บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.8K
2 นาที
23 เมษายน 2563
ทำไม Work From Home ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน


 
ช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้คำว่า Work From Home มีการพูดถึงกันมาก จนกลายเป็นความเคยชินของผู้คนทั่วโลกในยุคโควิด-19 กันแล้ว ว่าแต่ Work From Home ซึ่งเป็นมาตรการให้พนักงานอยู่รอดปลอดภัยจากโควิด-19 ในช่วงการระบาด แต่ถ้าทำการ Work From Home ในช่วงเวลาสถานการณ์ปกติ จะเหมาะสำหรับทุกคนหรือไม่ หรือ ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ 
 
การระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสแรกที่ทำให้พนักงานออฟฟิศต่างๆ สามารถใช้ชีวิตและทำงานแบบ Work From Home ใช้ที่บ้านเป็นที่ทำงาน หรือ ใช้ชุดนอนเป็นชุดทำงาน ตื่นขึ้นมาลุกขึ้นจากที่นานก็ทำงาน อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ ในการทำงานจากที่บ้าน แต่รู้หรือไม่ว่า Work From Home หลายเดือน อาจเหมาะสำหรับหลายๆ คน แต่ไม่เหมาะสำหรับบางคน 


ภาพจาก bit.ly/3buscoo
 
ผลการวิจัยได้ระบุว่า Work From Home ทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าการทำงานในออฟฟิศ โดยคนที่ทำงานระยะไกลได้เปรียบคนที่เข้าออฟฟิศในหลายด้าน ทั้งการไม่ต้องเดินทางไกลกลับระหว่างบ้านและที่ทำงาน ทำงานอยู่บ้านจะออกกำลังกายได้มากกว่า มีช่วงเวลาพักเฉลี่ยนานกว่า และอยู่บ้านก็ยังทำงานได้เป็นจำนวนชั่วโมงที่มากกว่าด้วย
 
นอกจากนี้ การออกแบบออฟฟิศตามแบบฉบับของบริษัทเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เรียกกันว่า open-plan office ที่จับทุกคนมานั่งรวมกันในที่โล่งๆ ไม่มีฉากกั้น ไม่มีห้องแยก ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอีกด้วย อีกทั้งออฟฟิศแบบเปิดโล่งลดประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้คน introvert ทนทุกข์ และยังเสี่ยงต่อการแพร่และติดเชื้อโรคต่างๆ ด้วย


ภาพจาก bit.ly/2Krq70n
 
แม้จะมีข้อดี Work From Home มากมายเต็มไปหมด แต่ความคิดสร้างสรรค์และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่หายไปจากการทำงานระยะไกลเป็นสิ่งที่วัดค่าไม่ได้ง่ายๆ เพราะการทำงานอยู่ท่ามกลางเพื่อนร่วมงาน จะกระตุ้นให้เกิดการช่วยกันแก้ปัญหา ท้าทายความคิด ก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ บางครั้งการเดินสวนกัน และหยุดเพื่อพูดจาถามไถ่ ก็อาจจะทำให้ปิ๊งไอเดียอะไรบางอย่างขึ้นมา ในแบบที่ไม่ได้คาดหวังมาก่อนก็ได้ ซึ่งการสื่อสารกันในทีมผ่านโปรแกรมแชทไม่สามารถทำได้ดีเท่านี้


ภาพจาก บริษัท Rabbit Digital Group (Thailand)
 
นี่คือสาเหตุที่ทำให้บริษัทเทคโนโลยีหรือบริษัทที่พยายามปรับตัวเองให้ทันสมัย ต้องสร้างส่วนกลางเท่ๆ อย่างโต๊ะพูล ห้องเล่นเกม ไมโครคิท เช่น แพนทรี่ หรือคอมม่อนแอเรียขึ้นมา ก็เพื่อให้พนักงานสามารถเจอหน้ากันได้ตลอดเวลา เนื่องจากเชื่อว่าไอเดียส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นจากหน้าคอม แต่เกิดจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนและบทสนทนากัน 
 
คนที่ทำงาน Work From Home ต้องรู้สึกเหงา ลองคิดว่ามันจะน่าหดหู่สักแค่ไหน ถ้าหากคุณไม่ได้อ้าปากคุยกับใครเลยยกเว้นตอนเดินลงไปสั่งข้าวที่ร้านอาหารตามสั่งข้างใต้คอนโด ถ้าแชทผ่าน LINE หรือ Messenger พอช่วยประทังความเหงาได้บ้างแต่น้อยมาก และความเหงานั้นจะค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นอาการหดหู่ ซึมเศร้า ทันทีที่แสงจากพระอาทิตย์เริ่มน้อยลงๆ บางคนใช้ห้องนอนเป็นห้องทำงาน พอนั่งทำงานได้สักพัก ก็ล้มตัวลงนอนเอาดื้อๆ 


ภาพจาก bit.ly/2zoORnU
 
ดังนั้น การไปทำงานที่ออฟฟิศ ทำให้คุณได้ฝึกทักษะของการเป็นมนุษย์ในสังคม อย่างการแสดงความเห็นอกเห็นใจ การแสดงความยินดีต่อความสุขสำเร็จของคนอื่น หรือการมีอารมณ์ร่วมไปกับสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์ของคนที่คุณคุยด้วย
 
แต่หลายคนบอกว่า การทำงานอยู่บ้านในชุดอยู่บ้าน ทำให้ไม่มีอารมณ์อยากจะทำงาน ไม่สามารถทำงานได้อย่างจริงจังในชุดเสื้อกล้าม กางเกงขาสั้น แม้ว่าวันทั้งวันจะไม่ได้ออกไปไหน แต่ก็ต้องลุกขึ้นมาแต่งตัว สวมรองเท้า ให้เหมือนกับการออกไปทำงานนอกบ้าน หวีผมเล็กน้อย เหมือนเป็นการส่งสัญญาณที่คุ้นเคยให้สมองของคุณเข้าใจว่า ตอนนี้คุณกำลังเปลี่ยนจากโหมดการนอนบนที่นอนนุ่มๆ อยู่บ้าน มาเป็นพนักงานที่พร้อมจะทำงานอย่างเต็มที่ เหมือนกำลังนั่งอยู่ในออฟฟิศ
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
782
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
705
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
639
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
516
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
431
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด