บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ไอเดียธุรกิจ
928
2 นาที
18 มกราคม 2566
7 วิธีเพิ่มรายได้! สวนกระแส “ต้นทุนแพง”
 

ต้นปี 2566 สิ่งที่เราต้องรับมือกันอย่างแรกคือปัญหาค่าครองชีพที่แพง ยิ่งดูตัวเลขยิ่งน่าตกใจพบว่าครัวเรือนไทยเกือบครึ่งมีรายได้น้อยกว่าค่าครองชีพเฉลี่ย เพราะกว่า 40% มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 16,852 บาท น้อยกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนพฤศจิกายนที่ 18,146 บาท และยังพบว่ากลุ่มที่เรียกว่ารายได้น้อยสุดคือมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 11,135 บาท สำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 22,106 บาท

ซึ่งถ้าเทียบเคียงกับรายจ่ายเฉลี่ยทำให้มองเห็นภาพว่าแทบไม่มีเหลือเก็บ แค่ใช้ประทังชีวิตไปแต่ละเดือนก็ยังแทบไม่พอ ปัญหานี้มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ เพราะเมื่อประชาชนไม่มีกำลังซื้อ คนทำธุรกิจก็ต้องปรับตัวมากขึ้นด้วย

www.ThaiFranchiseCenter.com เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายคนคงกลุ้มใจไม่น้อยทั้งกำลังซื้อที่หดหาย ต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น ล้วนแต่เป็นปัญหาที่ไม่อาจรอคอยให้ใครมาช่วยได้นอกจากต้องพยายามช่วยตัวเองจนสุดความสามารถเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ลองรวบรวมแนวทางที่พอจะเป็นไปได้ให้คนทำธุรกิจลองนำไปปรับใช้ในการเพิ่มรายได้สวนกระแสต้นทุนที่แพงขึ้น

1.อัพเกรดสินค้าให้ดูเด่นกว่าคู่แข่ง
 

เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านที่น่าสนใจมากที่สุดเท่านั้น วิธีเพิ่มรายได้ในยุคต้นทุนแพงที่น่าสนใจคือทำสินค้าเราให้ดูโดดเด่นกว่าคู่แข่ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราต้องเพิ่มต้นทุนเข้าไปเพราะหากเป็นเช่นนั้นราคาสินค้าเราอาจแพงจนไม่น่าสนใจ แต่การทำสินค้าให้เด่นมีหลายอย่างทั้งการโฆษณา , การจัดโปรโมชั่น ต่างๆ เป็นต้น
 
2.พัฒนาให้สินค้ากลายเป็นส่วนหนึ่งของลูกค้า
 

การที่สินค้าราคาแพง คนอาจหลีกเลี่ยงไม่ซื้อ นั่นเพราะเขามองว่าสินค้านั้นยังไม่จำเป็น แต่หากเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องซื้อ ต้องให้ ต้องมี ต่อให้มีราคาแพง ยังไงก็ต้องซื้อ ในหมวดหมู่ของอาหารอาจจะให้วิธีนี้ได้ยาก แต่ก็สามารถทำได้ เช่นการทำเมนูเน้นสุขภาพที่ทำให้คนรักสุขภาพมองว่าแม้จะราคาแพงแต่ถ้าแลกมากับสุขภาพที่ดี ก็คุ้มค่าที่จะจ่ายเงิน เป็นต้น
 
3.ใช้วิธีคำนวณต้นทุนให้สอดคล้องกับราคาตลาด


เมื่อต้นทุนทุกอย่างแพง อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับราคาสินค้าขึ้นบ้าง แต่การขึ้นราคานี้ต้องสมเหตุสมผลในระดับที่เราอยู่ได้ คนซื้อยังซื้อไหว จึงต้องคำนวณราคาต้นทุนต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบ เช่นค่าวัตถุดิบ , ค่าจ้างพนักงาน , ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น การขยับราคาต้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง ไม่ใช่การฉกฉวยขึ้นราคาแบบไม่มีเหตุผล จะทำให้ลูกค้าลดน้อยลงได้
 
4.เพิ่มการขายในช่องทางออนไลน์
 

ข้อดีของการขายในช่องทางออนไลน์คือต้นทุนการบริหารจัดการที่ลดลง ดูจากตอนที่เกิดวิกฤติโควิด หลายคนตัดสินใจเลิกเปิดหน้าร้านและหันมาทำ Home Kitchen แทน และสามารถประหยัดต้นทุนได้มาก เพราะไม่ต้องมีค่าเช่าสถานที่ , ค่าจ้างพนักงานทำให้นำต้นทุนที่ลดลงนี้มาถัวเฉลี่ยกับราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นได้ ราคาสินค้าที่ขายก็อาจจะไม่ต้องปรับตัวสูงมากเกินไปด้วย
 
5.เพิ่มยอดขายในทุกช่องทางโซเชี่ยล
 

เมื่อต้นทุนสินค้ามีราคาแพง สิ่งที่ตามมาคือยอดขายที่ลดลงเพราะคนต้องประหยัดในการจับจ่าย ดังนั้นวิธีการเพิ่มรายได้ของผู้ประกอบการคือการเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุดในทุกช่องทางโซเชี่ยล เพราะนี่คือข้อดีของยุคนี้ที่การตลาดออนไลน์เหล่านี้แทบจะไม่มีต้นทุน (ถ้าไม่ซื้อโฆษณา) และหากเป็นคนที่มีไอเดียในการขายที่ดีจะยิ่งทำให้การเข้าถึงสินค้าของลูกค้ามีมากขึ้น สร้างรายได้ชดเชยกับลูกค้าบางคนที่อาจหายไปเนื่องจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น
 
6.ลดแลก แจกแถมบ้างในบางโอกาส
 

ต้นทุนที่แพงขึ้น ราคาสินค้าที่ต้องปรับขึ้น ในมุมของคนซื้อย่อมต้องการสินค้าที่คุ้มค่า ดังนั้นผู้ประกอบการอาจมีเทคนิคง่ายๆ ในการรักษาฐานลูกค้าให้คงอยู่ต่อไปด้วยการลดแลก แจกแถมในบางโอกาส เช่นข้าวราดแกงที่ราคาแพงขึ้น อาจแถมไข่ดาวให้ในบางครั้ง หรือร้านข้าวเหนียวหมูทอด ไก่ทอด ราคาที่ปรับตัวขึ้นเจ้าของร้านอาจเพิ่มหมูให้ลูกค้าประจำสักชิ้นสองชิ้น เป็นต้น แน่นอนว่าลูกค้าจะประทับใจและรู้สึกว่าไม่ถูกเอาเปรียบจนเกินไป
 
7.ปรับราคาสินค้าลดลง เมื่อต้นทุนสินค้าถูกลง
 

ปัญหาที่เคยได้ยินส่วนใหญ่คือเมื่อต้นทุนแพงก็ปรับราคาสินค้าแพง แต่พอต้นทุนถูกราคาสินค้าไม่ปรับลง เรื่องแบบนี้จะทำให้เรามีโอกาสเสียลูกค้าได้มาก ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดีต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้นทุนเมื่อปรับลดลงก็ควรปรับราคาสินค้าให้ลดลงตาม เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกพอใจ เป็นการรักษาฐานลูกค้าให้อยู่กับเราไปนานๆ ได้ด้วย
 
ทั้งนี้ปัญหาต้นทุนการผลิตที่แพง กำลังซื้อที่หดหาย อาจจะกลายเป็นเรื่องที่ต้องเผชิญกันอีกนาน ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงยิ่งกว่าตอนนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการวางแผนรับมือ การเตรียมความพร้อม การหาแผนสำรองในกรณีฉุกเฉินต่างๆ และต้องไม่ลืมเรื่องของเทคโนโลยีที่นับแต่นี้จะเข้ามามีบทบาทกับธุรกิจมากยิ่งขึ้นด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,628
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,314
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
519
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
517
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
455
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด