บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    บัญชี ภาษี
2.3K
3 นาที
22 ตุลาคม 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ภาษีความเค็ม


มีภาษีความหวานไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงภาษีความเค็มกันบ้าง นี่คือเรื่องร้อนในสังคมที่คนพูดถึงกันมาก หลังจากที่กรรมสรรพสามิต มีแนวคิดเก็บ “ภาษีความเค็ม” ทันทีที่มีข่าวนี้ก็เกิดกระแสทั้งในแง่วิจารณ์ บ้างก็สนับสนุนว่าเป็นแนวคิดที่ดี www.ThaiFranchiseCenter.com เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่อาจจะยังไม่เข้าใจความเป็นมาของเรื่องนี้อย่างแท้จริงเราจึงจัด10เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ภาษีความเค็มมาฝากกัน
 
1. นโยบายกึ่งสุขภาพที่ภาครัฐเตรียมจัดให้
 
ทันทีที่มีข่าวนี้กระแสวิจารณ์ตามมามากมาย บ้างก็ว่าเป็นมาตรการหาเงินของรัฐบาล บางก็ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจบางแห่ง แต่อย่างไรก็ดีในมุมของภาครัฐมองว่าภาษีความเค็มแม้จะเป็นภาษีตัวใหม่ที่เตรียมจะมีขึ้นแต่เป้าหมายไม่ใช่เรื่องรายได้แต่นี่คือ “นโยบายกึ่งสุขภาพ” ที่ภาครัฐอยากจะส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น และการจัดเก็บภาษีความเค็มไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นแต่เป็นการกำหนดให้ผู้ประกอบการลดการใช้โซเดียมให้น้อยลงกว่าเดิม
 
2. สถิติชี้ชัดคนไทย “กินเค็ม”เกินมาตรฐาน


ภาพจาก bit.ly/2W1Ttre
 
ปัจจุบันไทยใช้เกณฑ์ใน 1 วัน ไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัม (มก.) ต่อวัน ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดค่าโซเดียมไม่เกิน 2,000 มก.ต่อวัน ซึ่งถ้าอิงตาม WHO ใน 1 วัน ควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 600 มก. ต่อมื้อ แต่ปัจจุบันคนไทยได้รับค่าโซเดียมเกินกว่า ที่ WHO กำหนด โดยได้รับโซเดียมถึงมื้อละ 1,000 โดยองค์การอนามัยโลก(WHO) ระบุว่า แค่ลดปริมาณโซเดียมในอาหารลง 20-30% ก็ลดปริมาณความเสี่ยงจากการเป็นโรค เช่น ไตวาย ความดัน ได้ถึง 30-40%”
 
3. 3 โรคอันตรายจากการทานเค็ม
 
ตามสถิติโรคในกลุ่ม NCDs ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด ซึ่ง โรคกลุ่ม NCDs หมายถึงกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง
 
โดยที่เกี่ยวกับการทานเค็มมากเกินมีถึง 3 โรคคือ โรคหัวใจขาดเลือด , โรคหลอดเลือดสมอง  และ โรคไตเรื้อรัง ซึ่งคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี และพบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเป็น 1,500,000 คน ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการบริโภคอาหารรสเค็ม ดังนั้นหากสามารถทำให้คนไทยลดการบริโภคเค็มลงก็จะลดความสูญเสียได้
 
4. ภาษีความเค็มช่วยลดงบประมาณด้านสุขภาพได้


ภาพจาก bit.ly/2P8Y75j
 
ผลพวงที่ต่อเนื่องกันหากจัดเก็บภาษีความเค็มจะทำให้คนไทยบริโภคเค็มน้อยลง ซึ่งจากข้อมูลระบุว่ารัฐบาลต้องสูญเสียเงินงบประมาณในเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อค่าใช้จ่ายล้างไต และฟอกเลือด ให้แก่ผู้ป่วยโรคไตประมาณ 200,000 บาทต่อคนต่อปี โดยมีผู้ป่วยโรคไตที่ทำการฟอกไตทั่วประเทศประมาณ 90,000 คน รวมเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี และหากเป็นโรคหัวใจร่วมด้วย จะเสียค่ายาความดันโลหิตอีกปีละประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี
 
นอกจากนี้ คนไทยยังเจ็บป่วยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ ร้อยละ 15 ต่อปี ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกปีละ 1-2 พันล้านบาทต่อปี การจัดเก็บภาษีความเค็มจะช่วยลดงบประมาณด้านสุขภาพส่วนนี้และนำไปพัฒนาสุขภาพด้านอื่นได้มากขึ้น
 
5. โซเดียมที่ใช้ในอุตสากรรมมี 2 ประเภท


ภาพจาก bit.ly/2BJKWjz
 
โซเดียมที่นิยมใช้ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ โซเดียมที่ใช้ยืดระยะเวลาอาหารและสินค้า เช่น การถนอมอาหาร เป็นต้น คิดเป็นสัดส่วน 20% ของปริมาณโซเดียมที่ใช้ในปัจจุบัน และโซเดียมที่ใช้ปรุงรสชาติ 80% ของปริมาณโซเดียมที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งกรมสรรพสามิตจะจัดเก็บภาษีที่ใช้ปรุงรสชาติที่ทำให้เกิดความเค็มเท่านั้น เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใส่ลงในอาหารหรือสินค้าก็ได้ ส่วนการถนอมอาหารจะไม่มีการเก็บภาษี เพราะ ใช้โซเดียมปริมาณน้อย
 
6. สินค้าใดบ้างจะโดนภาษีความเค็ม


ภาพจาก bit.ly/2p2xKDv
 
เบื้องต้นกำหนดเก็บภาษีความเค็มจากปริมาณโซเดียม (เกลือ) ที่ใช้ปรุงรสชาติ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยเฉพาะรสเผ็ด ขนมขบเคี้ยว ผงปรุงรส เป็นต้น ส่วนน้ำปลา ซีอิ๊วจะไม่ถูกจัดเก็บภาษี เพราะถือเป็นเครื่องปรุงรส สำหรับธุรกิจชุมชนที่มีการใช้ความเค็มเพื่อการถนอมอาหาร เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม ปลาจ่อม กะปิ น้ำบูดู เหล่านี้ถือว่า "ไม่เข้าข่าย" ที่จะต้องเสียภาษีความเค็ม รวมถึงสินค้ากลุ่มเครื่องปรุง เช่น น้ำปลา เกลือ ซีอิ๊วขาว และร้านค้าข้าวแกง อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ก็จะไม่เสียภาษีด้วย
 
7. ขอความร่วมมือ สตรีทฟู้ด ในการลด “ปริมาณความเค็ม”


ภาพจาก bit.ly/32CFc6U
 
การจัดเก็บภาษีความเค็มจะไม่กระทบผู้ค้ารายย่อย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือบรรดาอาหารสตรีทฟู้ดที่มีจำนวนมากและเป็นร้านอาหารที่คนไทยโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการร้านเหล่านี้อย่างน้อย 1 มื้อต่อวัน แม้จะไม่โดนภาษีความเค็มแต่ภาครัฐก็ขอความร่วมมือให้ปรุงอาหารเค็มน้อย และขอให้มีฉลากเตือนข้างบรรจุภัณฑ์อย่างน้ำปลาหรือซีอิ้ว ถึงอันตรายจากการบริโภคเค็มมากเกินไป คล้ายกับฉลากบุหรี่หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหลาย
 
8. ต่างประเทศก็มีการเก็บ “ภาษีความเค็ม”


ภาพจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
 
ในต่างประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และมีการกำหนดข้อตกลงต่างๆ ซึ่งนอกจากมาตรการทางภาษีแล้วยังมีมาตรการอื่น ๆ ที่ใช้ในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ มีกฎหมายกำหนด "ฉลากแบบ สัญญาณไฟจราจร" ใช้กับส่วนผสม 4 ชนิด คือ น้ำตาล ไขมัน ไขมันอิ่มตัวและเกลือ แบ่งเป็น "สีเขียว" คือมีปริมาณน้อย "สีเหลือง (หรือส้ม)" คือมีปานกลาง และ "สีแดง" คือมีปริมาณมาก ให้ผู้บริโภคเห็นได้ชัดเจน เป็นต้น
 
9. ตัวอย่างดีๆของการเก็บภาษีความเค็มในต่างประเทศ


ภาพจาก bit.ly/2MYQM5E
 
ยกตัวอย่างในฮังการี เริ่มเก็บภาษีความเค็มในสินค้าประเภท "ขนมขบเคี้ยว-เครื่องปรุงรส" มาตั้งแต่ปี 2554 พบว่า ประชาชนลดปริมาณการบริโภคลง ร้อยละ 20-35 ส่งผลให้ในเวลาต่อมาบรรดาผู้ผลิตต้องปรับสูตรอาหารให้ลดปริมาณโซเดียมลงด้วยเพราะไม่ต้องการจ่ายภาษีดังกล่าว หรือแม้แต่ ประเทศในยุโรปอย่าง โปรตุเกส ก็เริ่มใช้มาตรการนี้ในปี 2561 โดยรัฐบาลโปรตุเกสเริ่มร่างแผนจัดเก็บภาษีจากอาหารและขนมที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เวเฟอร์ บิสกิต อาหารที่มีซีเรียลเป็นส่วนประกอบ รวมถึงมันฝรั่งแห้งหรือทอดด้วย
 
10. อัตราการเก็บภาษีความเค็ม “ชัดเจนปลายปี 2562” 


ภาพจาก bit.ly/33QBRkF
 
กรมสรรพสามิต ระบุว่า อัตราการเก็บภาษีความเค็มยังอยู่ระหว่างการเร่งศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการขยายฐานการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าความเค็ม เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ โดยจะมีการเก็บภาษีตามสัดส่วนของความเค็ม หรือปริมาณโซเดียม หากเค็มมากก็จะเสียภาษีในอัตราสูง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเสนอการคลังให้พิจารณาได้ภายในสิ้นปี2562 นี้และภายหลังที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ จะมีระยะเวลา 1-2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ปรับตัว
 
ถ้ามองเรื่องนี้ 2 มุมด้านหนึ่งก็คือเหตุผลด้านสุขภาพที่ดูน่าเชื่อถือว่าคนไทยทานเค็มกันมากเกินไปทำให้เกิดโรคต่างๆ การมีภาษีความเค็มจึงเป็นเรื่องดีที่จะทำให้คนไทยมีสุขภาพดีขึ้น ในขณะที่ความเห็นอีกด้านมองว่าการเก็บภาษีความเค็มจะไปทำให้สินค้าอย่างขนมกรุบกรอบ ปลากระป๋อง ที่เป็นอาหารง่ายๆของคนรายได้น้อยมีราคาสูงขึ้น มองมุมนี้เหมือนเป็นการผลักภาระมาให้ประชาชน แต่ไม่ว่าจะเลือกมองมุมไหนสิ่งสำคัญคือการทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส ตรงไปตรงมา ถ้าทำเพื่อสุขภาพคนไทยจริง ต้องการให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นจริง เชื่อว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2E885O9
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด