บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    รีวิวหนังสือ สปอยหนัง
2.2K
2 นาที
6 พฤศจิกายน 2563
#รีวิวหนังสือ อย่าปล่อยให้สิ่งของยึดโต๊ะทำงานคุณ

รีวิวหนังสือ อย่าปล่อยให้สิ่งของยึดโต๊ะทำงานคุณ หลายคนเข้าใจว่ายิ่งรกยิ่งหมายถึงว่าเราเป็นคนเก่ง ข้ออ้างมากมายของคนที่โต๊ะทำงานรกจนไม่รู้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน แต่เขาเหล่านี้มักจะบอกว่าเพราะมัวแต่ทำงานเลยไม่มีเวลาจัดโต๊ะ ซึ่งในความเป็นจริงหากไปดูโต๊ะทำงานของคนที่ประสบความสำเร็จจะสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วระหว่างโต๊ะที่รก กับโต๊ะที่เรียบร้อย แบบไหนคือคนที่ทำงานเก่งกว่ากัน หนังสือเล่มนี้จะพาทุกท่านไปเรียนรู้เรื่องที่ดูเหมือนจะเล็กน้อยแต่ความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนไม่เคยรู้
 
ผู้เขียน Tsuchihashi Tadashi (ทซึจิฮะชิ ทะดะชิ)
ผู้แปล นพัฒน์ หัทยานันท์
 
หนังสือ 195 บาท
หน้า 166 หน้า 
 
หมวด : ไลฟสไตล์ (Life Style)




 
ทำไมโต๊ะของคนที่ไม่เคยทำงานเกินเวลาถึงโล่ง สะอาด.. เพราะคนเหล่านี้รู้จักความลับของโต๊ะทำงานนั่นเอง โดยการจัดสิ่งของบนโต๊ะทำงานให้เหลือน้อยที่สุด (minimal) เช่น ลดจำนวนเครื่องเขียน ไม่เพิ่มพื้นที่เก็บของ หรือแยกพื้นที่ระหว่างสิ่งของที่ใช้ กับของที่ซื้อมาสำรอง เป็นต้น
 
เรากำลังพูดถึงการจัดโต๊ะทำงานให้ "มีสิ่งของน้อย แต่ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น" หลายคนอาจแย้งว่า โต๊ะทำงานรกๆ นี่แหละที่ช่วยกระตุ้นไอเดียเจ๋งๆ นั่นอาจเป็นกรณีเฉพาะสำหรับบางคนแต่ถ้าโต๊ะยังรกโดยที่ผลงานไม่ได้ดีไปด้วย ก็อาจเป็นสัญญาว่าถึงเวลาสะสางเอกสารที่กองสุมเป็นภูเขา คัดเลือกอุปกรณ์ทำงานที่ไม่จำเป็น (แต่ยังเก็บไว้เพราะคิดว่าสักวันคงได้ใช้) แล้วทิ้งหรือจัดการให้อยู่ถูกที่ถูกทาง คงจะดีไม่น้อยถ้าสิ่งของเหล่านั้นกลายเป็น "ตัวช่วย" ให้เราทำงานได้สะดวกขึ้น แทนที่จะเป็น "ภาระ" อย่างที่เราเคยคิดมาตลอด
 
"ทซึจิฮะชิ ทะดะชิ" ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอุปกรณ์เครื่องเขียน เปิดเผยความลับการจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานดังนี้ แยก "การนำมาใช้" กับ "การจัดเก็บ" ออกจากกันอย่างชัดเจน, ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องสับเปลี่ยนภายในหัว, สมุดแพลนเนอร์แบบรายเดือนที่ตามหามานาน, สรุปรายการสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดให้เหลือเพียงอย่างเดียว เคล็ดลับในหนังสือเล่มนี้จะช่วยปลดพันธนาการคุณออกจากสิ่งของและกองเอกสารทั้งปวง เริ่มตั้งแต่วันนี้ แล้วคุณจะตกใจกับผลลัพธ์จนไม่อยากเชื่อเลยแหละ!
 
บทที่ 1 สร้างระบบไหลเวียนกระดาษ เช่น เอกสาร สมุดโน้ต และนามบัตร


การจัดการเอกสาร
แยกเอกสารเป็น 4 กลุ่ม 
  • เอกสารที่ใช้งานจริง 
  • เอกสารสำหรับสแกน 
  • เอกสารสำหรับเก็บ
  • เอกสารที่จะนำไปทิ้ง
คอลัมน์จดหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
  • การจัดการสมุดโน้ต
  • แยกชิ้นส่วนสมุดโน้ตอย่างง่าย
  • สแกนอย่างรวดเร็ว
  • เช็กข้อมูลได้ด้วยความรู้สึกที่เหมือนพลิกหน้ากระดาษอยู่จริงๆ
  • การจัดการนามบัตร
  • สแกนอย่างรวดเร็ว
  • การจัดหนังสือและนิตยสาร
  • สร้างระบบการไหลเวียนให้กับหนังสือ
  • วิธีจัดการกับนิตยสาร
  • หนังสือและนิตยสารที่จัดการไม่ได้
  • ทิ้งสิ่งของได้อย่างง่ายดาย

บทที่ 2 มินิมัลลิสต์บนโต๊ะทำงาน

  • เปลี่ยนมาลดจำนวนอุปกรณ์ทำงานลง
  • เปลี่ยนออฟฟิศให้มินิมัล
  • ไม่เพิ่มพื้นที่ให้เก็บของ
  • คอลัมน์ เปลี่ยนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีแต่เอกสารเหมือนกับโต๊ะทำงาน
  • แยก การนำมาใช้ กับ การจัดเก็บ ออกจากกันอย่างชัดเจน
  • หยิบกระดาษโน้ตได้ทันที
  • เปลี่ยนโต๊ะทำงานให้เป็นที่นั่งประจำการ
  • คอลัมน์ ตรวจเช็คโต๊ะทำงาน
  • สร้างออฟฟิศด้วยอุปกรณ์จากอิเกีย
  • ประยุกต์พื้นที่แคบๆ ให้ดูกว้างขึ้น
  • เปลี่ยนเก้าอี้ไปตามลักษณะงาน
  • เมื่อซื้อสิ่งของมาแล้วต้องรับผิดชอบต่อของชิ้นนั้นด้วย
  • ฟังก์ชันเดี่ยว ที่ช่วยขัดเกลาตัวเอง
  • สิ่งของฟังก์ชันเดี่ยว ช่วยให้จดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้
  • สมุดโน้ต&ปากกา อุปกรณ์สำหรับคิดงาน
  • หน้ากระดาษที่ปลดปล่อยความคิดได้อย่างอิสระ
  • พื้นที่แนวนอนช่วยขยายความคิดให้กว้างขึ้น
  • ใช้ปากกาหัวแหลมขนาด 0.7 มิลลิเมตรที่มีเส้นหนาเล็กน้อยเวลาคิดงาน
  • แสดงความรู้สึก

บทที่ 3 บริหารเวลาแบบมินิมัลลิสต์
 
  • ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องสับเปลี่ยนภายในหัว
  • อุปกรณ์จัดตารางเวลาของผม
  • สมุดแพลนเนอร์แบบรายเดือนที่ตามหามานาน
  • รับรู้ได้ถึงเวลาที่มีอย่างจำกัด
  • ประยุทธ์ใช้สมุดแพลนเนอร์แบบรายเดือนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ไม่กลัวพื้นที่ว่างอีกต่อไป
  • สรุปรายการสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดให้เหลือเพียงอย่างเดียว
  • วิธีใช้งานของคุณทซึจิฮะ ทะดะชิ
  • ความรู้สึกอุ่นใจจากการรวบรวมสิ่งต่างๆไว้ในที่เดียว
  • สถานที่เก็บรักษาสมุดรวบรวมรายการสิ่งที่ต้องทำ
  • รับมือกับงานชิ้นใหญ่แสนยุ่งยากได้ง่ายขึ้น
  • แยกขั้นตอนการทำงานทำงานทีละขั้นตอนอย่างละเอียดเท่าที่จะทำได้
7 ขั้นตอน เขียนต้นฉบับให้เสร็จ
  1. สรุปประเด็นหลัก
  2. เขียนแบบร่าง (ด้วยมือ)
  3. พิมพ์ออกมาเป็นตัวหนังสือ
  4. เกลาเนื้อหาครั้งที่ 1
  5. เกลาเนื้อหาครั้งที่ 2
  6. เสร็จสมบูรณ์
  7. ส่ง
ยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบ เหลือจำนวนรายการสิ่งที่ต้องทำในหนึ่งวันน้อยลง ความแตกต่างระหว่างโน้ต แบบทำรายการ กับ แบบหน้าปัดนาฬิกา ความรู้สึกอุ่นใจที่ได้ทำสิ่งนี้ในตอนนี้
 
วิธีใช้ของผม คอลัมน์มดกับตั๊กแตนที่อยู่ข้างในตัวเรา ตารางงานในตำแหน่งงานที่คงที่คอลัมน์ คิดถึงเรื่อง การคิด
 

บทที่ 4 ชีวิตส่วนตัวสไตล์มินิมัลลิสต์


จะให้ความสำคัญกับช่วงเวลาไม่ Input และไม่ Output สร้างความว่างเปล่าในหัว จดบันทึกลงสมุดแม้ในเวลาเป็นส่วนตัวสมุดบันทึกจิ๋ว ฟังก์ชันแจ๋ว ไม่กลับมาอ่านอย่างที่คิดไว้
  • บันทึกฉุกเฉิน
  • ไปดื่มคนเดียว
  • อ่านหนังสือทีละ 1 เล่ม
  
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
531
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด