บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
4.3K
2 นาที
28 สิงหาคม 2557
ทำไมที่ผ่านมาศูนย์สินค้า OTOP ส่วนใหญ่จึงไม่ประสบความสำเร็จ?

ที่ผ่านมา จะเห็นว่า ศูนย์แสดงสินค้า OTOP ที่เปิดอยู่ทั่วประเทศ จะมีสักกี่แห่งที่ประสบความสำเร็จ
วันนี้ ลองมาดูกันว่า ที่ศูนย์ OTOP เหล่านั้น ไม่ประสบความสำเร็จ นั้นมีเหตุผลมาจากอะไร ซึ่งข้อความที่นำเสนอด้านล่าง คัดลอกมาจาก ผู้เขียนท่านหนึ่ง ได้เขียนลงผ่าน บทความในเว็บไซต์ www.somkiet.com
 
จากการสังเกตุของผู้เขียน พบว่า ศูนย์สินค้า OTOP ที่พอขายได้ มักจะอยู่ติดกับศาลากลางจังหวัด การลงทุนน้อย ข้าราชการและบุคคลอื่น มักจะซื้อสินค้าที่จำเป็น เช่น ของพวกอาหาร ข้าวสาร เครื่องดื่ม ลำพังขายข้าราชการที่ทำงานในบริเวณนั้น ก็พออยู่ได้แล้ว ศูนย์สินค้า OTOP หลายแห่ง ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนไม่รู้จักและยังมีคู่แข่ง คือกลุ่ม OTOP นั่นเอง อยู่ใกล้ๆ เช่น ที่หมู่บ้านเบญจรงค์ ใครจะไปที่ศูนย์ OTOP ในเมื่อไปที่กลุ่มผู้ผลิตโดยตรงดีกว่า ราคาก็ถูกกว่า และยังได้ชมกระบวนการผลิตอีกด้วย ดังนั้น กลุ่ม OTOP เอง อาจกลายเป็น Threat ของศูนย์ OTOP ไป และศูนย์ OTOP ก็ไม่สามารถดำเนินการได้
 
ทั้งนี้ มีตัวอย่างของ ศูนย์สินค้า OTOP ที่อำเภอปราณบุรี สร้างในพื้นที่ใหญ่มาก เข้าใจว่าใช้งบประมาณไปกว่า 30 ล้านบาท เคยดูดีสมัยหนึ่ง แต่ต่อมาก็ทรุดโทรมลง ขายของได้พอเงินเดือนและค่าจ้าง แต่โดยทั่วไป ก็เงียบเหงามาก ศูนย์นี้ลงทุนไปมาก แต่ผลตอบแทนการลงทุนคงไม่คุ้ม
 
จากการที่ผู้เขียนไปแวะที่ศูนย์แห่งนี้ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 พบว่า ยังเปิดขายสินค้า OTOP อยู่ และได้มีการปรับปรุง โดยรื้อผนังกั้นห้องต่างๆออก แล้วจัดวางสินค้าในห้องโล่งๆ ทำให้น่าเดินชมมากขึ้น ส่วนนี้บริหารโดยจังหวัด ส่วนอีกห้องหนึ่งทางด้านขวาของอาคาร ที่ขายสินค้า OTOP แต่บริหารงานโดยเอกชน สรุปแล้วก็ยังไม่น่าจะเด่นดัง และอาคารก็เก่า ไม่มีการทาสี ป้ายที่จะแสดงให้คนที่ขับรถผ่านไปเห็นได้ชัดๆก็ไม่มี เป็นที่น่าเสียดายที่รัฐลงทุนไปกับศูนย์สินค้า OTOP มากมาย แต่ถูกทอดทิ้ง และการบริหารงานยังต้องปรับปรุงให้ก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพ ทำนองเดียวกันก็กลับจะสร้างศูนย์ใหม่ๆเพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าที่นำมาวางขายในศูนย์ OTOP นั้น ส่วนมากเป็นพวกอาหารและขนม ซึ่งควรจะต้องตรวจกำหนดวันหมดอายุด้วย
 
นอกจากนี้ ผู้เขียนได้มีการพูดถึง ศูนย์โอทอปของจังหวัดตราด ซึ่งจากการเดินทางในการประชุมระดับผู้บริหารของจังหวัดตราด ทางผู้เขียนได้แนะนำให้ ศูนย์สินค้า OTOP ควรจะตั้งอยู่บริเวณใกล้ทางแยก ระหว่างการเดินทางกลับ ของนักท่องเที่ยว หรือไม่ก็สร้างที่เกาะช้าง แต่ไม่ต้องใหญ่มาก แต่ขณะนั้น ฝ่ายจังหวัด เห็นว่า ควรหาทางให้คนเข้าไปเที่ยวในตัวเมืองเพิ่มขึ้นมิฉะนั้น คนจะมุ่งแต่ไปเกาะช้างกันหมด จึงไปสร้างศูนย์ OTOP ในเมือง และหลังจากนั้น ผู้เขียนได้แวะไปจังหวัดตราดอีก พบว่าศูนย์ OTOP ไม่มีคนเลย นี่ก็แสดงว่า จะสร้างไปทำไม ในเมื่อไม่มีคนไปซื้อสินค้า ในที่สุดก็ต้องปิดไป
 
ศูนย์ OTOP ริมทางหลวงที่เพชรบุรี ปิดกิจการไปแล้ว ในตอนแรก มีป้ายเห็นชัดเจน อยู่ในบริเวณร้านขายขนมหวานและของที่ระลึก มีที่จอดรถมากมาย มีร้านกาแฟด้วย ก็ยังอยู่ไม่ได้
 
ศูนย์ OTOP ที่บริเวณตลาดนัดจตุจักร ก็เคยทำกันมาแล้ว มีบริการส่งของโดยมีไปรษณีย์ ตั้งอยู่ติดกัน มีคอมพิวเตอร์หลายเครื่องให้เลือกดูสินค้า ตอนเปิดใหม่ๆ ก็ออกมาคุยเอาไว้มาก ต่อมาไม่นานก็เลิกไป สาเหตุเป็นเพราะอะไร คงต้องศึกษาดูกันต่อไป อย่างไรก็ตามประสบการณ์ที่ผ่านมา เป็นบทเรียนที่ราคาแพงเพราะเป็นการใช้เงินงบประมาณของประเทศที่มาจากภาษีของประชาชน (ฝรั่งใช้คำว่า Tax Payer's Money) ควรนำมาศึกษา ให้ดี
 
ศูนย์โอทอป ที่อำเภอปราณบุรี
 
สำหรับศูนย์สินค้า OTOP ณ เมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น เชียงใหม่ เดิมเคยมีการตกแต่งสวยงามมาก Style แบบ Distribution Center เพื่อการส่งออก แต่ก็ยังไปลำบาก เพราะนักท่องเที่ยวรู้จักแต่ Night Bazaar สถานที่ยอดฮิต
 
สำหรับภูเก็ตนั้น ถือว่าศูนย์ OTOP ที่อาจจะประสบความสำเร็จได้เพราะมีนักท่องเที่ยวเดินกันมากมาย เช่น แถวๆหาดป่าตอง แต่ในความเป็นจริง สำหรับนักท่องเที่ยวคนไทย กลับไม่ไปซื้อของที่ศูนย์OTOP มากเท่ากับ การไปชอปที่สนามบิน เพราะส่วนใหญ่ก็จะแวะซื้อของกันที่ร้านพรทิพย์ซีสโตร์กับร้านแม่จู้ ซึ่งก็มีสินค้า OTOP ขายเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นพวกอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งก็ยังไม่ครบทุกหมวดของสินค้า OTOP เหมือนกับที่ศูนย์ OTOP
 
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนให้ข้อคิด สำหรับ ศูนย์สินค้า OTOP บางแห่งที่ไม่ประสบความสำเร็จ มาจากหลายปัจจัย อาทิ มีสินค้าน้อยและไม่น่าสนใจ หรือไม่คุ้มกับการแวะเข้าไปชม และสินค้าที่แสดงและจำหน่ายนั้น ไม่ได้โดดเด่น หรือมีความจำเป็นที่จะต้องซื้อนอกจากนั้น สินค้าประเภทอาหาร ก็อาจจะไม่สด หรือใกล้จะหมดอายุ หรือหมดอายุไปแล้ว แต่ผู้ซื้อไม่ทราบ เพราะไม่มีวันที่ผลิต วันที่หมดอายุระบุไว้เป็นต้น ดังนั้นหากนำสินค้าประเภทอาหารมาขาย ควรจะต้องระบุวันหมดอายุเอาไว้ให้ชัดเจน เพราะหากสินค้าหมดอายุแล้วยังวางขาย ผู้ที่ซื้อไป ก็จะเข็ด สินค้าก็ไม่อร่อย เหม็นหืน และจะไม่กลับไปซื้ออีก

 
ทั้งนี้ การสร้างศูนย์สินค้า OTOP ไม่ควรอ้างว่าเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว ต้องดูความเป็นไปได้ คือสร้างขึ้นมาแล้วได้ประโยชน์ หรือเวิร์ค อย่าคิดทำใหญ่โตมาก ถ้ายังไม่แน่ใจ ในการจัดงบประมาณเรื่องศูนย์สินค้า OTOP น่าจะมีการแบ่งงบส่วนหนึ่งไว้สำหรับจ้างเอกชนคนกลาง ไปทำ Appraisal (อย่าให้ทางราชการทำกันเอง) เพื่อทบทวนดูว่าในประเทศไทย มีศูนย์สินค้า OTOP กี่แห่งที่ขายได้ เลี้ยงตัวเองได้มีเท่าไร ต้องมีการตรวจบัญชีกันด้วย รวมทั้งดูเรื่อง Process และการบริหาร หรือพูดง่ายๆว่า ทบทวน Business Plan กันใหม่ เพราะหลายปีมาแล้วมีศูนย์ OTOP นับพันแห่ง ลงทุนไปนับหมื่นล้านบาท แล้วนำเสนอว่า
 
ศูนย์ OTOP ใดควรจะได้รับการฟื้นฟู (Rehabilitation) โดยให้งบประมาณสนับสนุน และศูนย์ใดควรจะยุบทิ้งก็ต้องยุบ สำหรับศูนย์ที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ ก็สร้างกันไป แต่ก็ควรระวังเรื่อง Key Success Factor ด้วย เท่าที่ทราบ ศูนย์ OTOP ใหม่ที่กำลังจะดำเนินการ ก็ถูก Factors บางอย่างมากำหนด หรือเจ้าของโครงการกำหนดขึ้นมาเอง เช่น เรื่องสถานที่ตั้ง เรื่องที่ดิน ดังนั้น เราจะต้องรอดูกันต่อไปว่าจะประสบความสำเร็จแค่ไหน

อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
531
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด