บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
1.7K
3 นาที
11 สิงหาคม 2564
เริ่มแล้ว 11 ส.ค.64 คุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท ครอบคลุมสถาบันการเงินทั้ง 35 แห่ง
 

หลังจากที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ประกาศว่าตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก จะได้รับความคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ก็ทำให้เกิดความสงสัย หลายคนก็ยังไม่เข้าใจว่าการคุ้มครองเงินฝากคืออะไร และถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

ด้วยเหตุนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จึงได้รวบรวมข้อมูลน่าสนใจมานำเสนอให้ทุกคนได้เข้าใจตรงกันถึงมาตรการที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้
 
สถิติตัวเลขบัญชีเงินฝากในประเทศไทย 
 

ภาพจาก www.freepik.com

ข้อมูลเงินฝากจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนพฤษภาคม 2564 ระบุว่า ผู้ฝากในระบบสถาบันการเงินภายใต้ความคุ้มครองของสถาบันมีจำนวนทั้งหมด 83.72 ล้านราย เพิ่มขึ้น 1,337,334 ราย หรือเพิ่มขึ้น 1.62% โดยจำนวนผู้ฝากที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นผู้ฝากรายย่อยซึ่งมีเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดเป็น 97% ของจำนวนผู้ฝากที่เพิ่มขึ้น
 
เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองมีจำนวนทั้งสิ้น 15.28 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 347,940 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.33%
 
โดยมีจำนวนบัญชีเงินฝากที่ไม่เกิน 50,000 บาท และมีปริมาณบัญชีทั้งหมด 95,311,844 ล้านบัญชีจากจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมด 109,405,151 ล้านบัญชี คิดเป็นเงินฝากรวม 435,222 ล้านบาท 
  • บัญชีเงินฝากระหว่าง 50,000 – 100,000 บาท จำนวน 4.24 ล้านบัญชี เงินฝากรวมประมาณ 0.29 ล้านล้านบาท
  • บัญชีเงินฝาก 100,000 – 200,000 บาท จำนวน 3.41 ล้านบัญชี เงินฝากรวมประมาณ 0.47 ล้านล้านบาท
  • บัญชีเงินฝาก 200,000 -500,000 บาท จำนวน 3.12 ล้านบัญชี เงินฝากรวมประมาณ 0.98 ล้านล้านบาท
  • บัญชีเงินฝาก 500,000 – 1,000,000 บาท จำนวน 1.47 ล้านบัญชี เงินฝากรวมประมาณ 1.04 ล้านล้านบาท
  • บัญชีเงินฝาก 1 – 10 ล้านบาท จำนวน 1.64 ล้านบัญชี เงินฝากรวมประมาณ 4.09 ล้านล้านบาท
ซึ่งหากนับเฉพาะบัญชีที่วงเงินเกิน 1 ล้านบาทขึ้นไปมีประมาณ 1,789,600 บัญชี คิดเป็น 1.5% ของยอดบัญชีเงินฝากที่อาจได้รับผลกระทบ
 
ทั้งนี้วงเงินคุ้มครองที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากกำหนดไว้ 1 ล้านบาท จะทำให้มีผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน 98.03 % ของผู้ฝากทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
 
จุดเริ่มต้นของการคุ้มครองเงินฝากในประเทศไทย
 

ภาพจาก www.freepik.com

ถ้ายังจำกันได้ประเทศไทยเคยเจอกับวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคาร จึงได้มีประกาศ “ค้ำประกัน” ให้กับเจ้าหนี้และผู้ฝากเงิน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการคุ้มครองเงินฝากในประเทศไทย ซึ่งในปี 2546 เมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวและเติบโต ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเสนอให้มีการจัดตั้ง “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” เพื่อผลประโยชน์ของผู้ฝากเงินโดยตรง และหลังจากการร่างกฎหมายและกว่าจะผ่านขั้นตอนต่างๆ ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี จึงได้เริ่มมีสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (Deposit Protection Agency) หรือ DPA โดยเริ่มบังคับใช้การคุ้มครองเงินฝากครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551
 
หน้าที่ของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (Deposit Protection Agency) หรือ DPA
 

ภาพจาก facebook.com/dpathailand/

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองเงินฝากแก่ผู้ฝากทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่ฝากเงินเป็นสกุลเงินบาทกับสถาบันการเงินของไทยภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ไทย 18 แห่ง สาขาธนาคารต่างประเทศ 12 แห่ง บริษัทเงินทุน 2 แห่ง และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 35 แห่ง ซึ่งจะคุ้มครองทันทีในลักษณะ 1 รายชื่อผู้ฝากต่อ 1 สถาบันการเงิน
 
โดยคุ้มครองบัญชีเงินฝาก 5 ประเภท ได้แก่ 
  1. เงินฝากกระแสรายวัน 
  2. เงินฝากออมทรัพย์ 
  3. เงินฝากประจำ 
  4. บัตรเงินฝาก 
  5. ใบรับฝากเงิน 
โดยบัญชีเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองต้องเป็นสกุลเงินบาทเท่านั้น ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ฝากจะได้รับเงินฝากคืนภายใน 30 วัน ตามวงเงินที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากเกิดวิกฤติหนักจนถึงขั้นธนาคารสักแห่งล้มขึ้นมา สถาบันฯ ก็จะต้องทำหน้าที่ชำระบัญชีสถาบันการเงินนั้น และนำเงินมาจ่ายคืนกับผู้ฝาก ถ้าไม่พออีก ก็จะใช้เงินกองทุน มาจ่ายเงินคืนให้กับผู้ฝากเงินโดยเร็วที่สุด ซึ่งในปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากอยู่ไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อคนต่อธนาคาร และกำลังจะถูกปรับเป็น 1 ล้านบาท ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ จนกลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างมาก
 
ทำไมต้องลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก ประโยชน์ที่จะได้รับคือ?
 
ภาพจาก facebook.com/dpathailand/

การปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเป็นไปตามกรอบการดำเนินการที่กำหนดไว้ โดยจะยังสามารถคุ้มครองผู้ฝากเงินได้ถึงร้อยละ 98 ของผู้ฝากเงินทั้งระบบ การคุ้มครองดังกล่าว จะลดลงเหลือไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยในต่างประเทศเองก็มีสถาบันคุ้มครองเงินฝากของแต่ละประเทศอย่างสหรัฐวงเงินคุ้มครองอยู่ที่ 8 ล้านบาท มาเลเซียอยู่ที่ 2 ล้านบาท สิงคโปร์อยู่ที่ 1.2 ล้านบาท เวียดนามอยู่ที่ 1 แสนบาท เป็นต้น

การลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากลงมาอยู่ที่ 1 ล้านบาท จะทำให้เราสามารถคุ้มครองคนไทยที่มีเงินฝากถึง 98.19% คือ ประมาณ 98 จาก 100 คน จะได้รับเงินฝากคืนทันทีภายใน 30 วัน แต่ส่วนที่เหลือคือคนที่วงเงินเเกิน ทางสถาบันเราก็จะบริหารจัดการทรัพย์สินให้แล้วเครียร์เงินคืนให้ในภายหลัง ในอนาคตเมื่อวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท คงต้องรอดูนโยบายของภาครัฐ หากมีการปรับขยายขึ้น วงเงินคุ้มครองก็สามารถขยับขึ้นได้นั่นเอง
 
ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีประมาณ 1.5% เท่านั้น
 

ภาพจาก facebook.com/dpathailand/

เรื่องนี้คนส่วนใหญ่ไม่ควรแตกตื่นเพราะหากอ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในไทยมีบัญชีเงินฝากรวมกันประมาณ 109 ล้านบัญชี แต่เป็นบัญชีที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท อยู่ 1.7 ล้านบัญชี หรือราวๆ 1.5% เท่านั้น
 
หรือพูดง่ายๆ กว่าบัญชีในไทยประมาณ 98.5% จะไม่ได้รับผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายในครั้งนี้ ส่วนคนที่ได้รับผลกระทบ วิธีการปรับตัวก็คือ โยกย้ายเงินในบัญชีของเราออกไปยังสถาบันการเงินอื่น ที่ได้รับการคุ้มครองเช่นกัน
 
ซึ่งสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง มีอยู่ทั้งสิ้น 35 แห่ง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ กระจายเงินฝากธนาคารละ 1 ล้านบาท ไปหลายๆ ธนาคาร ซึ่งก็จะคุ้มครองเงินเราได้มากถึงหลัก 20-30 ล้านบาทแล้วนั่นเอง
 
โดยการลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากอาจเป็นมาตรการหนึ่งของสถาบันการเงินเพื่อบริหารจัดการให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ในส่วนของประชาชนทั่วไปไม่จำเป็นต้องวิตกกับมาตรการที่เกิดขึ้นนี้หรือแม้แต่คนที่มีเงินฝากในจำนวนมาก ก็ยังมีวิธีในการบริหารจัดการเพราะคนมีเงินฝากจำนวนมากๆ ส่วนใหญ่มีคนที่คอยแนะนำเรื่องวิธีบริหารการเงินให้อยู่แล้วจึงคาดว่าไม่น่าจะทำให้เกิดผลกระทบมากนัก
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด