บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    สร้างความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน
311
2 นาที
8 พฤษภาคม 2567
ถกไม่เถียง! ยุคนี้งานประจำทำ "เอกชน" เสี่ยงสูงกว่า "งานราชการ"
 

สำรวจจำนวนคนไทยมีประมาณ 67 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานหรือพร้อมทำงาน 38.63 ล้านคนในจำนวนนี้อยู่ในส่วนของภาครัฐประมาณ 2.91 ล้านคน ซึ่งสัดส่วนข้าราชการไทยไม่ได้มีมากเกินไปโดยอยู่ที่ประมาณ 7.7% หากเทียบกับหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร 16% สหรัฐฯ 14.9% เกาหลีใต้ 8.1% และญี่ปุ่น 5.9% เป็นต้น
 
ถ้าวิเคราะห์สถานการณ์ในยุคนี้ยิ่งตอกย้ำให้คนอยากทำงาน “ราชการ” มากกว่า “เอกชน” คุณคิดว่าจริงไหม?
 
 
เหตุผลที่คนมองว่าทำงานข้าราชการ ดีกว่า คือ
  • สิทธิการใช้วันลา ที่มีให้อย่างต่อเนื่องรวมๆแล้วแต่ละปีอาจมากกว่า 30 วันต่อปี ซึ่งมากกว่าทำงานเอกชนแน่
  • สิทธิในการรับเงินบำเหน็จ / บำนาญ การันตีได้ว่าชีวิตหลังเกษียณจะมีเงินใช้แน่ถ้าในระหว่างทำงานได้เก็บเงินก้อนนี้ไว้
  • สิทธิรักษาพยาบาล สามารถใช้สิทธิรเบิกจ่ายได้เต็มจำนวนทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลของรัฐ
  • ความมั่นคงในหน้าที่การงาน เนื่องจากเป็นระบบงานของรัฐที่หากไม่กระทำผิดร้ายแรงยังไงก็ไม่ถูกไล่ออก
  • มีเกียรติและอำนาจ ยิ่งเป็นข้าราชการในตำแหน่งสูงยิ่งมีคนเคารพนับถือ เป็นที่นับหน้าถือตาในสังคม
นอกจากนี้การทำงานราชการยังได้สิทธิประโยชน์ในอีกหลายด้านเช่น เงินช่วยเหลือค่าเช่าที่พักอาศัย สิทธิเข้าพักที่บ้านพักราชการ ค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ รถประจำตำแหน่ง เป็นต้น

 
แม้จะมีบ้างที่ย้อนแย้งว่า “ทำงานราชการ” สวยแต่รูปจูบไม่หอม ภาพลักษณ์ดีจริง มั่นคงดีจริง แต่เงินเดือนน้อยกว่าทำงานเอกชน อันนี้ก็คงเป็นความจริงที่เถียงไม่ได้ แต่รายได้ของงานราชการก็มีการปรับอัตราเงินเดือนต่อเนื่องเช่นกัน อย่างล่าสุด 1 พฤษภาคม 2567 อัตราเงินเดือนใหม่ในตำแหน่งวิชาการระดับปฏิบัติการ ได้เงินเดือน 23,780 - 26,160 บาท หรือต่ำสุดในเรตเงินเดือนข้าราชการคือ 16,500 - 18,150 บาท 
 
ถ้าเทียบกับการทำงานในภาค “เอกชน” เงินเดือนเริ่มต้นของผู้จบใหม่ประมาณ 15,000 – 18,000 บาท แต่ถ้าเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ เป็นบุคลากรที่ทางบริษัทต้องการ ทำงานในตำแหน่งที่ขาดแคลน เงินเดือนอาจขยับสูงขึ้นกว่าเดือนละ 30,000 – 50,000 บาท ก็ขึ้นอยู่กับสายงานและโครงสร้างของบริษัทเป็นสำคัญด้วย
 
 
อย่างไรก็ดีถ้าดูในแง่ของสวัสดิการ “งานเอกชน” ต้องยอมรับว่ามีความหลากหลาย หากเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ อาจจะดีกว่าทำงานข้าราชการเพราะมีโอกาสเติบโตก้าวหน้า และมีสวัสดิการด้านอื่นๆ ที่มากกว่า เช่นโบนัส ท่องเที่ยวประจำปี การปรับขึ้นเงินเดือน เป็นต้น แต่เมื่อหน้าที่การงานเติบโตความรับผิดชอบในสายงานก็มากขึ้น อันนี้ก็จะแตกต่างจากงานราชการที่ยิ่งเป็นคนเก่าอยู่มานาน บางทีแทบไม่ต้องทำอะไรมาก สั่งให้ลูกน้องทำแทน ตัวเองแค่คอยดูแลกำกับการทำงานอยู่เบื้องหลังเท่านั้น
 
และอย่างที่กล่าวไว้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยุคนี้ เอื้อให้คนมองว่า ทำงานราชการดีกว่า เอกชนเพราะความเสี่ยงในการเลิกกิจการมีสูง ยกตัวอย่างล่าสุดคือ CARS 24 ที่ปิดฉากธุรกิจในไทยหลังจากดำเนินกิจการมานานกว่า 9 ปี ส่งผลให้มีคนตกงานกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ CARS 24 แต่มีอีกหลายธุรกิจที่ต้องปิดกิจการเช่น Voice TV , ร้านค้าปลีก99 Cents Only , ร้าน The Body Shop เป็นต้น
 

ภาพจาก https://elements.envato.com
 
คำกล่าวว่า “ยุคนี้ใครทำงานประจำอยู่ให้กอดไว้ให้แน่น” เพราะความเสี่ยงในการออกมาทำธุรกิจตัวเองแล้วจะอยู่รอดได้นั้นยาก ยิ่งถ้าเป็นคนที่ทำงานข้าราชการ มีหลายปัจจัยที่ได้เปรียบ แต่เราก็มักเห็นว่าคนที่ทำงานข้าราชการเอง เงินเดือนมักไม่พอใช้ ซึ่งในมุมของคนทำงานเอกชนก็เช่นกันที่แต่ละเดือนก็ชักหน้าไม่ถึงหลัง 
 
ดังนั้นคำว่า “ความเสี่ยง” อาจไม่ได้หมายถึงว่าคุณทำงานอะไร แต่เป็นความเสี่ยงที่มาจากการบริหารการเงินของตัวเองได้ไม่ดีพอ สมัยนี้รายได้ทางเดียวอาจไม่พออีกต่อไป ไม่ว่าจะทำราชการหรืองานเอกชนก็ควรมีอาชีพที่สองในการเพิ่มเติมรายได้ซึ่งจะช่วยลด “ความเสี่ยง” ได้มากขึ้น
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
อวสาน! โก๊ะตี๋ข้าวมันไก่ สาขาสุดท้าย ไม่รอด
744
ศก.โลกไม่ฟื้น - ศก.ไทยถดถอย! 11 บริษัทเลิกจ้างต่..
515
แค่โปรโมต! นายหน้า 7-Eleven รับค่าคอมฯ ได้เงินจริง
494
ถกไม่เถียง! ธุรกิจทำตามๆ กัน สุดท้าย...ตายเร็ว?
478
สำรวจคนไทยติดหรู ใช้เงินเกินตัว สร้างหนี้รอบด้าน..
468
ทำไม "รับขนมจีบ-ซาลาเปา เพิ่มมั้ยคะ" ถึงหายไปจาก..
452
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด