บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.2K
2 นาที
22 เมษายน 2563
จะกลับมามั้ย? เปิดท้ายขายของ ยุคหลัง COVID 19


 
นับเป็นเวลาถึงตอนนี้ก็ 3 เดือนกว่า นับแต่ต้นปีที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของ COVID 19 จากที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวและสถานการณ์ในประเทศไทยน่าจะ “เอาอยู่” แต่ถึงตอนนี้ ผลกระทบเป็นที่ชัดเจนแล้วว่ารุนแรงหนักที่สุดทีเดียว ไม่ใช่ในเรื่องของยอดผู้ติดเชื้อหรือเสียชีวิตที่ถือว่าเรายังโชคดีที่จำนวนคนติดเชื้อและเสียชีวิตถ้าเทียบกับประเทศอื่นถือว่าอยู่ในระดับที่น้อยกว่าชัดเจน แต่ผลกระทบด้านเศรษฐกิจอันนี้ชัดเจน

ภาพจาก bit.ly/2WWZIf2
 
ตัวเลขจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ผลกระทบในเมืองไทยอาจอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงความเสียหายอาจจะอยู่ในระดับ 500-700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1.56 - 2.18 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 0.09-0.13% ของจีดีพี ทั้งปีของไทย แต่นั่นคือเรื่องของตัวเลขที่คาดการณ์ ซึ่งในความเป็นจริงน่าจะหนักยิ่งกว่าเพราะนับแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาชัดเจนกับการประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่ขอความร่วมมือปิดสถานประกอบการ ห้างร้าน รวมถึงตลาดนัดและอีกหลายแห่ง

ภาพจาก www.facebook.com/Liabduan.nightmarket
 
จุดนี้เองที่ www.ThaiFranchiseCenter.com สั่นคลอนประชาชนระดับรากหญ้าอย่างมากโดยเฉพาะบรรดา พ่อค้า แม่ค้า ซึ่งก่อนหน้าที่ COVID 19 จะระบาดเราเห็นตลาดต่างๆ มีรถ มาเปิดท้ายขายของ ประชาชนพร้อมเดินจับจ่ายอย่างเนืองแน่น คำถามคือ หลังสถานการณ์ COVID 19  ผ่านพ้นไป เราจะมีโอกาสได้เห็นโฉมหน้าของการเปิดท้ายขายของในรูปแบบไหน หรือว่านี่จะเป็นจุดเปลี่ยนของสังคมไทยไปสู่ระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ
 
พ่อค้าแม่ค้าในตลาดได้รับผลกระทบ แค่ไหน?


ภาพจาก Thairath
 
หลายเสียงบ่นจากบรรดาพ่อค้า แม่ค้า ที่แม้จะทำใจยอมรับ และยอม “จบแต่เจ็บ” ด้วยการปิดร้าน ไม่ขายของ แต่เรื่องของรายจ่ายก็ยังมีต่อเนื่อง จากเมื่อก่อนที่รายได้หลักมาจากการขายของ ขายได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ยังพอให้ประทังชีวิต มีเงินไว้ซื้อข้าวกิน มีเงินไว้หมุนเวียนแต่นับตั้งแต่มีการปิดร้าน ตามที่ภาครัฐกำหนด กลายเป็นทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้า อย่างที่ตลาดประตูน้ำ จากที่เคยขายได้หลัก หมื่น รายได้หดหายมาเหลือวันละ1,000 กว่าบาท หรืออย่างร้านค้าในห้างสรรพสินค้าที่พอเปิดร้านไม่ได้ก็ต้องมาหาวิธีขายทางออนไลน์ จากที่เคยมีรายได้กว่าวันละ 20,000 บาท ก็กลายมาเป็นเหลือวันละไม่กี่พันบาท


ภาพจาก bit.ly/34T3dbR
 
ภาพรวมของตลาดระดับชาวบ้าน เช่น ตลาดนัด แม้จะยังเปิดดำเนินการได้ ไม่ได้ปิดเด็ดขาดแต่ผลกระทบก็ชัดเจนไม่แพ้กันอย่างที่ตลาดขวัญนรา จังหวัดนครศรีธรรมราช พ่อค้าแม่ค้าบอกว่าที่นี่คือตลาดเปิดท้ายขนาดใหญ่ มีพ่อค้าแม่ค้ามาเปิดท้ายขายของคนเดือนกันจำนวนมาก รายได้ดีในช่วงสถานการณ์ปกติ แต่พอมีประกาศปิดตลาด ที่นี่ก็เงียบเหงาและไม่มีคนมาเดินจับจ่ายใช้สอยผลกระทบหนักตกอยู่ที่พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้จากการขายของเป็นหลัก
 
หาก COVID 19 ผ่านพ้นไป สิ่งที่อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับ “การเปิดท้ายขายของ”


ภาพจาก bit.ly/2zgNMOJ
 
แน่นอนว่าด้วยความร่วมมือร่วมใจและ “เจ็บเพื่อจบ”ของคนทำธุรกิจที่กัดฟันยอมปิดกิจการชั่วคราวเพื่อให้การแพร่กระจายของ COVID 19 ผ่านพ้นไป แต่สิ่งที่ต้องยอมรับหลังจากนี้หากสถานการณ์คลี่คลายจะต้องมีสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามมาด้วย
 
1. Social Distancing
 
ภาพจาก www.facebook.com/Greendaynight/

คำนี้น่าจะอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปอีกนาน แม้สถานการณ์ COVID 19 จะผ่านพ้นไปในอนาคต คำว่า ระยะห่างทางสังคมจะถูกนำมาใช้กับการค้าขาย จากที่เคยเข้าไปมุงซื้อของกันชนิดไหล่ชนไหล่ หายใจรดต้นคอ หลังจากนี้คนในสังคมจะมีความรู้สึก social distancing กันมากขึ้น เพราะ COVID 19 ได้สร้างแผลในใจให้เราทุกคนเข็ดขยาดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้

2. ความสะอาดและหน้ากากอนามัย


ภาพจาก bit.ly/2Klx9nw
 
การเปิดท้ายขายของหากจะกลับมาก็ต้องคู่กับความสะอาดของร้านค้าเป็นสำคัญ ต่อจากนี้หากร้านค้าไหนดูไม่สะอาด ดูไม่น่าเดินเข้าไปหาซื้อสินค้า ลูกค้าส่วนใหญ่จะไม่กล้าเสี่ยงเพราะกลัวเรื่องการติดเชื้อ COVID 19 ที่ฝังใจ รวมถึงไอเท็มอย่างหน้ากากอนามัยจะกลายเป็นอุปกรณ์หลักที่พ่อค้าแม่ค้าเองก็ต้องสวมใส่ และลูกค้าเองก็ต้องสวมใส่ เชื่อว่าหน้ากากอนามัยจะยังต้องสวมใส่กันไปอีกนานทีเดียว

3. รูปแบบการขายเน้นเพิ่มออนไลน์มากขึ้น


ภาพจาก bit.ly/2RY0Uz4
 
แม้ภาพรวมหากสถานการณ์คลี่คลายคนทั่วไปจะพร้อมออกมาจับจ่ายใช้สอย แต่ในระยะที่มีการกักตัว หรืออยู่บ้าน ทำให้ช่องทางเดลิเวอรี่หรือการสั่งสินค้าออนไลน์ดูจะเติบโตเพิ่มมากขึ้น หลายแบรนด์เองได้หันมาทำตลาดด้านนี้กันมากขึ้น และนับต่อจากนี้ หากสถานการณ์ดีขึ้น คงไม่ใช่เรื่องดีหากจะทิ้งตลาดออนไลน์แล้วไปขายออฟไลน์เหมือนในอดีต เพราะช่องทางออนไลน์ถือเป็นหลักประกันแห่งอนาคตว่าหากมีสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก เราจะได้ไม่ต้องไปเริ่มต้นจากศูนย์ในการสร้างลูกค้าจากแพลตฟอร์มออนไลน์
 
4. สินค้าที่จะต้องตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น
 
ภาพจาก www.facebook.com/Carancientmarket

การเปิดท้ายหรือการขายของจากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าหลังสถานการณ์ COVID 19 คลี่คลายต้องหาสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ชัดเจน ประเภทสินค้าฟุ่มเฟือยจะถูกมองข้ามในช่วงแรก อันเนื่องมาจากผลกระทบด้านรายได้ที่หดหายไป คนจะมีกำลังซื้อน้อยลง ดังนั้นสินค้าที่ไม่จำเป็นจะไม่ค่อยมีคนสนใจผิดกับกลุ่มสินค้าที่สำคัญและจำเป็นคนจะให้ความสำคัญในการซื้อเป็นอันดับแรก

5. จับเอาสตอรี่ COVID 19 มาเป็นจุดขาย


ภาพจาก bit.ly/3axvCVP
 
เชื่อว่าหลังสถานการณ์ COVID 19  คลี่คลายจะต้องมีพ่อค้าแม่ค้าหัวไสที่หยิบเอากระแสของ COVID 19  มาเป็นจุดขาย เพื่อกระตุ้นให้คนสนใจและอยากซื้อสินค้า สิ่งสำคัญกับการใช้สตอรี่จาก COVID 19  คืออย่าใช้เรื่องนี้เป็นจุดขายมากเกินไปเพราะคนยังฝังใจกับ COVID 19  และคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะลืมเรื่องราวนี้ได้
 
ภาพรวมของสถานการณ์แพร่ระบาด COVID 19  ตอนนี้ถือว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่น้อยลงชัดเจน ยอดผู้เสียชีวิตเริ่มน้อยลง กราฟที่เคยพุ่งชันตอนนี้เริ่มอยู่ในแนวระนาบ แต่อย่างไรก็ดี COVID 19  ยังถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เรายังไม่รู้ต้นเหตุที่ชัดเจนและยังไม่มีวัคซีนป้องกันและรักษา ถ้ชะล่าใจและประมาทจนเกินไปจนกลับมาระบาดอีกครั้งความรุนแรงน่าจะหนักกว่าการระเบิดครั้งแรก ดังนั้นสังคมไทยจึงไม่ควรประมาทและระวังตัวในเรื่องนี้กันอยู่เสมอ
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ขอบคุณข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด