บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
6.2K
4 นาที
17 กันยายน 2555
การปรับโครงสร้างภาคการผลิตเพื่อรับ AEC
 
ปัจจุบันโลกแห่งการค้ามีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลของแต่ละประเทศได้มีการทำข้อตกลงการค้าขายระหว่างประเทศให้มีความ เป็นเสรีมากขึ้น กฎระเบียบ ภาษีที่เปรียบเสมือนกำแพงที่ปกป้องผู้ประกอบการในประเทศก็ถูกผ่อนปรน มีการเคลื่อนย้าย สินค้า การบริการ การลงทุนและเงินทุนระหว่างประเทศ กลายเป็น โลกเศรษฐกิจที่ไม่มีพรมแดน อย่างไรก็ดี การเปิดการค้าเสรีให้ผลทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อเศรษฐกิจไทย โดยผลในด้านบวก อาทิ การขยายตลาดการค้าในประเทศคู่สัญญา โอกาสการขยายการลงทุน และการรองรับการลงทุนจากประเทศคู่สัญญา อย่างไรก็ดี ผลด้านลบจากการเปิดการค้าเสรี เช่น สินค้าที่ผลิตในประเทศต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงจากสินค้านำเข้า เนื่องจากกำแพงภาษีสินค้าบางประเภทถูกปรับลดลง หรือยกเลิก ส่งผลให้สินค้านำเข้าอาจมีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ เป็นต้น 
 
และภาวะดังกล่าวนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยและธุรกิจให้ต้องปรับตัว อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของโลกการค้า ยังคงไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เห็นได้จากนโยบายของภาครัฐที่มีแผนการที่จะเจรจาการค้าเสรีกับอีกหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่จะมีผลต่อธุรกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญในช่วงระยะเวลา อันใกล้นี้ คือ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ภายใต้วัตถุประสงค์ “ตลาดและฐานการผลิตเดียว หรือ Single Window” ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคให้มีความเข้มแข็งขึ้น และเพิ่มอำนาจต่อรองในเวทีเศรษฐกิจโลก 
 
สำหรับการรวมตัวเป็น AEC จะช่วยเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทยในการที่จะขยายการลงทุนออกไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้คล่องตัวขึ้น จากกฎระเบียบการลงทุนที่ถูกผ่อนคลายลงสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการขยายฐานตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น 
 
แต่ AEC ก็จะมีผลต่อการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย อาทิ ในด้านของการแข่งขันการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติให้เข้าไปตั้งฐานการผลิตสินค้า การแข่งขันในสินค้าสำเร็จรูปจะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะด้านของราคา เนื่องจากกำแพงภาษีการนำเข้าสินค้าได้ถูกยกเลิกลงไปหลายประเภท ทำให้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งปรับกระบวนการผลิตสินค้าให้ได้ประสิทธิภาพ มีต้นทุนที่สามารถรองรับการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงขึ้น 
 
เร่งปรับยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน......รองรับ AEC
 
การปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป ทั้งในภาคเอกชนเอง และการสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐ 
 
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการธุรกิจได้มีการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าของตนเองให้มีประสิทธิภาพขึ้น อาทิ การนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้แทนกำลัง แรงงาน การปรับกระบวนการผลิตที่ซ้ำซ้อน โดยหาเทคนิคใหม่ๆ เข้ามาช่วย การเพิ่มประสิทธิภาพของกำลังแรงงาน จากการส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดเทรนนิ่งเพื่อหาวิธีการผลิตใหม่ที่สามารถ เพิ่มจำนวนผลผลิตต่อคนให้สูงขึ้น และการหาพันธมิตรเครือข่ายในการผลิต เป็นต้น 
 
ขณะเดียวกัน ท่ามกลางทิศทางราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว ประกอบกับสภาพการแข่งขันที่บีบคั้นมากขึ้น ก็ทำให้ ธุรกิจจำเป็นต้องปรับโครงสร้างด้านต้นทุนเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตให้แข่งขันได้ โดยการปรับระบบการผลิตและการขนส่งให้สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง หรือหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล 
 
การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายเหล่านี้ เป็นไปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเองให้สามารถดำรงอยู่ท่ามกลางสภาวะการแข่งที่มิใช่แต่ เพียงภายในประเทศ แต่เป็นการแข่งขันที่กว้างไกลในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก 
 
 
 
สำหรับผลิตภาพแรงงานของไทยในภาคการผลิต พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ดีขึ้น แม้ว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 ที่ผ่านมา ผลิต ภาพแรงงานของไทยจะปรับลดลง แต่มีสาเหตุมาจากผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ซึ่งโรงงานหลายแห่งยังไม่กลับมาฟื้นตัวดีนัก 
 
 
 
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในวันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ก็อาจมีผลต่อการที่ผู้ประกอบการจะหันมา พึ่งพาเครื่องจักรกล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณารายงานของ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ของ ไทยปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของโรงงานหลายแห่งที่ก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา 
 
อย่างไรก็ดี การปรับโครงสร้างการผลิตยังคงต้องมีการปรับตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะแวดล้อมและเงื่อนไขการทำธุรกิจมีการปรับ เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะภาวะความกดดันจากภายนอกประเทศ จากโลกการค้าที่มีความเป็นเสรี มีความเชื่อมโยงระหว่างประเทศภายใต้ข้อกำหนด กฎเกณฑ์การค้าการลงทุนที่ผ่อน คลายลง แต่ขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนในตัวเอง เช่น ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ระหว่างประเทศ เช่น FTA ระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น FTA ระหว่าง ไทย-จีน FTA ระหว่าง ไทย-ออสเตรเลีย และ FTA ระหว่าง ไทย-นิวซีแลนด์ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การลดภาษีศุลกากรโดยครอบคลุมการเปิดเสรีด้านสินค้า บริการและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกให้เหลือน้อยที่สุด หรือ ไม่มีภาษี (ร้อยละ 0.0) และใช้อัตราภาษีปกติกับประเทศนอกคู่สัญญา ปัจจุบันการทำสนธิสัญญาการค้าเสรีมิได้กระทำกับเพียงประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ประเทศไทยได้มีการทำข้อตกลง การค้าเสรีกับหลายประเทศและหลายกลุ่มประเทศ เช่น การทำสนธิสัญญาระหว่าง อาเซียน-จีน การทำสนธิสัญญาระหว่าง อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียน+3 (จีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) และอาเซียน+6 (จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) เป็นต้น 
 
สำหรับข้อผูกพันทางการค้าและการลงทุนที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อภาคธุรกิจไทย คือ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ซึ่ง AEC นี้ นอกจากจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งและโอกาสในการทำธุรกิจให้กับกลุ่ทผู้ประกอบการไทยแล้ว แต่ก็ได้กลายมาเป็นปัจจัยท้าทายใน การทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย 
 
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันนั้น พบว่า มีความคล้ายคลึงกันอยู่ระดับหนึ่ง คือ ประเทศ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม พึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ การเติบโตของเศรษฐกิจมาจากการขับเคลื่อนในภาคการอุตสาหกรรมและบริการ 
 
 
 
อย่างไรก็ดี มีประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แตกต่างจากประเทศอื่น เช่น บรูไน และสิงคโปร์ ที่โครงสร้าง เศรษฐกิจจะเน้นไปยังภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เนื่องจากภูมิประเทศไม่เอื้อต่อกิจกรรมด้านเกษตรกรรม ขณะที่กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม โครงสร้างเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มภาคเกษตรกรรม 
 
 
 
สำหรับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เมื่อพิจารณาผลิตภาพแรงงานต่อคน พบว่า ประเทศไทยอยู่ อันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยผลิตภาพของไทยจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 เหรียญสหรัฐฯต่อแรงงาน 1 คนซึ่งสูงกว่าภาพรวมของอาเซียนก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ และมาเลเซียแล้ว ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ไทยระยะยาว โดยในส่วนของหน่วยงานภาครัฐมีประเด็นท้าทายหลายประการในการที่จะเร่งวางแผนในเชิงนโยบายจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการที่จะเข้ามาสนับสนุน อาทิ 
 
  • การปรับยุทธศาสตร์นโยบายการส่งเสริมการลงทุน โดยมีนโยบายที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และ กระบวนการผลิตที่มีนวัตกรรมใหม่เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย ขณะเดียวกันส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการลงทุนในกระบวนการผลิตที่มีคุณค่าสูง (High-Value Product) พึ่งพาการใช้เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต เพื่อลดอัตราการพึ่งพิงกำลังแรงงาน ประกอบการผลิตสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูง มากกว่าการผลิตสินค้าที่มีคุณค่าต่ำ ที่ต้องเผชิญการแข่งขันที่สูง โดยเฉพาะการแข่งขันในด้านราคา 
  • การปรับยุทธศาสตร์ด้านแรงงาน ทั้งนี้กำลังแรงงานเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ แม้ว่าจะมีการรณรค์ให้ผู้ประกอบการหัน มาใช้เครื่องจักรในการผลิตสินค้า แต่สำหรับงานบางประเภทจำเป็นต้องพึ่งพากำลังแรงงาน สำหรับประเด็นเรื่องแรงงานที่เป็นปัญหาสั่งสมมานาน คือ การขาดแคลนแรงงานในกลุ่มแรงงานที่มี ทักษะเฉพาะ หรือ Skilled Labour ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากกำลังแรงงานที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับตำแหน่งงาน 
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง จากรายงานของ สำนักงานพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ต้นทุนค่าขนส่งไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 15.2 (ตัวเลขล่าสุด ณ ปี 2553) ขณะที่สิงคโปร์มีสัดส่วนอยู่อที่ประมาณร้อยละ 8.0 มาเลเซียอยู่ที่ประมาณร้อยละ 12.0 และเวียดนามอยู่ที่ประมาณร้อยละ 19.0 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ดังนั้น รัฐบาลไทยคงต้องเร่งพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง เช่น ถนน ระบบ รถไฟรางคู่ ท่าเรือ และสนามบิน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในระบบการขนส่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งแนวโน้มพลังงานมีการปรับตัวสูงขึ้นในระยะข้างหน้า 
ขณะที่ภาคเอกชนคงจะต้องมีการปรับกระบวนการผลิต ซึ่งนอกเหนือจากการปรับในเรื่องของสมรรถนะในด้านแรงงาน การปรับเทคนิคการผลิต และการมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเสริมในด้านของประสิทธิภาพในการผลิตแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า การปรับโครงสร้างการผลิตสามารถมองได้ 2 กรณี ได้แก่ 
 
  • การสร้างความเข็มแข็งของอุตสาหกรรมในประเทศ คือ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรการผลิตที่พึ่งพาห่วงโซ่การผลิตในประเทศเป็นหลัก เพื่อ สร้างความเข็มแข็งในอุตสาหกรรมการผลิตของไทยและสร้างความเชื่อมโยงในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • การสร้างความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน คือ นอกเหนือจากการพึ่งพาห่วงโซ่ในประเทศผู้ผลิตก็อาจจะต้อง สร้างความเชื่อมโยงห่วยโซ่การผลิตระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ จากต่างประเทศ อาจต้องหันมามองวัตถุดิบในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ขณะเดียวกันก็อาจมีการว่าจ้างการผลิตสินค้าในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนำกลับมาประกอบในไทย ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 
     
บทสรุปและข้อเสนอแนะ 
 
การปรับโครงสร้างการผลิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็น เพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพและสามารแข่งขันได้ โดยเฉพาะเมื่อภาวะแวดล้อมรอบตัวในการดำเนินธุรกิจนั้นถูกปรับเปลี่ยนไปตามปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งการปรับโครงสร้างผลิตของไทยนั้น ไม่เพียงแต่เพื่อการรองรับ AEC เท่านั้น แต่ควรจะเป็นการปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย 
 
สำหรับกระบวนการปรับโครงสร้างการผลิตนั้น คงต้องอาศัยการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ทั้งจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผน นโยบายในการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาทางโครงสร้างการผลิตให้มีประสิทธิภาพ อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการขนส่งสินค้าทั้งในและนอกประเทศ การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การดำเนินนโยบายในเรื่องของภาษีเข้ามาจูงใจในกลุ่มที่มีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ตามเป้าหมาย เช่น การผลิตสินค้าที่มีคุณค่าสูง มีการใช้เทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้ นโยบายการส่งเสริมการลงทุนควรปรับให้ทันต่อสถานการณ์ โดยให้ความสำคัญกับสาขากิจการที่มีศักยภาพการเติบโตในอนาคตข้างหน้า และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น แทนการกระจุกตัวเฉพาะผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในระยะข้างหน้า 
 
ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็มีโจทย์ที่ต้องเร่งปรับตัวและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน อาทิ การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตของตน ให้สูงขึ้น มีความทันสมัย โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ๆ ซึ่งช่วงนี้นับเป็นจังหวะที่ดีที่ผู้ประกอบการไทยจะสามารถได้รับประโยชน์จากค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลง (เนื่องจากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในประเทศยูโร) ในการที่จะซื้อเครื่องจักรใหม่ที่มีประสิทธิภาพจากยุโรปเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งในกระบวนการผลิตในราคาที่ถูกลง นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังคงต้องมองหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีศักยภาพทางธุรกิจในอนาคต การกระจายกลุ่มลูกค้าให้หลากหลาย และหลากผลิตภัณฑ์ เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาลูกค้ารายใดรายหนึ่งมากเกินไป นอกจากนี้การมองหาเครือข่ายพันธมิตรในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

อ้างอิงจาก  KSMECare
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด