บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.5K
3 นาที
3 พฤศจิกายน 2564
Graphic Income แนวทางใหม่ หาเงินจากรูปวาด NFT
 

ยุคสมัยได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงแม้แต่การลงทุนตอนนี้กระแสของ Cryptocurrency เป็นกระแสฮิตที่มีอัตราเติบโตชัดเจนยกตัวอย่าง กระแสของ Bitcoin ที่เติบโตขึ้นถึง 300% ในปี 2020 หรือการใช้ระบบ Blockchain ที่ให้ความปลอดภัยที่มากกว่าระบบที่ใช้ในปัจจุบัน

แต่สิ่งที่ www.ThaiFranchiseCenter.com สนใจคือเรื่องของการสร้างรายได้เราไม่ได้โฟกัสแค่กลุ่มนักลงทุนเท่านั้น ตอนนี้ถ้าเราเป็นกราฟฟิคดีไซน์ หรือมีผลงานศิลปะที่เคยออกแบบไว้ เราสามารถยกงานพวกนี้ออกมาขายในระบบที่เรียกว่า NFT (Non-Fungible Token) อาจสร้างรายได้ที่ดีให้กับเราเกินคาด
 
รู้จักหรือยัง? NFT (Non-Fungible Token)
 
ภาพจาก freepik.com

NFT หรือ Non-Fungible Token ซึ่งเป็น Cryptocurrency ประเภทหนึ่งที่รันอยู่บนระบบ Blockchain แต่ความพิเศษของ NFT คือ แต่ละ Token จะมีลักษะเฉพาะตัวที่ไม่มีอะไรสามารถมาทดแทน Token นี้ได้ ซึ่งคำว่า “Non-Fungible” หมายถึงสิ่งที่ไม่มีอะไรสามารถมาทดแทน หรือ แยกย่อยไปเป็นสิ่งอื่นๆไม่ได้ เช่น ภาพวาดของโมนาลิซ่า ถึงแม้จะมีคนวาดภาพตามให้เมือนขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่มาทดแทนตัวภาพวาดของจริงตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ได้เป็นต้น
 
ดังนั้น NFT ก็คืองานศิลปะในรูปแบบกายภาพ หรือ แบบดิจิทัล ที่นำมาแปลงเป็น NFT หรือ Non-Fungible Token แล้วลงขายกับผู้ให้บริการต่างๆที่เป็นแพลทฟอร์มสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนผลงานศิลปะที่อยู่ใน NFT Marketplace ได้โดยผู้ที่ถือสินทรัพย์นี้มีความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และ ตัวสินทรัพย์นั้นๆจะถูกเก็บรักษาไว้ในฐานข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงสุดของระบบปฏิบัติการนี้
 
NFT จะสร้างรายได้ให้เราได้อย่างไร??
 
ภาพจาก https://bit.ly/3GLBsnU

หากเราเป็น Creator หรือผู้สร้างสรรค์ ก็สร้างผลงานดิจิทัลแล้วโพสท์ขายในตลาด ผลงานที่สามารถนำมาโพสท์ขายได้มีตั้งแต่ภาพวาด เพลง ของสะสม หรือแม้กระทั่งข้อความในทวิตเตอร์ ซึ่งผลงานทุกชิ้นต้องอยู่ในฟอร์แมทไฟล์แบบดิจิตอล เช่น JPG, GIF, MP3, MP4 เป็นต้น หากเรามีภาพวาดสีน้ำ สีน้ำมันบนแคนวาส เราก็ต้องทำการสแกนเพื่อให้กลายเป็นไฟล์ก่อนที่จะทำการโพสท์ขาย

ซึ่งการขายก็สามารถตั้งราคาแบบตายตัว หรือให้เป็นราคาประมูลได้เช่นกัน และการขายผลงานใน NFT Marketplace จะไม่ใช่การซื้อขายที่ถูกทำให้จบในครั้งเดียว เพราะหลังจากที่เจ้าของได้ขายผลงานให้บุคคลที่ 1 และได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว การที่บุคคลที่1นำผลงานที่ได้ซื้อไป ขายให้กับบุคคลที่2 เจ้าของผลงานเดิมก็จะได้ส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นจากการขายนั้นด้วย!! ทำให้เจ้าของผลงานได้รับผลตอบแทนที่ไม่รู้จบ แถมมีความปลอดภัยสูง ไม่มีใครสามารถลอกเลียนผลงานของเราแล้วเอาไปขายต่อได้ 
 
นอกจากนี้ยังมีการหารายได้ด้วยการเทรด NFT ซึ่งหากต้องการลงทุนในทรัพย์สินประเภทนี้ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของเจ้าของผลงานอย่างใกล้ชิด เพราะมูลค่าของแต่ละชิ้นงานมีความสัมพันธ์กับความเป็นที่รู้จักหรือความมีชื่อเสียงของผลงาน
 
ขั้นตอนเบื้องต้นเริ่มทำ NFT (Non-Fungible Token)
 
รายละเอียดของการทำ NFT (Non-Fungible Token) หากศึกษาพบว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากในที่นี้จะลองนำเสนอขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับมือใหม่ที่อยากลองทำ NFT (Non-Fungible Token
 
1.ต้องมีกระเป๋า Crypto Wallet โดยอาจติดตั้งเป็นส่วนขยายของเว็บบราวเซอร์ Chrome บน PC หรือ Notebook ได้
 

ภาพจาก https://bit.ly/3k0OBjt
 
2.เปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล กับ Exchange ที่ได้รับความนิยมอย่าง Binance หรือกับผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตจากทาง ก.ล.ต. เช่น Bitkub, Satang Pro, Kulap, Zipmex ฯลฯ จากนั้น ซื้อ และเติมเงิน Crypto สกุล Ethereum (ETH) ประมาณ 0.01 – 0.02 eth หรือราว 800-1,500 บาท เข้าไปในกระเป๋า Wallet MetaMask
 
3.เตรียมงานที่ต้องการจะนำมาแปลงเป็น NFT โดยหากเป็นไฟล์ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลอยู่แล้ว เช่น PNG, GIF, WEBP, MP4 ก็สามารถนำมาใช้งานได้เลย แต่หากเป็นงานศิลปะที่วาดอยู่บนกระดาษ เฟรมผ้าใบ หรือวัสดุอื่น ก็สามารถใช้การสแกน หรือถ่ายรูป เพื่อให้งานนั้นกลายมาอยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล เช่น JPEG ได้
 
4.เมื่อเตรียมไฟล์งานพร้อมแล้วก็ เข้าไปที่เว็บไซต์ OpenSea หรือเว็บอื่นตามที่ต้องการ
 
ภาพจาก https://opensea.io/
 
5.กด “Connect Wallet” เพื่อเชื่อมกระเป๋า ในกรณีที่ต้องการเป็นเพียงแค่ ‘ผู้ซื้อ’ หรืออยากลองเริ่มเก็บสะสมงาน NFT ก็สามารถค้นหา หรือเลือกซื้องาน NFT ประเภทที่สนใจตามมูลค่าเงินที่เติมไปไว้ได้เลยทันที 
 
6.ในกรณีที่ต้องการเป็น ‘ผู้ขาย’ ให้กดปุ่มสร้างงาน หรือ ‘Create’ 
 
7.เลือก รูปแบบการขาย โดยมี 2 แบบให้เลือก คือแบบราคาตายตัว (Fixed Price) ซึ่งสามารถกำหนดราคาขายตายตัวได้ และแบบประมูลอิสระ (Unlimited Auction) ซึ่งผู้ซื้อสามารถเสนอราคามาได้เรื่อย ๆ จนกว่าผู้ขายจะพอใจ
 
8.ใส่ชื่องาน , คำอธิบาย , ใส่ค่าตอบแทน หรือ % ส่วนแบ่งที่เราจะได้รับหากมีการขายงานชิ้นนี้ในครั้งถัด ๆ ไป รวมถึง ใส่คุณสมบัติ) ของงาน เช่น ขนาดภาพ, ไซส์ของตัวงานจริง ฯลฯ และกดสร้าง “Create item”
 
มีใครบ้างที่หันมาสร้างรายได้จาก NFT
 
มีคนในหลายวงการที่เริ่มหันมาสนใจสร้างรายได้จาก NFT โดยเฉพาะบรรดานักร้องนักแสดงและคนในวงการบันเทิงต่างๆ ส่วนหนึ่งเพราะ NFT สามารถแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างดี มาดูกันว่ามีใครที่สร้างรายได้จากช่องทางนี้บ้าง

ภาพจาก IG modernpod
 
1.“ป๊อด โมเดิร์นด็อก” ที่หันมาเอาดีกับงานศิลปะ โดยเขียนภาพขายตลาดศิลปะออนไลน์ NFT art และมีการจัดนิทรรศการภาพ เปิดสอนวาดภาพ ควบคู่กับการเป็นนักร้อง
 
ภาพจาก https://bit.ly/3CFTGoE
 
2.มีม ‘Disaster girl’ หรือ สาวน้อยแห่งหายนะ ต้นฉบับรูปภาพมีม ‘Disaster girl’ หรือ ‘สาวน้อยแห่งหายนะ’ ซึ่งเป็นรูปของเด็กหญิงอายุ 4 ขวบที่กำลังยืนแสยะยิ้มอยู่ โดยมีฉากหลังเป็นอาคารที่กำลังถูกไฟไหม้ ถูกประมูลผ่านตลาด NFT ในราคาถึง 473,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 14.7 ล้านบาท) 
 
3.ทวีตแรกของโลกจาก ‘แจ็ก ดอร์ซีย์’ ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของทวิตเตอร์ ที่ทวีตไว้ตั้งแต่ปี 2549 ถูกนำมาประมูลขายผ่าน NFT ในราคาถึง 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 90 ล้านบาท)
 
ภาพจาก https://bit.ly/3CFTGoE
 
4.หน้าปกการ์ตูน ‘ขายหัวเราะ’ ฉบับแรกพร้อมลายเซ็นของ บก.วิธิต ในรูปแบบดิจิตอล ไฟล์ก็ถูกนักสะสมประมูลไปเมื่อเดือน เมษายน 2564 ที่ราคาสูงถึงราว 1.07 ล้านบาท
 
5.ติ๊ก ชีโร่ นำผลงานรูปวาดของตัวเองสู่ระบบของ Opensea และถูกประมูลไปที่ราคาราวๆ 20,000 บาท
 
6.ยังโอห์ม ศิลปินแร็ปเปอร์ชื่อดัง ได้นำผลงาน NFT ภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงให้นักสะสมได้ร่วมทำการประมูล และถูกปิดประมูลไปในราคาราว 150,000 บาท
 

ภาพจาก https://bit.ly/3CFTGoE
 
7.หรือในวงการกีฬาอย่างบาสเกตบอล NBA มีการเปิดประมูลช็อตทำคะแนนสวยๆ จากนักกีฬาดังๆ อย่าง เลบรอนด์ เจมส์ และไมเคิล จอร์แดน โดยมีมูลค่าที่ถูกประมูลสูงถึง 245,000 เหรียญสหรัฐฯ (7.6 ล้านบาท) ซึ่งเป็นมูลค่าเพียงแค่คลิปเดียวเท่านั้น
 
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงผลงานของเราเป็น NFT จะมีค่าธรรมเนียม (Gas fee) ซึ่งในช่วงราคาสูงเราอาจปฏิเสธได้และค่อยทำในช่วงที่ค่าธรรมเนียมมีราคาถูกลง ทั้งนี้ NFT ได้กลายมาเป็นสินทรัพย์ดิจิตอลที่ได้ถูกนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรม แทนสินค้าหรือผลงานหลายอย่าง

เช่น อุตสาหกรรมเกมส์ได้มีการนำมาใช้กับ item หรือการ์ดในเกมส์ ทำให้สามารถซื้อขายกันได้อย่างสะดวก หรือวงการเพลง ศิลปินนักร้องนักดนตรีสามารถนำผลงานตัวเองมาทำเป็น NFT ในรูปแบบต่างๆ ให้แฟนคลับสั่งซื้อ นอกจากนั้น NFT ยังสามารถนำไปใช้แทนบัตรคอนเสิร์ต คูปอง การ์ด ของสะสมต่างๆ 
 
ติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด