บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
4.2K
1 นาที
11 เมษายน 2557
8 มาตรการกีดกันการค้าที่ SMEs ควรรู้ก่อนเปิด AEC

8 กลุ่มมาตรการกีดกันการค้าที่ SMEs ต้องรู้
      
หลังจากการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบ AEC แล้วคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า อุปสรรคในเรื่องของกำแพงภาษีจะหมดลงไปจากการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง
      
แต่ในความถูกต้องนั้น กลับมีอุปสรรคใหม่ที่ดูเหมือนว่าจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการไม่น้อยทีเดียว หรือบางครั้งอาจส่งผลกระทบมากกว่าเรื่องของภาษีด้วยซ้ำ ใช่แล้วสิ่งที่เรากำลังเอ่ยถึง นั่นคือ “มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี” ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศในอาเซียน ที่จะมีผลทำให้แนวโน้มการค้าเพิ่มขึ้นได้ไม่เร็วนักอย่างที่คาดไว้
      
จากบทวิคราะห์ของ SCB EIC ได้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้จะมีการลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีภายใต้ AEC ไปแล้ว แต่อุปสรรคสำคัญที่ยังคงอยู่ คือ มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ซึ่งนอกจากการขจัดและลดรายการได้ค่อนข้างล่าช้าแล้ว หลายประเทศกลับมีการออกมาตรการที่มิใช่ภาษีเพิ่มเติมอยู่ตลอด ส่งผลให้ธุรกิจยังใช้โอกาสและประโยชน์จากตลาดอาเซียนได้ไม่เต็มที่นัก
      
สำหรับมาตรการที่มิใช่ภาษีนั้น มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและจากความล่าช้าในการค้าขายส่งมอบสินค้า
      
ทั้งนี้ อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี (Non-Tariff Barriers: NTB) ได้ถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
  1. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD) ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติ โดยอ้างว่ามีการทุ่มตลาดจากบริษัทผู้ส่งออกมายังประเทศผู้นำเข้า
  2. มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Counter-Vailing Duty : CVD) ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุนเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติโดยอ้างว่า สินค้านำเข้าได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลประเทศที่ผลิตสินค้านั้นๆ
  3. มาตรการปกป้องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard) ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรปกป้องเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติได้ โดยอ้างว่ามีการนำเข้าที่ผิดปกติ ทั้งในรูปของการนำเข้ามาของสินค้าในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือมีการนำเข้ามาในราคาที่ต่ำกว่าปกติ
  4. มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary : SPS) การใช้มาตรฐานเรื่อง SPS ที่สูงมาก จนเป็นอุปสรรคต่อสินค้านำเข้าในเชิงพาณิชย์
     
  5. มาตรการอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barrier to Trade :TBT) กำหนดมาตรฐานทางการค้า เช่น การกำหนดการติดฉลากและบรรจุภัณฑ์ที่สูงมาก จนเป็นอุปสรรคต่อสินค้านำเข้าในเชิงพาณิชย์
  6. มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น นำเรื่อง ปัญหาโลกร้อน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มาเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า
     
  7. มาตรการด้านแรงงาน ตัวอย่างเช่น สินค้านำเข้า ต้องไม่ได้ผลิตโดยเด็กหรือนักโทษ เป็นต้น
  8. NTB รูปแบบอื่นๆ เช่น การจัดซื้อโดยรัฐ การผูกขาดการนำเข้า การกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น
อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด