บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.0K
4 นาที
5 สิงหาคม 2564
รวม 25 ธุรกิจดั้งเดิม คิดใหม่ ทำใหม่ หาโอกาสใหม่!
 

การก้าวสู่ยุคของ Digital Disruption รวมถึงการระบาดโควิด-19 ส่งผลหลายๆ ธุรกิจต้องปรับกระบวนท่าดำเนินธุรกิจแบบ 360 องศา ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ จากธุรกิจที่เคยทำแตกไลน์ไปสู่ธุรกิจอื่น ตื่นเช้ามากลายเป็นอีกธุรกิจเสียแล้ว บางรายได้รับผลกระทบไม่มากนัก สายป่านยาว ขณะที่บางรายได้รับผลกระทบรุนแรง ถึงขั้นต้องล้มหายตายจากไป
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ได้รวบรวมธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption รวมถึงโควิด จึงต้องปรับกลยุทธ์ให้ไว รวมถึงแตกไลน์ธุรกิจไปสู่ธุรกิจอื่น เพื่อกระจายความเสี่ยง และพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เติบโต  

1.ปตท.ขาย “กาแฟ-อาหาร” (ปั้มน้ำมัน สู่ ธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม) 

ภาพจาก bit.ly/2TUo8do

บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ในเครือ ปตท. นอกจากบริหารสถานีบริการน้ำมัน ยังมีธุรกิจค้าปลีกจิฟฟี่เป็นของตัวเอง และเป็นเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมในประเทศและต่างประเทศอย่าง “อเมซอน”  อีกทั้งยังบริหารแฟรนไชส์ร้านไก่ทอด “เท็กซัส ชิคเก้น” และ  “ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ” 
 
2.บางจาก ขาย “กาแฟ” (ปั้มน้ำมัน สู่ ธุรกิจเครื่องดื่ม)

ภาพจาก bit.ly/3xtjD7g

“บางจาก รีเทล” นอกจากเป็นผู้บริหารแฟรนไชส์ร้านกาแฟ “อินทนิล” ซึ่งเป็นค่าแข่งของ “อเมซอน” ยังแตกไลน์ธุรกิจเครื่องดื่ม โดยซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ชานมไข่มุก DAKASI เปิดสาขาร้านกาแฟอินทนิล ตั้งเป้าขยายในปั้มน้ำมัน 150 สาขา 

3.พีทีจี ขาย “กาแฟ” (ปั้มน้ำมัน สู่ ธุรกิจเครื่องดื่ม)
 
ภาพจาก bit.ly/3lyoPEM

ในปี 2019 บริษัทพีทีจี เอ็นเนอยี (PTG)” หรือปั๊มน้ำมัน PT ประกาศทิศทางรุกธุรกิจ Non-oil มากขึ้น โดยใช้ธุรกิจเครื่องดื่มร้านกาแฟเป็นหัวหอกหลักในการสร้างรายได้ ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบรนด์ คือ “กาแฟพันธุ์ไทย” และ “คอฟฟี่เวิลด์”
 
4.การบินไทย ขาย “ปาท่องโก๋” (การบิน สู่ ธุรกิจอาหาร)

ภาพจาก bit.ly/3A9fNly

หลังจากประสบปัญหาวิกฤติโควิด-19 จนขาดทุน การบินไทยรุกธุรกิจอาหารเพื่อพยุงรายได้ ทั้งการส่ง “น้ำพริกลงเรือ-ครัวซองต์-ปาท่องโก๋-ข้าวหมกไก่” ขายใน 7-Eleven โดยเฉพาะ “ปาท่องโก๋” ลือลั่นด้วยยอดขาย 10 ล้านบาทต่อเดือน แถมยังเป็นผู้นำเทรนด์ที่ผลักดันให้ปาท่องโก๋กลายเป็นเมนูยอดฮิต จนถึงขั้นขายแฟรนไชส์อีกด้วย 

5.ซีพีแลนด์ ขาย “ปาท่องโก๋” (โรงแรม สู่ ธุรกิจอาหาร)
 
ภาพจาก bit.ly/3lyq1aY

จากพิษวิด-19 ไร้นักท่องเที่ยว ทำให้ “ซีพีแลนด์” ดำเนินธุรกิจโรงแรม ได้จดลิขสิทธิ์ "ฟอร์จูน ปาท่องโก๋" ปรับกลยุทธ์ขายปาท่องโก๋ธัญพืช 6 ชนิด ใน 8 โรงแรมเครือฟอร์จูน มื้อเช้า ยอดขายหลักแสนต่อวัน เตรียมขายแฟรนไชส์เพื่อต่อยอดธุรกิจ

6.แอร์เอเชีย บริการ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” (การบิน สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่) 
 
ภาพจาก airasia

แอร์เอเชีย เปิดตัวบริการ AirAsia Food บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เกิดจากการควบกิจการของ Gojek ประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 และเปลี่ยนชื่อเป็น AirAsia Food ได้เริ่มทดสอบบริการส่งฟรีทุกออเดอร์ระยะทาง 6 กิโลเมตร ในเขตพื้นที่จตุจักร ดินแดง ลาดพร้าว และห้วยขวางไปแล้ว

7.ไทยพาณิชย์ บริการ “ฟู้ดเดเลิเวอรี่” (ธนาคาร สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่)
 
ภาพจาก bit.ly/2VqJAr5

ธนาคารไทยพาณิชย์ทำเซอร์ไพรส์วงการเงินและอาหาร โดดร่วมสนามธุรกิจ Food Delivery เปิดให้บริการแอปพลิเคชั่น Robinhood รับส่งอาหารในรูปแบบที่แตกต่างจากแอปฯ ฟู้ดทั่วๆ ไป ที่เรียกเก็บค่า GP สูง ทำให้ไทยพาณิชย์ต้องฉีกกฎ ฟรีค่า GP เพื่อช่ยเหลือเจ้าของร้านอาหารและผู้บริโภค

8.กสิกรไทย บริการ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” (ธนาคาร สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่) 
 
ภาพจาก https://eatable.kasikornbank.com/

โควิดส่งผลกระทบโดยตรงกับ “ธุรกิจร้านอาหาร” ธนาคารกสิกรไทยจึงเปิดบริการ Eatable แพลตฟอร์มจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ให้ลูกค้าอีกด้วย  
 
9.ไลน์ บริการ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” (โฆษณา สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่) 
 
ภาพจาก  bit.ly/37AYduJ

บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด มีธุรกิจหลักเป็นธุรกิจโฆษณาที่ครอบคลุมทั้งบนแชต ไม่ว่าจะเป็น Smart Channel ในหน้าแชต หน้าหลักบนไทม์ไลน์ รวมถึงในธุรกิจคอนเทนต์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น LINE Today และ LINE TV ซึ่งสร้างรายได้เกินครึ่งของ LINE ประเทศไทย ยังเปิดให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ “ไลน์ แมน” เช่นเดียวกัน 

10.เครือชิโน-ไทย ขาย “กัญชง” (ก่อสร้าง สู่ ธุรกิจสมุนไพร) 
 
บริษัท STPI เครือ "ชิโน-ไทย" ตระกูล "ชาญวีรกูล" ตั้งบริษัทลูกถือหุ้น 100% แตกไลน์ธุรกิจเหล็ก ลุยธุรกิจกัญชง รับการเติบโตของตลาด และกระจายความเสี่ยงธุรกิจ ในปี 2563 STPI มีรายได้ 1,982.09 ล้านบาท ขาดทุน 836.68 ล้านบาท

11.คาราบาวแดง เปิด “ร้านค้าปลีก” (เครื่องดื่ม สู่ ธุรกิจค้าปลีก) 
 
ภาพจาก bit.ly/2WNLyCg

"เสถียร เศรษฐสิทธิ์" เจ้าพ่อเครื่องดื่มคาราบาวแดง แตกธุรกิจ "ร้านถูกดี" ยกระดับมาตรฐานร้านโชห่วยสู้ศึกค้าปลีก ชูระบบพันธมิตรไม่ใช่แฟรนไชส์ เปิดแล้ว 1,000 สาขา คาดสิ้นปี 64 มี 8,000 ร้านค้า ตั้งเป้าปี 65 ทะลุ 30,000 ร้านค้า 

12.บีไฮฟ์ ภูเก็ต ขาย “บะหมี่” (โรงแรม สู่ ธุรกิจอาหาร) 
 
ภาพจาก bit.ly/3jrL8sW

พิษจากโควิด-19 ทำให้หนุ่มวิศวะเจ้าของ “บีไฮฟ์ ภูเก็ต โอลด์ทาวน์” โฮสเทลเมืองภูเก็ต พลิกวิกฤตโควิด แตกไลน์ธุรกิจคิดสูตรบะหมี่ออแกนิก “จินหู่” ส่งขายทั่วประเทศ แค่ 3 เดือน รายได้โตขึ้นเดือนละ 200% อนาคตเตรียมขายแฟรนไชส์

13.มารุชา ขาย “อาหาร” (ชานมไข่มุก สู่ ธุรกิจอาหาร)
 
ภาพจาก www.facebook.com/marucorndogs88/

ชานมไข่มุก MaruCha เปิดแบรนด์ใหม่ Maru Corndog Cheese เกาหลี พร้อมขายแฟรนไชส์ สร้างโอกาสให้คนมีอาชีพและรายได้ โดย 30 สาขาแรก รับส่วนลด 5% ไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายปี ไม่หักเปอร์เซ็นต์ยอดขาย โทร.065-2905063

14.TOA ขาย “อาหาร-เครื่องดื่ม” (สี สู่ ธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม) 

ภาพจาก bit.ly/3Cilv6I

บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเครือ TOA ขยายธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) เต็มรูปแบบ เพื่อสร้างให้เป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่มีความแข็งแรงสร้างรายได้และการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับองค์กร มี 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ 1. ธุรกิจขนมขบเคี้ยว ถั่วและขนม “มารูโจ้” 2. ธุรกิจเครื่องดื่มสมุนไพร แบรนด์ “SuperFight” ซึ่งเปิดตัวออกทำตลาดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา 3. ธุรกิจนมพร้อมดื่ม อาหารและเครื่องดื่ม แบรนด์ “ฮอกไกโด”

15.ทรีเซนไทย ขาย “ทาโก้เบล” (ขนส่ง สู่ ธุรกิจอาหาร) 
 
ภาพจาก bit.ly/3yxhYPG

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ตระกูลมหากิจศิริ มีธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนส่ง กลุ่มธุรกิจพลังงาน และกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ตั้งบริษัท สยาม ทาโก้ จำกัด บริหารแฟรนไชส์ “ทาโก้ เบลล์” ในไทย ล่าสุดปรับขยายสาขาในปั้มน้ำมันรูปแบบ "Delco" แทนเปิดในห้าง รับวิถีชีวิตผู้บริโภคเปลี่ยน กันยอดเดลิเวอรี่เพิ่ม 25% 

16.TWZ ขาย “กัญชา-กัญชง” (สื่อสาร สู่ ธุรกิจสมุนไพร) 
 
ภาพจาก bit.ly/37jz0EX

บริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TWZ ทำธุรกิจด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร รวมถึงขายโทรศัพท์มือถือ ได้จับมือกับพันธมิตรรุกธุรกิจ “กัญชา-กัญชง” พร้อมจัดตั้งบริษัท “กัญช์ยารักษ์” ขึ้นมาดำเนินธุรกิจ 

17.แม็กกี้ บริการ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” (เครื่องปรุง สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่) 
 
ภาพจาก bit.ly/3jsJ2ca

‘แม็กกี้’ (Maggi) ซอสปรุงรสยอดนิยม แบรนด์ในเครือเนสท์เล่ เปิดให้บริการ Maggi Kitchen ต่อยอดธุรกิจและรองรับการเติบโตของ Food Delivery ที่ขยายตัวอย่างมากในไทย นับเป็น New Business เกิดขึ้นที่ประเทศไทยแห่งแรกในโลก  

18.GMM Grammy รุก “ขายตรง” (บันเทิง สู่ ธุรกิจขายตรง)
 
ภาพจาก bit.ly/3jvtHbc

GMM Grammy บริษัทด้านเอ็นเตอร์เทนต์ ได้ประกาศรุกธุรกิจขายตรง ถึงแม้อดีตคู่แข่งทางธุรกิจบันเทิงอย่าง RS หนีไปทำด้านนี้มานานแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ขอฉีกตัวเองออกมาทำในสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ core ธุรกิจหลักเดิม 

19.ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี ขาย “อาหาร” (พลังงาน สู่ ธุรกิจอาหาร)
 
ภาพจาก bit.ly/3xpEjx7

บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทพลังงานครบวงจร และผู้จัดจำหน่ายก๊าซแอลพีจีภายใต้แบรนด์เวิลด์แก๊ส รุกธุรกิจอาหารแบบครบวงจร จับมือ “วันเดอร์ฟู้ด อินเตอร์เนชันแนล” ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารแนวสตรีตฟู้ดระดับพรีเมียม ได้แก่ ผัดไทยไฟทะลุ, ข้าวซอย Hungry Rabbit, ร้านอาหาร Hyper Fine Dining ระดับมิชลินสตาร์ 1 ดาวในชื่อ Table 38 และ Pi Kun (ปีกุน) ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างเกินคาดในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา

20.ดีแทค ขาย “จักรยานยนต์ไฟฟ้า” (สื่อสาร สู่ ธุรกิจยานยนต์)
 
ภาพจาก bit.ly/3AfK4iu

ที่ผ่านมา ดีแทค โอเปอเรเตอร์ด้านการสื่อสาร รุกธุรกิจรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จับมือกับ บริษัท เอ็มวิชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงาน EV Expo เป็นตัวกลางในการประสานกับผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เจ้าของตู้บุญเติม ทำหน้าที่จุดให้บริการชาร์จมอเตอร์ไซด์อีวี

21.MK บริการ “โลจิสติกส์” (อาหาร สู่ ธุรกิจขนส่ง)

ภาพจาก bit.ly/2Vx79ye

“เอ็มเค สุกี้” ผู้นำด้านสุกี้ จับมือ บริษัท เซนโค กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทด้านโลจิสติกส์รายใหญ่อันดับ 2 จัดตั้งบริษัท เอ็ม-เซนโค โลจิสติกส์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ถือหุ้นฝ่ายละ 50% ดำเนินธุรกิจด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจรในประเทศไทย

22.ไทย-เดนมาร์ค ขาย “เครื่องสำอาง” (นม สู่ ธุรกิจความงาม) 
 
ภาพจาก bit.ly/3iplUML

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จับมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึง บริษัท อาร์แอนด์ ดี รีเสิร์ช แอนด์ ดีวีลอปเม้นท์ จำกัด และศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แตกไลน์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค” จำหน่ายในประเทศ และมีแผนบุกอาเซียน 
 
23.ปัญจวัฒนาฯ ขาย “เครื่องมือแพทย์” (พลาสติก สู่ ธุรกิจการแพทย์) 
 
ภาพจาก bit.ly/3lvtpn1

บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน) หรือ (PJW) ผู้นำด้านพลาสติก แตกไลน์ธุรกิจขยายการลงทุนทางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์กลุ่ม Medical เครื่องมือทางการแพทย์จากพลาสติกใช้แล้วทิ้ง อาทิ ไซริงค์พลาสติก, วาล์ว สายน้ำเกลือ, เข็มฉีดยา รวมถึงเครื่องมือแพทย์อื่นๆ เพื่อสร้างการเติบโตรอบใหม่ (New S-curve) ให้กับบริษัทในอนาคต

24.มั่นคงเคหะ รุก “ธุรกิจการแพทย์” (อสังหาฯ สู่ ธุรกิจการแพทย์) 
 
ภาพจาก bit.ly/3xlyUHb

บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK แตกไลน์จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สู่ธุรกิจบริการและการแพทย์ ด้วยการตั้งบริษัท มั่นคงไลฟ์ จำกัด ช่วงต้นเดือน มี.ค. 2561 พัฒนาโครงการสถานพยาบาลเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพแบบครบวงจร ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท ไวทัทัลไลฟ์ จำกัด ในเครือบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BH มีเป้าหมายเจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมียมทั้งไทยและต่างประเทศ 

25.Coca-Cola ขาย “กาแฟ-อาหาร” (น้ำอัดลม สู่ ธุรกิจกาแฟ)
 
ภาพจาก bit.ly/3lDL5ND

สำหรับในต่างประเทศ Coca-Cola คู่แข่งสำคัญของ “แป๊บซี่” ขยายธุรกิจสู่ธุรกิจร้านอาหาร ที่ผ่านมาเริ่มต้นด้วยการประกาศซื้อเชนร้านกาแฟยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ Costa Coffee ด้วยเงินมากถึง 5.1 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ Coca-Cola เข้าใกล้เป้าหมายของความเป็นผู้นำครองตลาดเครื่องดื่มโดยรวมมากขึ้นในโลกนั่นเอง 
 
นั่นคือ 25 ธุรกิจเปลี่ยนไว ไร้ขอบเขต จากการก้าวเข้ามาของ Digital Disruption รวมถึงการระบาดโควิด-19 ธุรกิจไหนปรับตัวได้เร็วจะอยู่รอด หากปรับตัวไม่ทันก็จะล่มสลายไปในที่สุด
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด