บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    หน่วยงาน องค์กร ทางด้านเทคโนโลยี
1.8K
2 นาที
7 เมษายน 2563
เทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อป้องกันและดูแลในช่วง COVID-19
 
ต้องบอกว่าประเทศไทยสามารถนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการติดตามสถานการณ์นี้ ต่างชาติอย่างไต้หวัน ออเดรย์ ถัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลก็มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ที่ผ่านมาผมได้ทำแผนขึ้นมาตัวหนึ่งที่ว่าหากประเทศไทยจะใช้ออนไลน์ในการติดตามต้องใช้อะไรบ้าง ปรากฏว่าทางกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นจึงมีโอกาสเข้าไปนั่งคุยถึงวิธีการว่าควรจะทำอะไรบ้าง
 
ที่ผ่านมาหลายคนวิตกกันมากในช่วงระยะที่ 2 คือการติดต่อจากคนที่กลับมาจากต่างประเทศ หากเราสามารถติดตามเฝ้าระวังคนเหล่านี้และรู้ได้ว่าเขากักตัวเองอยู่บ้าน 14 วันจริงหรือไม่ แต่ละคนไปเที่ยวที่ไหน ฯลฯ เป็นเรื่องที่ควรทำ ผมจึงเสนอไปที่กระทรวงสาธารณสุขว่าจริง ๆ เรามีวิธีการที่ติดตามได้ง่าย รวดเร็ว และทำได้ทันที ไม่จำเป็นต้องทำเป็นแอปพลิเคชันหรืออื่น ๆ เพราะมีเครื่องมืออยู่แล้วบนโลกออนไลน์ เช่น 
 
1. Google Map


ภาพจาก marketingoops

ที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้ น้อยคนที่จะรู้ว่า Google Map นั้นสามารถ add เป็นเพื่อนกันได้และสามารถให้สิทธิ์มองเห็นเราได้ตลอดเวลา นั่นหมายถึงเราสามารถบอกให้คนที่กลับมาจากต่างประเทศมาลงทะเบียนชื่อในแอคเคานท์กลางแอคเคานท์หนึ่ง เมื่อเขาจะไปที่ไหนหรืออยู่บ้านก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะทราบว่าคนคนนั้นอยู่ที่ไหนบ้าง นี่เป็นวิธีที่สามารถทำได้ทันที ไม่ยุ่งยาก และฟรีด้วย
 
2. แอปพลิเคชัน


ภาพจาก bit.ly/2RdLfLq

วิธีนี้มีความท้าทายมากขึ้น ผมได้ไปคุยกับทาง NSTDA หรือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งกำลังจะทำแอปพลิเคชันขึ้นมาเพื่อติดตามผู้ป่วย ผมคิดว่าเป็นสิ่งดีที่น่าทำ เพราะการทำเป็นแอปพลิเคชันขึ้นมาจะสามารถ track ได้เลยว่าคนคนนั้นไปไหนมาไหนมาบ้าง เข้าพื้นที่ใดบ้า สามารถทำได้หมด ผมคิดว่าจะช่วยได้เยอะทีเดียว
 
3. การร่วมมือกับบรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ


ภาพจาก freepik

นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุด ไม่ต้องลงแอปพลิเคชันใดเลย แต่ค่อนข้างเป็นวิธีที่มีความสุ่มเสี่ยง วิธีการคือสมมติมีคนเข้ามาในประเทศเรา เช่น มาจากอิตาลี แทนที่จะต้องไปลงแอปพลิเคชันให้ยุ่งยาก ก่อนที่เขาจะเข้ามาประเทศไทยหากมีการเปิดโรมมิ่งก็ให้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ก่อน 
 
หรือเมื่อจะไปซื้อเบอร์โทรศัพท์ของโอเปอเรเตอร์ค่ายใดก็ตามก็ต้องใช้พาสปอร์ตในการลงทะเบียนซิม ฉะนั้น โอเปอเรเตอร์หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจะรู้ตำแหน่งของคนคนนั้น โดยการใช้เสาสัญญาณโทรศัพท์ จะสามารถ track ได้หมดไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ฉะนั้นจะสามารถติดตามได้ทุกคน ไม่ต้องลงแอปฯ แค่รู้เบอร์โทรศัพท์ของแต่ละคนเท่านั้นเอง
 
เรายังไม่ค่อยมีการพูดถึงตรงจุดนี้มากเท่าใดนัก ผมจึงนำเรื่องนี้ไปเสนอกับทางกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งก็เข้าใจว่าส่วนใหญ่จะเป็นคุณหมอจึงค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ ยิ่งเมื่อได้ไปร่วมนั่งในวอร์รูมจึงเห็นว่ามีอะไรมากมายเต็มไปหมดเลย หลายคนอาจจะมองว่าเรื่องแค่นี้ทำไมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงคิดไม่ได้ แต่เมื่อไปอยู่ตรงนั้นจริง ๆ บอกได้เลยว่ามันมีอะไรประเดประดังกันเข้ามาจนบางครั้งอาจทำให้คิดไม่ทันก็ได้ จริง ๆ ก็ต้องเห็นใจเขานะครับ 


ภาพจาก bit.ly/2yIuPo9
 
จริง ๆ ยังมีเทคโนโลยีอีกหลายตัวทีเดียวที่สามารถกำหนดให้ติดตามได้ อันหนึ่งคือเทคโนโลยีที่จีนเริ่มใช้คือแอปพลิเคชัน Alipay ที่ชื่อ Health Code ใช้ในการยืนยันตัวตนว่าตอนนี้สุขภาพของคนคนนั้นเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ 
 
คนจีนทุกคนใช้ Alipay ในการชำระเงินอยู่แล้ว หากบังเอิญเดินเข้าไปในพื้นที่ที่เขาน่าจะมีการแบ่งโซนไว้ ตามปกติจะเป็นสีเขียวคือปลอดภัย เมื่อมีการเข้าไปในโซนระบาดหรือมีโอกาสสุ่มเสี่ยง ในมือถือหรือแอปฯ ก็จะกลายเป็นสีเหลืองหรือแดง ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าต้องไปกักตัวที่บ้าน  
 
ฉะนั้น การจะใช้ในระดับนี้ได้ก็เมื่อมีการขยายหรือกระจายตัวในระดับ 3 แล้ว เมื่อถึงระดับนี้เราคงต้องใช้มาตรการหลาย ๆ อย่างที่อาจดูรุกล้ำข้อมูลส่วนบุคคล แต่หากเราไม่ขอข้อมูลนี้ไว้แล้วปรากฏว่ามีคนที่เป็นโรคนี้และไปไหนมาไหนโดยที่ไม่มีใครรู้ ก็ถือเป็นเรื่องฉุกเฉิน ซึ่งเป็นความจำเป็นเหมือนกัน 
 
อีกเทคโนโลยีที่ใช้ได้เหมือนกัน เช่น หากวันนี้ผมป่วย จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อวานผมไปไหนมาบ้าง เราสามารถใช้ข้อมูลจากโอเปอเรเตอร์ track ได้ว่าเมื่อวานผมไปที่ไหนมาบ้าง ทำอะไร และสามารถบอกได้ว่าในที่นั้นมีคนอยู่รอบตัวผมกี่คน เพราะโอเปอเรเตอร์จะรู้หมดเลยจากเบอร์โทรศัพท์ของผมและเบอร์รอบตัวผมมีใครอยู่บ้าง 
 
หรือบางทีบนรถไฟฟ้าในขบวนเดียวกับผมมีเบอร์โทรศัพท์อยู่ราว 200 เบอร์ที่เคลื่อนตัวไปพร้อม ๆ กันเป็นระยะเวลา 15 นาทีตลอดการเดินทาง ก็จะรู้เลยว่าใครมีโอกาสสุ่มเสี่ยงโดยดูจากเบอร์โทรศัพท์ ฉะนั้น ภาครัฐสามารถร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ให้ยิง sms บอกคนเหล่านั้นได้ อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลบ้าง แต่นี่เป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับคนเหล่านั้นว่าอยู่บนรถไฟฟ้าคันเดียวกับคนที่เป็นโรค
 
ฉะนั้น เรามีเครื่องมือหลายอย่างในการติดตามคนจะใช้แอปพลิเคชัน หรือโอเปอเรเตอร์ หรือใช้เครื่องมือที่เรามีอยู่แล้วอย่าง Google หรือ Facebook ที่ track เราอยู่แล้วซึ่งเราสามารถไปดึงข้อมูลเหล่านี้มาได้ด้วยเหมือนกัน
 
ผมทำแผนเสนอเอาไว้สำหรับใครที่สนใจสามารถไปดูในเฟซบุ๊กของผมได้ที่ facebook.com/pawoot มี 5 ข้อง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ทันที เช่น ทำ Social Monitoring ดูว่าคนไทยพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง ทำระบบติดตามกลุ่มเสี่ยงซึ่งทำได้ทันที ฯลฯ 
 
นอกจากนี้ยังได้ตั้งกลุ่ม FB Group ชื่อ Thailand COVID19 Digital Group (TCDG) สำหรับคนทำงานด้านดิจิทัลที่เกี่ยวกับ COVID-19 เอาไว้สำหรับใช้กระจายข่าวสาร เพื่อจะได้ทำงานไม่ซ้ำซ้อน และไปในทิศทางเดียวกัน ใครที่มีเพื่อนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชวนมาช่วยกันได้เลยครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
797
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
711
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
524
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
443
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
431
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด