บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ไอเดียธุรกิจ
937
3 นาที
3 พฤษภาคม 2566
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! Shake Shack
 

Shake Shack แบรนด์ร้านเบอร์เกอร์ชื่อดังจากอเมริกาหลังจากได้เข้ามาเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย
 
www.ThaiFranchiseCenter.com คิดว่ามีหลายคนที่อยากไปลองกินสักที และเพื่อให้รู้ลึกรู้จริงมาดูกันว่าเบอร์เกอร์
 
แบรนด์ดังมีเรื่องจริงอะไรที่เรายังไม่รู้บ้าง 
 
1. Shake Shack เริ่มต้นจากธุรกิจรถเข็นขายฮอทดอกเล็กๆ
 

ภาพจาก facebook.com/shakeshackthailand

ก่อนจะเป็นแบรนด์เบอร์เกอร์รายใหญ่เจ้าดัง จุดเริ่มต้นของธุรกิจตั้งแต่ปี 2001 เป็นแค่รถเข็นขายฮอทด็อกเล็ก ๆ ชื่อ ‘I ❤Taxi’ ที่ Madison Square Park ในนิวยอร์ก ก่อนจะได้รับความนิยมจนก่อตั้งเป็นร้าน Shake Shack เมื่อปีค.ศ. 2004
 
เจ้าของแบรนด์คือ Danny Meyer ปัจจุบันมีเมนูมากมายทั้งเบอร์เกอร์ มันฝรั่งทอด ฮอทดอกและมิลค์เชค จนปัจจุบันมี 439 สาขาทั่วโลก
 
2. Shake Shack มีโมเดลร้านที่อยู่บนกระดาษทิชชู่
 

ภาพจาก facebook.com/shakeshackthailand

ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่าสมัยที่ยังเป็นแค่รถเข็นขายฮอทด็อก Danny Meyer ได้ร่างร้านฉบับปรับปรุงใหม่ขึ้นมาบนกระดาษทิชชู โดยมีเมนูมากมาย เช่น คัสตาร์ดแช่แข็ง เฟรนช์ฟรายส์ เบอร์เกอร์ทูน่า โดนัท คุกกี้ช็อกโกแลตฟัดจ์ ซันเดย์ คัสตาร์ดในโคน กาแฟ และน้ำผลไม้ต่างๆ
 
3.ทำไมต้องชื่อ “Shake Shack”?
 

ภาพจาก facebook.com/shakeshackthailand

แบรนด์ Shake Shack ไม่ใช่ชื่อแรกที่คิดได้ทันที ก่อนหน้านี้มีหลายชื่อที่คิดจะใช้ เช่น Frostee Shake, Madison Mixer, Parking Lot, Custard’s First Stand, Dog Run และ Custard Park แต่สุดท้ายก็ตั้งชื่อว่า ‘Shake Shack’ โดยนำมาจากภาพยนตร์เรื่อง Grease โดย Shake Shack เป็นชื่อของเครื่องเล่นปรากฎระหว่างที่ Olivia Newton-John และ John Travolta ร้องเพลง ‘You're the One that I Want’ ในช่วงท้ายของภาพยนตร์
 
4. Shake Shack พัฒนาเมนูที่เหมาะสมในแต่ละประเทศ
 

ภาพจาก facebook.com/shakeshackthailand

ด้วยการขยายสาขาไปหลายประเทศทั่วโลกซึ่งแน่นอนว่าแต่ละประเทศย่อมมีวัฒนธรรมและประเพณี ที่แตกต่างนำมาซึ่งความต้องการสินค้าที่แตกต่างกัน และกลายเป็นความน่ารักของ Shake Shack ที่ผสมผสานร่วมกับอาหารท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ และขายในพื้นที่นั้นโดยเฉพาะ เช่น ขนมคัสตาร์ดเสิร์ฟพร้อมซอสคาราเมลเบคลาวา กล้วย และอบเชย ในอิสตันบูล หรือเค้กฮันนี่อัลมอนด์เชคในดูไบ เป็นต้น
 
5.เมนูของ Shake Shack ที่คนไทยต้องรู้จัก
 

ภาพจาก facebook.com/shakeshackthailand

ในประเทศไทยก็มีเมนูของ Shake Shack ที่สะท้อนความเป็นไทยอยู่หลายรายการ เช่น มิลค์เชคข้าวเหนียวเจลลีใบเตย, คัสตาร์ดผสมคาราเมลน้ำปลาหวาน, คัสตาร์ดผสมเนื้อมะพร้าวกะทิและคัสตาร์ดช็อกโกแลตรสเข้มข้น เป็นต้น ซึ่งได้ After You แบรนด์เบเกอรีชื่อดังของไทย มาร่วมทำบราวนี่ให้ Shake Shack โดยเฉพาะอีกด้วย
 
6. Shake Shack เคยผลิตหนังสือ “Shake Shack : Recipes & Stories”
 
ภาพจาก https://amzn.to/3VqTPWZ

ในปี 2017 Shake Shack เคยทำหนังสือชื่อว่า “Shake Shack : Recipes & Stories” บอกเล่าเรื่องราวเส้นทางของแบรนด์ตั้งแต่จุดเริ่มต้น การขยายตัวของแบรนด์ ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ และสิ่งที่น่าสนใจคือมีการแบ่งปันสูตรอาหารเมนูต่าง ๆ ด้วย แม้ว่าสูตรที่เขียนลงไปจะไม่ใช่ของ Shake Shack ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็มีผลด้านการตลาดที่ทำให้คนรู้จักแบรนด์และยังทำตามเมนูในหนังสือของ Shake Shack ด้วย
 
7.เคยลงทุนกว่า 1 ล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาเฟรนช์ฟรายส์รูปแบบใหม่
 

ภาพจาก facebook.com/shakeshackthailand

ในปี 2004 Shake Shack ได้นำเฟรนช์ฟรายส์เพิ่มเข้ามาเป็นเมนูใหม่ โดยเฟรนช์ฟรายส์ในตอนแรกเป็นแบบแช่แข็งและนำมาทอด ซึ่งขัดกับความตั้งใจของแบรนด์ที่ต้องการเสิร์ฟสิ่งที่สดใหม่และมีคุณภาพให้กับลูกค้า จึงได้ทุ่มเงิน 1 ล้านดอลลาร์เพื่อเปลี่ยนจากของทอดแช่แข็งเป็นของทอดที่มีความสดใหม่แต่น่าเสียดายที่เฟรนช์ฟรายส์แบบใหม่ไม่ถูกใจลูกค้า แถมยอดขายกลับลดลงและลูกค้าเรียกร้องให้นำเฟรนช์ฟรายส์แบบเก่ากลับมา 
 
8.เมนูลับของ Shake Shack ที่คุณอาจไม่รู้
 

ภาพจาก facebook.com/shakeshackthailand

ใครที่เป็นแฟนของ Shake Shack รู้ดีว่าแบรนด์นี้มีเมนูหลากหลายรวมถึงเมนูลับที่หลายคนอาจไม่รู้ เช่น Peanut Butter ที่เสิร์ฟพร้อมกับ Bacon Shack Burger โดยแต่ก่อนเมนูนี้มีอยู่ในเมนูปกติ แต่ได้นำออกไปเพราะกังวลเกี่ยวกับผู้ที่แพ้ถั่ว ทำให้กลายเป็นเมนูลับที่ใครอยากกินต้องสั่งเอาเอง นอกจากนี้ยังมีเมนูลับอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น Shandy เบียร์ผสมน้ำมะนาว, Quad Burger เบอร์เกอร์เนื้อ 4 ชั้น และ Beer Float ไอศกรีมในเบียร์ เป็นต้น
 
9.เปิดสาขาแรกในประเทศไทยที่ “เซ็นทรัลเวิลด์”
 

ภาพจาก facebook.com/shakeshackthailand

เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับแฟนพันธุ์แท้ของ Shake Shack ที่จะได้เจอกับสาขาแรกของ Shake Shack ในประเทศไทย โดยเปิดตัวที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา พิกัดร้านอยู่บริเวณชั้น 1โซน I (อิเซตันเดิม) บนพื้นขนาดใหญ่กว่า 500 ตร.ม. ภายใต้การนำเข้าของ ‘แม็กซิมส์ เคเทอร์เรอร์ จำกัด (Maxim’s Caterers Limited)’ หนึ่งในบริษัทชั้นนำเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มในภาคพื้นเอเชีย
 
10. Shake Shack ประเทศไทย ตั้งเป้าขยายสาขาครบ 15 แห่งภายในปี 2575
 

ภาพจาก facebook.com/shakeshackthailand

หลังจากเปิดตัวสาขาแรกอย่างเป็นทางการที่เซ็นทรัลเวิร์ล พื้นที่ต่อไปที่คาดว่าจะขยายสาขาเข้าไป คือ ศูนย์การค้า Emporium หรือ Emquartier ที่ถือว่าเป็นทำเลชั้นยอดและเป็นจุดยุทธศาสตร์การขยายสาขาของทางแบรนด์ในหลายประเทศ เพราะที่ผ่านมา Shake Shack มักจะเลือกเปิดสาขาในใจกลางเมืองใหญ่ทั่วโลกทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ลอนดอน, อิสตันบูล (ตุรกี) , ดูไบ (สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์) , โดฮา(การ์ตาร์) ,โตเกียว และโอซาก้า (ญี่ปุ่น) , โซล (เกาหลีใต้) , เซี่ยงไฮ้ (จีน) , ฮ่องกง , สิงคโปร์ เป็นต้น
 
ทั้งนี้รูปแบบเมนูในร้าน Shake Shack ประเทศไทยจะเป็นการนำทั้งเมนูซิกเนเจอร์เบอร์เกอร์ต่างๆ จากอเมริกา และเมนูสไตล์ฟิวชั่นแบบไทยเข้ามาผสมผสานภายในร้าน โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีทั้งอาหารที่เป็นมังสวิรัติ และเนื้อสัตว์ สดใหม่ไม่มีเเช่เเข็ง ตอบโจทย์กลุ่มคนที่รักเบอร์เกอร์ อีกทั้งยังมีเมนูเครื่องดื่ม ของหวาน และแอลกอฮอล์ภายในร้านด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
749
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
500
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
425
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
416
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด