บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    รีวิวหนังสือ สปอยหนัง
2.9K
1 นาที
14 กันยายน 2563
#รีวิวหนังสือ สำหรับหัวหน้าที่อยากให้ลูกน้องคิดเองเป็น
 

 
รีวิวหนังสือ สำหรับหัวหน้าที่อยากให้ลูกน้องคิดเองเป็น คนทำธุรกิจย่อมมีลูกน้องช่วยทำงาน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ลูกน้อง” เหล่านี้คือกำลังสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดีการเป็น “หัวหน้าที่ดี” ไม่ใช่แค่พอใจที่เห็น “ลูกน้อง” ทำงานไปวันๆ แต่หัวหน้าที่ดีต้องมุ่งหวังที่จะเห็นพัฒนาการที่ดีของลูกน้องด้วย นี่คือหนังสือสำหรับการเป็นหัวหน้าที่ดีที่จะสอนให้เราเข้าใจว่าการฝึกลูกน้องให้คิดเป็น นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง

คู่มือพื้นฐานของหัวหน้ามือใหม่ ที่กำลังมีปัญหากลุ้มใจในการดูแลลูกน้อง อยากให้ลูกน้องพัฒนา โดยเปลี่ยนจากมนุษย์รอคำสั่งให้รู้จักคิดเองเป็น 


 

ผู้เขียน: ชิโนฮาระ มาโคโตะ
ผู้แปล: ศุภภัทร พัฒนเดชากุล
 
บทที่ 1 "วิธีฝึกให้ลูกน้องคิดเองทำเองเป็น" มี 3 ขั้นตอนง่ายๆ

  • บอกลูกน้องว่ากำลังคิดอะไรอยู่
  • ปล่อยให้ลูกน้องคิดเองทำเอง
  • แม้ลูกน้องจะทำผิดพลอยก็ให้คิดว่า ช่วยไม่ได้
วิธีเรียนรู้เมื่อจำได้แล้วจะไม่ลืม ค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง จะทำให้เรื่องนั้นๆติดแน่นในความทรงจำ การที่ไม่มีใครสอนจะช่วยให้เราเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง
 
บทที่ 2 หลัก 6 ข้อของหัวหน้าที่ไม่ธรรมดา

  1. ห้ามคิดว่าพอมีลูกน้องแล้วจะสบาย
  2. หัวหน้าไม่จำเป็นต้องเก่งกว่าลูกน้อง
  3. ไม่ใช้อำนาจก็ไม่เป็นไร
  4. ห้ามบอกคำตอบ
  5. อย่าพยายามเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน
  6. ให้ลูกน้องทำงานโดยไม่ออกคำสั่ง
บทที่ 3 อะไรคือ "กลยุทธ์" ของหัวหน้า
 
  • โซ ชู โซกุ ยู คือ กระบวนการเรียนรู้
  • โซ จดจำให้เต็มที่
  • ชู ฝึกฝนซ้ำๆให้เชี่ยวชาญ
  • โซกุ ฝึกจนเชี่ยวชาญทำได้ง่ายเหมือนหายใจ
  • ยู เล่น นำความเชี่ยวชาญนั้นไปท้าทายสิ่งใหม่ๆ
 
วิธีสอนที่ผิด
  1. สอนเยอะเกินไปในครั้งเดียว
  2. ลงมือทำเองมากเกินไป
  3. สอนน้อยเกินไป
บทที่ 4 วิธีสอนลูกน้องตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานจนถึงปีที่ 3

เวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ของพนักงานใหม่อยู่ที่ 3 ปี และการสอนงานให้ลูกน้องคิดเองทำเองเป็นก็ควรจะอยู่ที่ 3 ปีเช่นกัน 1 เดือนแรก
  • ให้ลูกน้องทำความคุ้นเคย ไม่ใช่จำ
  • หัวหน้าไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง
  • อย่าคิดเอาเองว่าลูกน้องมีงานที่อยากทำ
  • ประชุมอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประชุมสั้นๆกับลูกน้องทีละคน
  • นิสัยที่หัวหน้าอยากให้ลูกน้องมีนั้นคือการจดบันทึก
  • หัวหน้าควรจะพูดอะไรกับลูกน้องในช่วงพัก หัวหน้าควรฟังมากกว่า
  • ลูกน้องไม่ได้มีไว้ทำงานแทนหัวหน้า
บทที่ 5 9 วิธีรับมือเมื่อเกิดปัญหา

  1. ถ้าอยากให้ลูกน้องตั้งใจมากขึ้นให้บอกว่า อย่าพยายามมากไปนะ
  2. วิธีคิดและวิธีบอกส่งงาน
  3. อย่าคาดหวังให้ลูกน้องทำงานโดยใช้พลังงานเต็มเปี่ยมตลอดเวลา
  4. วิธีคิดพื้นฐานในการตักเตือนลูกน้อง ควรตั้งคำถามไม่ใช่ตักเตือน
  5. เมื่ออยากให้ลูกน้องพยายามมากขึ้นควรพูดว่า พยายามได้ดีนะ
  6. กรณีที่หัวหน้าไม่มีเวลาสอนงานให้ หัวหน้าก็ไม่ควรเรียกร้องอะไร
  7. หากความสัมพันธ์ย่ำแย่ อย่างน้อยก็ควรมีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ
  8. เมื่อรู้สึกว่าลูกน้องไม่เหมาะกับงานให้หาจุดแข็งของเขา
  9. การคิดเชิงสมมุติฐาน ช่วยให้ลูกน้องเติบโตได้ต่อเนื่อง
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด