บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.5K
3 นาที
19 มีนาคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! นมไทย-เดนมาร์ค
 

นมไทย-เดนมาร์ค หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า นมวัวแดง จำหน่ายโดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเดนมาร์ค ตั้งแต่ปี 2504 จากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จนมาถึงวันนี้ นมไทย-เดนมาร์ค นอกจากเป็นนมกล่องที่เรารู้จักอย่างดี ยังมีส่วนช่วยนาการสร้างอาชีพเพาะเลี้ยงโคนมให้กับเกษตกรไทย
 
อย่างไรก็ดี www.ThaiFranchiseCenter.com เชื่อว่ามีหลายคนที่ยังไม่รู้จักนมไทย-เดนมาร์คมากพอ เราจึงได้รวบรวม 10 เรื่องจริงนมไทย-เดนมาร์คมาฝากกัน

1. จุดเริ่มต้นของนมไทย-เดนมาร์ค
 

ภาพจาก https://citly.me/gNcmJ

โครงการนมไทย – เดนมาร์ค ต้องย้อนกลับไปช่วง พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาสยุโรปร่วมกับสมเด็จพระราชินี หนึ่งในประเทศที่ท่านเดินทางไปก็คือ ประเทศเดนมาร์ค ท่านได้เห็นกิจการโคนม การผลิตนมของประเทศเดนมาร์ค กำลังเจริญเติบโตและเป็นที่น่าสนใจมาก พระองค์ท่านจึงทำการศึกษากิจการโคนมของประเทศเดนมาร์ค เพื่อนำกลับมาพัฒนาต่อในไทยหลังจากท่านได้กลับมาเมืองไทย ท่านได้นำแนวคิดต่างๆเกี่ยวกับนม มาพัฒนาต่อตั้งแต่การจัดหาสายพันธุ์วัว การก่อตั้งสหกรณ์ และอีกมากมาย
 
โดยทางรัฐบาลเดนมาร์คได้ส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความสามารถ ชื่อว่า นิลส์ กุนน่าส์ ซอนเดอร์กอร์ด มาพัฒนาโครงการดังกล่าวร่วมกับ ดร.ยอด วัฒนสินธุ์ เพื่อให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างจริงจัง นี่จึงเป็นสาเหตุของการใช้ชื่อว่า ไทย – เดนมาร์ค
 
2. ทำไมต้องเรียกว่า “นมวัวแดง”
 
จุดเด่นของนมไทย-เดนมาร์ก คือ เป็นนมที่ผลิตเองโดยเกษตรกรไทย ผลิตโดยนมวัว 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีนมผงผสมอยู่เลย และสาเหตุที่คนไทยเรียกติดปากว่านมวัวแดง ก็เนื่องมาจากสัญลักษณ์ที่เป็นโลโก้หน้ากล่องเป็นรูปวัวสีแดงสองตัวนั่นเอง ปัจจุบันนั้นนมไทย-เดนมาร์กยังคงผลิตและจำหน่ายออกสู่ท้องตลาดโดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และเนื่องจากภาวะคู่แข่งทางการตลาดที่มีมากขึ้น ทำให้นมไทย-เดนมาร์กมีการพัฒนาสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น
 
นอกจากนมยูเอชทีที่มีอยู่ดั้งเดิม ก็ยังมีโยเกิร์ตพร้อมดื่มยูเอชที นมพาสเจอร์ไรส์ น้ำนมอินทรีย์ ไอศกรีม โยเกิร์ต และน้ำดื่ม ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดีเพราะความเชื่อมั่นในคุณภาพของไทย-เดนมาร์กที่อยู่คู่ไทยมานาน
 
3. กำเนิด “นม UHT กล่องแรกของคนไทย”
 

ภาพจาก https://citly.me/zkxae
 
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ครั้งแรกเริ่มขึ้นเมื่อปี 2507 ใช้นมดิบที่ผลิตได้ 60 ลิตรนำมาผ่านความเย็น ลดอุณหภูมิจาก 35 องศาเซลเซียส ให้เหลือ 6 องศาเซลเซียส บรรจุลงถังอลูมิเนียม 2 ชั้น ภายในบรรจุไม้ก๊อกเพื่อรักษาความเย็น ได้น้ำนมประมาณ 50 ลิตร ส่งขายโรงงานนมในกรุงเทพมหานคร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
กระทั่งในปี 2508 เกษตรกรโคนมชาวเดนมาร์กส่งมอบขวดแก้วขนาด 250 มล. 500 มล. และ 1,000 มล. ให้ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค สำหรับใช้บรรจุนมหลังพาสเจอร์ไรส์ เพื่อให้การจัดจำหน่ายจึงสะดวกขึ้น เพราะสมัยนั้นคนไทยยังไม่นิยมดื่มนม ทำให้บางส่วนต้องแจกตามโรงพยาบาล โรงเรียน และที่ฟาร์ม ต่อมาเมื่อจัดตั้ง “องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)”
 
ในปี 2514 ได้พัฒนาต่อยอดจาก “ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์” สู่ “ผลิตนม UHT กล่องแรกของไทย” วางจำหน่ายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2519 ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยไม่ต้องแช่เย็น และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคไทย
 
4. สายพันธุ์วัวของฟาร์มนมไทย-เดนมาร์ค
 
สายพันธุ์วัวของฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์กมีหลายสายพันธุ์มาก ๆ ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพดีเพื่อให้คนไทยทุกคนได้ดื่มกัน เช่น
  1. เรดเดน – ถือเป็นวัวสายพันธุ์แรกที่นำเข้ามาจากประเทศเดนมาร์กและเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในฟาร์มนาไทย-เดนมาร์กตัวแรกด้วย
  2. โฮลสไตน์ – จุดเด่นคือมีน้ำนมให้ค่อนข้างเยอะ นิสัยเชื่อง ทำให้รีดนมได้ง่ายจึงได้รับความนิยมในการนำมาเลี้ยงที่ฟาร์มไทย-เดนมาร์ก
  3. ซาฮิวาล – เป็นวัวสายพันธุ์ดีห้นมเยอะ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเลี้ยงต่าง ๆ ได้ดี ทนอากาศร้อน
  4. บราห์มัน – ต้นกำเนิดมาจากอินเดียก่อนได้รับการปรับปรุงพันธุกรรมในสหรัฐฯ มีความแข็งแรง หนอกใหญ่ ถือเป็นอีกสายพันธุ์สำคัญในเมืองไทยที่นำมาผสมพันธุ์เพื่อยกระดับวัวไทยให้มีพันธุ์ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
  5. ซีบู – เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนามาจากซาฮิวาล จึงมีลักษณะค่อนข้างใกล้เคียงกันในหลาย ๆ ด้าน
5. เลือกทำฟาร์มโคนมที่ อ.มวกเหล็ก สระบุรี
 
หลังจากการทำงานร่วมกันทั้งฝั่งไทย และ เดนมาร์ค ทำให้โครงการนมวัวไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่าง ตอนนั้นคณะทำงานได้ทำการสำรวจพื้นที่จะตั้งสหกรณ์กลุ่มผู้ค้าโคนม ปรากฏว่าคณะทำงานลงความเห็นว่าพื้นที่ อำเภอมวกเหล็ก สระบุรี เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ น้ำสะอาด เหมาะแก่การเลี้ยงวัวนม ไม่ไกลจากเมืองหลวง จึงก่อตั้งกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมขึ้นในบริเวณนั้น แล้วต่อยอดมาจนถึงทุกวันนี้
 
6. ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
 
นอกจากผลิตภัณฑ์จากนมโคแล้ว ไทย-เดนมาร์กยังมีการส่งเสริมให้ฟาร์มโคนมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกด้วย โดยในฟาร์มได้จัดกิจกรรมไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวเอาไว้มากมาย เช่น ชมขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงและรีดนมวัว พร้อมทั้งฝึกทำด้วยตนเอง ชมขั้นตอนการผลิต ชมทุ่งหญ้าและสวนสัตว์ เป็นต้น และยังมีกิจกรรมอีกหลากหลายภายใต้บรรยากาศแบบธรรมชาติและอากาศดี ๆ รับรองได้ว่าประทับใจผู้ไปเยือนอย่างมาก
 
7. วันที่ 17 มกราคมของทุกปีคือ วันโคนมแห่งชาติ
 
วันที่ 16 มกราคม 2505 ถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ทรงทำการประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนมพร้อมศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์ก 
 
ต่อมาในปี 2514 ทางรัฐบาลไทยมีการรับโอนกิจการฟาร์มโคนมพร้อมศูนย์ฝึกอบรมโคนมไทย-เดนมาร์กเพื่อให้จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชื่อว่า องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) พร้อมกันนี้ได้กำหนดวันที่ 17 มกราคม ของทุกปีคือวันโคนมแห่งชาติ
 
8. กำลังการผลิตของ นมสดไทย-เดนมาร์ค
 

ภาพจาก https://citly.me/jxvTk

รัฐบาลรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนมมากขึ้น ควบคู่ไปกับการขยายโรงงานนม อ.ส.ค. ไปยังภูมิภาคต่างๆ ของไทย ปัจจุบันมี 5 แห่ง ได้แก่
  • โรงงานนมมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กำลังการผลิต 300 ตันต่อวัน
  • โรงงานนมเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ กำลังการผลิต 20 ตันต่อวัน
  • โรงงานนมปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กำลังการผลิต 120 ตันต่อวัน
  • โรงงานนมขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กำลังการผลิต 150 ตันต่อวัน
  • โรงงานนมสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย กำลังการผลิต 140 ตันต่อวัน
นอกจากนี้ อ.ส.ค. ดูแลเกษตรกร 20% ของประเทศ จากปัจจุบันไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมกว่า 16,000 ครัวเรือน และรับซื้อน้ำนมดิบ 600 ตันต่อวัน จากกำลังการผลิตน้ำนมดิบทั่วประเทศกว่า 3,000 ตันต่อวัน
 
9. รู้จักร้านไทย-เดนมาร์ค
 
นมไทย-เดนมาร์คได้พัฒนาช่องทางการขายสินค้าให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ โดยที่เรารู้จักกันดีคือ “ร้านไทย-เดนมาร์ค” ป็นร้านค้ากึ่งคาเฟ่ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของไทย-เดนมาร์ค และให้บริการเมนู นมสดเย็น นมสดปั่น และไอศกรีม Soft Serve โดยภายในร้านมีที่นั่งให้ลูกค้า เน้นขยายไปตามสถาบันการศึกษา เพื่อขยายตลาดสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งกลุ่มนักเรียน วัตถุประสงค์ของการเปิด “ร้านไทย-เดนมาร์ค” คือต้องการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงขณะเดียวกันยังเป็นเหมือน Lab พัฒนา และทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ด้วย
 
10. รายได้ของนมไทย-เดนมาร์ค
 
อุตสาหกรรมนมในประเทศไทย มูลค่าตลาดกว่า 50,000 ล้านบาท โดย“อ.ส.ค.” ได้วางยุทธศาสตร์ก้าวสู่การเป็น “นมแห่งชาติ” ภายในปี 2564 โดยเน้นส่งเสริมการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพแก่เกษตรกร พร้อมพัฒนาอุตสาหกรรมนมให้ครบวงจร รวมถึงการสร้างแหล่งความรู้ด้านกิจการโคนมให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง
 
โดยนมไทย-เดนมาร์คทำยอดขายแตะระดับ 10,000 ล้านบาท ในปี 2560 มียอดขาย 9,250 ล้านบาท และมีมูลค่าการตลาดที่มากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันนมไทย-เดนมาร์คมีสินค้าใหม่หลายชนิดเช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม , กลุ่มผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต , กลุ่มนมออร์แกนิค , กลุ่มผลิตภัณฑ์ไอศกรีม เป็นต้น
 
เกร็ดน่ารู้เพิ่มเติม: วันที่ 20 ตุลาคม 2504 เป็นการลงนามสัญญาการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางวิชาการการเลี้ยงโคนม ระหว่างรัฐบาลเดนมาร์กกับรัฐบาลไทย โดย Danish Agricultural Marketing board จัดสรรเงินช่วยเหลือจำนวน 4.33 ล้านโครเนอร์ (หรือประมาณ 23.5 ล้านบาท ในสมัยนั้น) สำหรับดำเนินโครงการเป็นระยะเวลา 8 ปี รัฐบาลเดนมาร์กได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาร่วมดำเนินการในปี พ.ศ.  2509 พร้อมกับสนับสนุนเงินจำนวน 2.87 ล้านโครเนอร์ สำหรับดำเนินงานในช่วง 8 ปี อันเป็นการตอบสนองพระราชปณิธานและความสนพระทัยในอาชีพการเลี้ยงโคนม หลังจากเสด็จนิวัติประเทศไทย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ขอบคุณข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
752
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
630
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
501
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
426
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
416
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด