าตามดีพาร์ทเมนต์สโตร์อย่างต่ำก็ 25-40%  แต่เมื่อมาอยู่ในออนไลน์ที่มีค่า fee ที่ต่ำกว่ามากทำให้แบรนด์มีต้นทุนที่ต่ำลงกว่าเดิม 
 
การขายในมาร์เก็ตเพลสของผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก ที่ไม่มีการเก็บคอมมิชชั่นตามโมเดล C2C ก็เพราะรายได้ของเขาจะมาจากการโฆษณาเป็นหลัก Lazada ประเทศไทยน่าจะกำลังทำในลักษณะเช่นเดียวกับ Taobao จะเห็นได้ชัดว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
 
แม้แต่การขายในโซเชียลคอมเมิร์ซก็มีการเปลี่ยนแปลงมากเช่นกัน จากที่คิดว่าการไลฟ์ขายของในเฟซบุ๊กจะสามารถเข้าถึงคนได้มาก แต่กลับเป็นว่ามีอัตราการเข้าถึงคนต่ำลง นี่แหละครับความน่ากลัวของการพึ่งแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งมากเกินไป
 
2. ต้องเริ่มบาลานซ์พอร์ต


ภาพจาก  pixabay.com

ต้องวางสัดส่วนว่าจะไปช่องทางใดบ้าง แค่ช่องทางใดช่องทางหนึ่งไม่ได้อีกแล้ว หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นมาเราไม่สามารถควบคุมได้เองทั้งหมด เป็นอันตรายต่อธุรกิจ มีความเสี่ยงสูง รายได้อาจลดลงทันที 
 
จากนี้ไปควรต้องมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าเป็นของตัวเองโดยไม่พึ่งจากแพลตฟอร์มอื่น และต้องมีการทำการตลาดกับลูกค้าของเราเองโดยไม่ผ่านมาร์เก็ตเพลสหรือโซเชียลมีเดีย การมีช่องทางของตัวเอง มีข้อมูลของตัวเองคือการสร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้กัยธุรกิจของคุณ เพราะคุณจะเป็นคนที่บริหารจัดการได้เองทั้งหมดจริง ๆ
 
ต้องเริ่มแล้วครับ ทั้งหมดที่กล่าวมา การเริ่มต้นอาจไม่ง่ายแต่เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของคุณ ถ้าเริ่มเร็วคุณก็จะรอดเร็วด้วยเช่นกัน
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด