บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    การวางแผนธุรกิจ
4.6K
2 นาที
16 สิงหาคม 2566
ค่าเช่าควรเป็นกี่ % ของยอดขาย ถึงจะอยู่ได้
 

ขายดีซะมากมายแต่สุดท้ายค่าเช่าเอาไปกินหมด! เราเคยคุยกับร้านที่มาเช่าพื้นที่ด้านหน้าร้านสะดวกซื้อ เขาบอกว่าต้องจ่ายเดือนละ 15,000 ไม่รวมค่าน้ำค่าไฟ ได้ยินแบบนี้ก็อึ้ง ถามต่อว่าแบบนี้พี่อยู่ได้เหรอ? เขาก็บอกว่าพอได้กินได้ใช้แต่ไม่มีเหลือเก็บ! !! ก่อให้เกิดคำถามในใจว่า “ต้นทุนค่าเช่า” คืออีกตัวแปรสำคัญของธุรกิจ มันควรจะเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ? 
 
เราควรต้องจ่ายแค่ไหน? ร้านเราจึงจะมีกำไรให้เหลือกินเหลือเก็บบ้าง
 
ชนิดของ “ค่าเช่า” ที่เราควรรู้?
 

ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามรายได้ของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง เช่นค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน ค่าอุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่าค่าเช่าก็มี 2 ประเภท
 
1.ค่าเช่าตายตัว (Fixed rent) เป็นลักษณะต้นทุนคงที่ ตกลงกันไว้เท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น (จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสัญญา) ซึ่งส่วนใหญ่สัญญาค่าเช่าก็นิยมทำในรูปแบบนี้ข้อดีคือเห็นต้นทุนชัดเจนว่าแต่ละเดือนเราต้องหาเงินให้ได้เท่าไหร่ ต้องขายของให้ได้เท่าไหร่ เพื่อให้มีเงินพอจ่ายค่าเช่า หักลบรายจ่าย คือมองเห็นภาพรวมกำไรง่ายขึ้น
 
2.ค่าเช่าแบบสัดส่วนยอดขาย ( Percentage rent) หรือ GP ค่าเช่าแบบนี้จะไม่ได้กำหนดตัวเลขตายตัว เป็นการจ่ายตามยอดขายประมาณ 17 – 30% ของรายได้ ซึ่งเงื่อนไขในแต่ละร้านแต่ละห้างก็จะไม่เหมือนกัน ข้อดีคือขายมากก็จ่ายมาก ถ้าช่วงไหนลูกค้าน้อย เราขายได้น้อยก็จ่ายน้อย ส่วนใหญ่ค่าเช่าแบบนี้จะใช้กับห้างหรือศูนย์การค้าที่เพิ่งเปิดใหม่ เปิดได้ไม่นาน ก็อยากให้พ่อค้าแม่ค้าเข้ามาจับจองพื้นที่ค้าขาย ก็จะเปิดสัญญาเช่าแบบนี้ในเบื้องต้น
 
 
แต่ค่าเช่าแบบ Fixed rent ที่โดยส่วนใหญ่ใช้กัน ก็มีทั้งที่คิดแบบเหมาต่อเดือนไปเลยว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ หรืออีกแบบคือใช้เกณฑ์พื้นที่ต่อตารางเมตรเป็นเกณฑ์ จะกำหนดราคาต่อตารางเมตรเท่าไหร่ก็อยู่ที่ทำเลของพื้นที่เป็นสำคัญ เช่น
 
  • ห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง ราคาอาจแพงหน่อยประมาณ 1,800 – 3,500 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน 
  • ห้างสรรพสินค้าที่อยู่นอกเมืองราคาต่อตารางเมตรอาจลดลง เช่น 1,500 – 2,500 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เป็นต้น
ต้นทุนค่าเช่าประมาณอยู่ 15 – 20%” ร้านอยู่ได้!!
 

คิดง่ายๆ ถ้าเรามียอดขายต่อเดือน 100 บาท ต้นทุนค่าเช่าไม่ควรเกิน 20 บาท เราจะเหลือเงินอีก 80 บาท เอาไปหักต้นทุนต่างๆ เช่นค่าแรง 15 บาท ต้นทุนวัตถุดิบ 40 บาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 5 บาท เท่ากับจะมีกำไรจริงๆ คือ 20 บาทต่อเดือน
 
แต่ถ้าค่าเช่าเราสูงเกินไปในขณะที่ค่าแรง + วัตถุดิบ + ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของเราก็ยังมี กำไรที่ควรจะเหลือก็จะไม่เหลือ ถึงได้บอกว่าทำไม “ค่าเช่า” ถึงเป็นตัวแปรที่สำคัญในการอยู่รอดของธุรกิจ และไม่ใช่แค่นั้น แม้ค่าเช่าจะเป็น ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) แต่ก็สัมพันธ์โดยตรงกับยอดขาย ถ้ายอดขายเราตกเมื่อไหร่ เปอร์เซ็นต์ค่าเช่าของเราก็จะสูงขึ้นทันที และจะไปเบียดเอากำไรให้เหลือน้อยลงหรือหายไปเลย

ดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้
 
สินค้า/ขาย ยอดขาย (บาท) ค่าเช่า (บาท)  คิด%(ค่าเช่า)
อาหาร 100,000 บาท 20,000 บาท 20%
  50,000 บาท 20,000 บาท 40%
  25,000 บาท 20,000 บาท  60%
 
ยิ่งยอดขายน้อย แม้ค่าเช่าจะคงที่เหมือนเดิม แต่ก็เป็นตัวไปฉุดกำไรให้ต่ำลง วิธีการที่ดีที่สุดคือต้องเพิ่มสัดส่วนยอดขายให้ไปสู่ “จุดคุ้มค่าในการลงทุน” ซึ่งก่อนเปิดร้านใดๆ ก็ตาม ควรคำนวณให้ชัด ยกตัวอย่างเช่น
  • ถ้าอยากเปิดร้านกาแฟแต่เจอค่าเช่าเดือนละ 20,000 บาท 
  • ร้านจะเปิดตั้งแต่ 8.00 – 17.00 น. รวมเวลาเปิดร้านคือ 9 ชั่วโมง
  • ขายกาแฟเฉลี่ยแก้วละ 50 บาท
  • คิดกำลังสูงสุดที่น่าจะขายได้คือ 100 แก้ว/วัน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 10 แก้ว
  • ใน 1 เดือนเราเปิดร้านประมาณ 25 วัน (ตัดวันหยุดของร้าน)
  • ยอดขายที่แท้จริงประมาณ 25 x 100 x 50 = 125,000 บาท
  • ค่าเช่า 20,000 / 125,000 = 16% 

แสดงว่าถ้าเป็นโมเดลตามที่คิดร้านกาแฟแห่งนี้มีต้นทุนค่าเช่าอยู่ที่ 16% ถ้าร้านมีวิธีในการเพิ่มยอดขายให้ดีเช่นมีโปรโมชัน , พัฒนาการขายช่องทางออนไลน์ หรือเพิ่มสินค้าในร้านให้น่าสนใจก็เท่ากับกระตุ้นให้เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น เมื่อไปเฉลี่ยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าเช่าก็จะถูกลงได้อีก แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ยอดขายตกลงไปจากที่คำนวณในเบื้องต้น เปอร์เซ็นต์ค่าเช่าก็จะสูงสวนทางขึ้นมาทันทีเช่นกัน
 
ฉะนั้นอย่าประมาทและอย่าคิดว่าค่าเช่าซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ จะไม่มีมีผลอะไรกับธุรกิจ หลายร้านที่ขายดีแต่ไม่รอดเพราะค่าเช่าก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่าง สำคัญคือคุณต้องวางโมเดลการขาย กำหนดกรอบให้ชัดเจน ว่าต้องทำยอดเท่าไหร่ ขายแค่ไหนถึงจะมีรายได้สัมพันธ์กับค่าเช่า ถ้าวางแผนดี บริหารดี ค่าเช่าแพงไหน เราก็สู้ได้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
790
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
708
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
520
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
431
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด