บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
9.1K
2 นาที
8 มีนาคม 2567
ส่อง! ร้านอาหาร เหลือแค่ไหน? GP Food Delivery 
 

กระแส Food Delivery แม้ตอนนี้ตัวเลขจะลดลงบ้างแต่ก็ยังถือว่าติดลมบนและเป็นอีกรูปแบบการขายที่คนทำธุรกิจยุคนี้ต้องนำมาใช้ ประเมินว่าตลาด Food Delivery ในปี 2567 จะมีมูลค่าประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566 แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งน่าจะปรับเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.8% หรือมีราคาเฉลี่ยประมาณ 185 บาทต่อครั้งของการสั่ง
 
ต้นทุนในการเข้าร่วมแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่ผู้ประกอบการต่างรู้ดีคือ “Gross Profit” (GP) ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละค่าย แต่มันก็ไม่ใช่แค่นั้นเพราะผู้ประกอบการจำเป็นต้องตั้งราคาโดยคำนึงถึง “วัตถุดิบที่แพงขึ้นด้วย” โดยในปี 2567 คาดว่าราคาอาหารเฉลี่ยจะต้องปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2.2% คำถามคือเมื่อสถานการณ์เป็นแบบนี้ การคิดค่า GP Food Delivery แบบไหนจึงจะถูกต้อง ชนิดที่ตั้งราคาขายแล้วไม่ขาดทุนจนต้องเข้าเนื้อตัวเอง
 
 
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าค่า GP ของแต่ละค่ายเดลิเวอรี่ตอนนี้เป็นเท่าไหร่กันบ้าง?
  1. Grab ค่า GP 30% (ไม่รวม VAT 7%)
  2. Foodpanda ค่า GP 32% (ไม่รวม VAT 7%)
  3. LINE MAN ค่า GP 30% (ไม่รวม VAT 7%)
  4. Robinhood ไม่หักค่า GP แต่สามารถเลือกเป็นพาร์ทเนอร์แนะนำ เก็บเงินค่าขนส่ง Logistic Subsidy 8%
  5. Shopee Food ค่า GP 30% (ไม่รวม VAT 7%)
** เป็นการยกตัวอย่างจากแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการ**

 
สังเกตว่าค่า GP ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 30-32% ไม่รวม VAT 7% ซึ่งการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของแอปฯ 
 
จะคำนวณจาก รายได้ที่รับจากรายการสั่งอาหารนั้น ๆ ไปเรียบร้อยแล้ว เช่น
  • รายการอาหารที่สั่ง 100 บาท หัก ค่า GP 30% = แอปฯ มีรายได้ 30 บาท
  • รายได้ 30 บาท จะหักอีก 7% = 2.1 บาท
หมายความว่าทางร้านอาหารจะมีต้นทุนใช้บริการจากรายการดังกล่าวอยู่ที่ 32.1 บาท
 
เมื่อรู้ว่าต้นทุนที่ควรคิดเพิ่มคือ 32.1 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเอาตัวเลข 32.1 นี้ไปบวกกับราคาอาหารในทันทีเพราะหากเป็นเช่นนั้นราคาจะโดดสูงไปมาก แทนที่จะได้ลูกค้าเพิ่ม ใครเห็นราคาอาจจะตกใจจนเราขายไม่ออกกันเลยทีเดียว
 
ลองมาดูสูตรคำนวณที่เป็นมาตรฐานที่ใช้ได้จริงในการตั้งราคาสำหรับเดลิเวอรี่
 
สูตรมาตรฐานคำนวณตั้งราคาขายเดลิเวอรี่
 

ราคาหน้าร้าน ÷ [100 – (ค่าGP + VAT 7%)] x 100 = ราคาขายในเดลิเวอรี่
 
เช่น ราคาหน้าร้านตั้งไว้ 40 บาท
ราคาขายในเดลิเวอรี่ = 40 ÷ (100 - 32.1%) x 100 
  • = 40 ÷ (67.9 x 100)
  • = 58.9
แต่เชื่อเถอะว่าสูตรนี้ไม่ถูกใจพ่อค้าแม่ค้าแน่ๆ ก็ด้วยความที่มันดูยุ่งยากและใช่ว่าทุกคนจะเก่งเรื่องคณิตศาสตร์เหมือนกันทั้งหมด ก็มีอีกแบบที่น่าจะใช้ได้ดีกว่าคือ ใช้เครื่องคิดเลข เป็นตัวช่วยในการคำนวณ
 
การคำนวณตั้งราคาขายเดลิเวอรี่ (แบบใช้เครื่องคิดเลข)
 

ยกตัวอย่างเช่น
 
ยอดสั่งออร์เดอร์เข้ามา 140 บาท
  • ถ้าหัก GP 30% จะเสีย GP = 140 x 30% เท่ากับ 42 บาท
  • และหักอีก 7% จากจำนวนยอดที่หักก็คือ 42 บาท เท่ากับเสียภาษี 42 x 7% = 2.94
  • ทีนี้ก็เอา ค่าGP 30% + vat 7% = 42 + 2.94 = 44.94
  • เท่ากับว่ายอดที่จะโดนหักจากราคาขายคือ 44.94 บาท
  • เท่ากับว่าร้านจะได้เงินจากยอดนี้เท่ากับ 140-44.94 = 95.06
ซึ่งถ้ารู้ต้นทุนค่า GP รวมที่ต้องจ่ายก็จะทำให้ตั้งราคาขายได้แบบไม่ขาดทุน
 
 
แต่หลายคนก็บอกว่าใช้เครื่องคิดเลขมาช่วยมันก็ยังดูยากไปอยู่ดี เอาแบบที่เป็นสูตรสำเร็จไม่ต้องคิดมาก เอาไปใช้ได้เลยแบบนี้มีไหม? คำตอบคือ “มี” ซึ่งได้ผู้มีประสบการณ์คำนวณออกมาเป็น “ตัวคูณ” ที่สามารถนำไปใช้ได้เลย
  1. Grab ราคาหน้าร้าน x 1.48
  2. Foodpanda ราคาหน้าร้าน x 1.5
  3. LINE MAN ราคาหน้าร้าน x 1.48
  4. Robinhood ราคาหน้าร้าน x 1.2
  5. Shopee Food ราคาหน้าร้าน x 1.7
ยกตัวอย่างเช่น ร้านชานมไข่มุกแห่งหนึ่งใช้บริการแอพเดลิเวอรี่ของ Grab 
  • ราคาเมนูที่ลูกค้าต้องการคือ 40 บาท
  • ราคาขายแบบเดลิเวอรี่ คือ 40 x 1.48 = 59.2 (ปัดขึ้นเป็น 60)
เท่ากับว่าควรขายในราคา 60 บาท เป็นราคาที่เหมาะสมและไม่ขาดทุน
 
 
ทั้งนี้แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ในยุคนี้มีการปรับกลยุทธ์ด้านการตลาดให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์มากขึ้นเช่นบางแพลตฟอร์มได้ทำตลาดร่วมกับร้านอาหารที่ได้รับความนิยมหรือมีการสั่งซื้อที่สูง และมีการจัดแคมเปญส่วนลดค่าอาหารเมื่อซื้อครบตามที่กำหนด รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์แบบ Subscription Model ซึ่งช่วยให้ผู้สั่งได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง รวมถึงมีส่วนลด หรือไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการอื่นในแอปพลิเคชั่น
 
ดังนั้นก่อนจะเข้าร่วมแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ใดๆ ก็ตามจึงควรศึกษารายละเอียดให้รอบด้าน และต้องไม่ลืมเรื่องการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงในแต่ละเมนู เพื่อให้นำตัวเลขที่แท้จริงมาใช้คำนวณในการตั้งราคาขายเดลิเวอรี่ได้อย่างถูกต้อง
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
722
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
498
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
413
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด