บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
992
2 นาที
27 พฤษภาคม 2567
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
 

ถ้าพูดถึงผู้ผลิต กับ พ่อค้าคนกลาง เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าเป็นเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ชาวประมง แต่จริงๆ แล้ว ผู้ผลิตมีมากมายหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน วิสาหกิจชุมชนต่างๆ หรือแม้แต่...ก็ถือว่าเป็นผู้ผลิต
 
แต่ถ้าถามว่า จริงหรือไม่ทุกวันนี้ คนที่เป็นผู้ผลิตจน ส่วนคนที่เป็นพ่อค้าคนกลางรวย 
 
คำตอบไม่แน่นอนเสมอไป มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่ายไหนจะจน จะรวย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และบริบทด้วย รวมถึงผลผลิตหรือสินค้าที่ทำออกมาเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคหรือไม่ พ่อค้าคนกลางจะหาสินค้าอะไรมาถึงขายดี 
 
 
กรณีแรก..เกษตรกร หลายคนมองว่าถูกเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง กดราคาผลผลิต ขายได้ราคาต่ำ แต่ต้องดูด้วยว่าผลผลิตเหล่านั้นมีคุณภาพหรือไม่ เป็นที่ความต้องการในตลาดมากน้อยแค่ไหน ถ้าความต้องการน้อย (สินค้าล้นตลาด) ก็ขายได้ราคาต่ำ แต่ถ้าความต้องการในตลาดสูง ก็ขายได้ราคาสูง เช่น ชาวสวนทุเรียนจะขายได้ราคาดีมาก พ่อค้าคนกลางก็กล้ารับซื้อ เพราะผู้บริโภคมีความต้องการสูง กิโลละ 200 บาทก็กล้าซื้อกิน 
 
อีกกรณีในตอนนี้ เราจะเห็นได้ว่า ราคาพืชผักต่างๆ หมู ไข่ไก่ ในท้องตลาดราคาจะสูงมาก ยกตัวอย่างพริกราคากิโลกรัมละ 400-500 บาท คิดว่าเกษตรกรที่ปลูกผักหรือเลี้ยงสัตว์เหล่านี้รวยหรือจน ที่สินค้าราคาสูงเพราะผลผลิตออกมาน้อย ความต้องการบริโภคสูง เมื่อสถานการณ์เป็นแบบนี้ทำให้พ่อค้าคนกลางรวยไปด้วย ส่วนผู้บริโภครับกรรม 
 
 
มาดูผู้ผลิตที่เป็นกลุ่ม "โรงงาน" กันบ้าง ถ้าจะเจ๊งจนต้องเป็นโรงงานที่ผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ตลาดไม่ต้องการ สินค้าไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในช่วงเวลาหรือสถานการณ์ตอนนั้น เห็นได้จากช่วงการระบาดโควิด-19 โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยรวยกันถ้วนหน้า ทุกโรงงานผลิตแทบไม่ทัน พ่อค้าคนกลางก็นำมาขายราคาสูงอีกต่างหาก กล่าวคือ รวยทั้ง 2 ฝ่าย
 
หรืออีกตัวอย่างที่เห็นชัดเจน ช่วงนี้เป็นหน้าฝน จะเห็นได้สินค้าที่ขายดีมากๆ ตอนนี้ คือ เสื้อกันฝน บางครั้งหาซื้อในร้าน 7-Eleven แทบจะไม่มี ขายหมดเกลี้ยง ทำให้โรงงานผลิตเสื้อกันฝนรวยอย่างเดียว บางชนิดที่ขายใน 7-Eleven ตอนนี้ราคา 29 บาท ใส่ได้ไม่ถึง 3 วัน ก็ขาดแล้ว ผู้บริโภคต้องหาซื้อใหม่ สถานการณ์แบบนี้โรงงานไม่เจ๊งอย่างแน่นอน 

 
คนส่วนใหญ่มักมองว่า พ่อค้าคนกลางรวยกว่าคนผลิต เพราะคิดว่าบริบทของผู้ผลิตจะอยู่กับที่ ไม่เดินทาง ไม่รู้ตลาด ส่วนพ่อค้าคนกลางเป็นคนหาสินค้าจากแหล่งผลิตต่างๆ นำกลับมาขายให้ผู้บริโภคที่ไม่รู้ว่าจะหาซื้อสินค้านั้นได้จากที่ไหน พ่อค้าคนกลางถือตัวแทนผลิตกับผู้บริโภค ทำให้ต้องขายเอากำไรมากกว่าราคาที่รับซื้อจากแหล่งมาเป็นเรื่องธรรมดา 
 
อย่างไรก็ตาม การมาของอินเทอร์เน็ตทำให้คนติดต่อกันได้ง่ายขึ้น การค้าขายเปลี่ยนไป ผู้บริโภคหาซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น สามารถสั่งสินค้าตรงจากโรงงานหรือแหล่งผู้ผลิตได้เอง แทบไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางเลย โรงงานหรือผู้ผลิตก็สามารถขายสินค้าผ่านผู้บริโภคได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางได้เหมือนกัน 
 
สรุปก็คือ ทุกอาชีพไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือพ่อค้าคนกลางต่างมีต้นทุน มีความเสี่ยง และหวังผลกำไรแทบทั้งนั้น ทุกสถานการณ์และบริบทของแต่ละฝ่าย จะเป็นตัวกำหนดเองว่าใครจะรวย ใครจะจน ยกตัวอย่างกรณี "ซีพี" อยู่ในบริบทที่แข็งแกร่งทุกด้าน ทั้งเงินทุน ทีมงาน เป็นผู้ผลิตก็รวย เป็นพ่อค้าคนกลางก็ยิ่งรวย เรียกว่ากินรวบประเทศไทย
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
เทคนิคสร้างยอดขาย สินค้านิยมต่ำ กำไรสูง
1,674
5 อันดับ โรงงาน OEM รับผลิตครีม ผลิตเครื่องสำอาง..
982
แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร
889
กลยุทธ์ลดราคา! ร้านค้าปลีกปั้น House Brand ถัวเฉ..
598
กลยุทธ์ Hotelling model เปิดร้านข้างคู่แข่ง มีแต..
560
เปิดร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ..
550
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด