บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    สร้างความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน
279
2 นาที
6 กันยายน 2567
กับดักคนทำงาน GenLost ถูกแช่แข็งแบบตายทั้งเป็น!
 

ยุคสมัยเปลี่ยน! สังคมก็เปลี่ยน! ปัจจุบันมีการแยกกลุ่มประชากรออกเป็น Generation โดยใช้ช่วงปีเกิดในการกำหนด
  • Gen B (Baby Boom Generation) - กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.2489-2507 (1946-1964)
  • Gen X - กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508-2522 (1965-1979)
  • Gen Y (Millennials) - กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.2523-2540 (1980-1997)
  • Gen Z - คนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2541-2565 (1998-2024)
ถ้าดูเผินๆเรื่องนี้ก็ไม่น่ามีอะไรให้ตกใจก็แค่เรื่องของคนรุ่นเก่า – คนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นวิถีทางตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกที่ทั่วโลก
 
แต่ในญี่ปุ่นกลับแตกต่าง มีรายงานน่าตกใจที่ระบุว่าคนญี่ปุ่นวัย 40+ (อยู่ในGen Y) คนกลุ่มนี้หางานได้ยาก สู้เด็กใน Gen Z ไม่ได้ แถมยังเงินเดือนไม่โต และได้โบนัสน้อยกว่าคนวัย 20-30 อีกด้วย
 

ภาพจาก https://elements.envato.com
 
กลุ่มนี้ถูกเรียกกันว่าเป็น “เจเนอเรชันที่สูญหาย” หรือ “lost generation” ถ้าย้อนกลับไปดูจะพบข้อมูลที่น่าเห็นใจคนกลุ่มนี้มากขึ้น เนื่องจากในอดีต พวกเขาคือเด็กจบชั้นมัธยมปลายและมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถหางานทำได้เพราะผลพวงเศรษฐกิจตกต่ำหลังฟองสบู่แตก ตลาดการจ้างงานในช่วงนั้นถูกเรียกว่าเป็น “ยุคน้ำแข็ง” (ice age) ลากยาวตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 จนถึงช่วงทศวรรษ 2000 ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับ “ความไม่มั่นคง” ในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นอาชีพ
 
แต่พอถึงปัจจุบันในยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว โอกาสในการจ้างงานมีมากขึ้น ภาคธุรกิจกลับทำในสิ่งที่ตรงข้ามคือเอาใจ Gen Z มากกว่า ทั้งให้โอกาสในการทำงาน , การปรับเงินเดือน เท่ากับว่า Gen Z ในญี่ปุ่นกลายเป็นรุ่นที่ไม่ได้รับการเหลียวแลอย่างที่ควรจะเป็น
 
และตลกร้ายยิ่งกว่าเมื่อมีรายงานที่ระบุว่าคนรุ่นใหม่ในญี่ปุ่นมักนิยมเลือกการทำงานแบบ “ไม่เต็มเวลา” ที่คนญี่ปุ่นเรียกว่าการมีชีวิตแบบ Satori Generation" ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบไม่หวังรุ่ง ไม่หวังรวย ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ แถมยังมีความสนใจในการซื้อสิ่งของราคาแพงน้อยลงมาก เช่น รถยนต์ บ้าน และยอมรับราคาขั้นต่ำตามที่ต้องการ "เพื่อความอยู่รอด" เท่านั้น
 
ฟังดูก็เป็นเรื่องย้อนแย้งในขณะที่ภาคธุรกิจพยายามเฟ้นหา คน Gen Z มาร่วมงาน และมองข้าม คน Gen Y ถึงขนาดที่กลายเป็น lost generation แต่คนรุ่นใหม่กลับมีแนวคิดที่เน้นความเรียบง่าย ไม่ขวนขวายหาสำเร็จในชีวิตกันซะอย่างนั้น
 
คำถามคือทำไมคนรุ่นใหม่ในญี่ปุ่นถึงมีความคิดแบบนั้น?
 

ภาพจาก https://elements.envato.com
 
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า จุดที่มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น แตกต่างจากประเทศอื่น คือ อุดมคติในเรื่องความทุ่มเทและอุทิศตัวเองให้กับบริษัทอย่างยิ่งยวด เรื่อยไปจนกระทั่งถึงจะต้องจัดลำดับความสำคัญของงานและนายจ้างเหนือสิ่งอื่นใด
 
โดยปกติทำงาน 5-6 วันต่อสัปดาห์ โดยเริ่มทำงานตั้งแต่ 09.00 น. - 17.00 น. หรือ 18.00 น. หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ย 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ดีเป็นที่ทราบกันดีว่า เหล่ามนุษย์เงินเดือนของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังคงต้องทำงานอยู่ในสำนักงานจนถึง 21.00 น. หรือ 22.00 น. เป็นอย่างน้อย
DODA เว็บไซต์บริษัทจัดหางานชื่อดังของญี่ปุ่น ระบุว่า ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาเฉลี่ยในปี 2022 ของเหล่ามนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่นอยู่ที่ 22.2 ชั่วโมงต่อเดือน 
 
ซึ่งถ้าดูจากข้อมูลเหล่านี้ก็ชัดเจนว่าสาเหตุสำคัญอาจมาจาก “ความเบื่อหน่าย” หรือ “ความต้องการที่จะออกจากกรอบชีวิตแบบเดิมๆ” ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่นิยมการทำงานโดยมุ่งเน้นการประสบความสำเร็จเป็นหลักเหมือนที่เคยถูกปลูกฝังกันมาในอดีต
 
ถ้าไปดูข้อมูลเงินเดือนของคนญี่ปุ่น มีรายงานระบุว่าค่าเฉลี่ยเงินเดือนในประเทศญี่ปุ่น ณ ปี 2023 อยู่ที่ 516,000 เยน (126,094 บาท) หรือ 6,200,000 เยน (1,515,083) ต่อปี สำหรับกลุ่มอาชีพที่มีเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด คือ อาชีพในวงการแพทย์และการดูแลสุขภาพ โดยจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 9,220,000 เยนต่อปี (2,253,075 บาท) แต่แน่นอนว่าความเครียดสะสมจากการทำงานในสไตล์ญี่ปุ่น นั้นเป็นสิ่งที่เรารู้กันเป็นอย่างดี

ซึ่งถ้ามองในวิถีการทำงานแบบคนไทยแล้วต้องบอกว่า “ห่างกันไกล” แถมนิสัยคนไทยในการทำงานก็เทียบไม่ได้กับคนญี่ปุ่นในเรื่องของวินัย และความรับผิดชอบต่างๆ
 

ภาพจาก https://elements.envato.com
 
อันที่จริงปัญหาระหว่าง Gen y และ Gen Z ในญี่ปุ่น ก็เป็นอีกบริบทที่อาจไม่ได้ส่งผลกระทบกับธุรกิจมากจนเกินไปเพราะความเป็นชาตินิยมของญี่ปุ่น นั้นชัดเจนมาก ภาครัฐของญี่ปุ่นน่าจะหาทางออกในเรื่องนี้ได้ไม่ยาก แตกต่างจากสังคมไทยที่ตอนนี้มองแล้วยังน่าห่วงยิ่งกว่า ไหนจะเศรษฐกิจที่ไม่นิ่ง การเมืองที่ไม่แน่นอน ประชาชนมีโอกาสลืมตาอ้าปากได้ยาก และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นตอนไหนอีกด้วย
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
มาไทยแน่! ร้านค้าปลีกทั่วโลกหลบไป KK Group จากจี..
3,464
ของดี ราคาไม่แพง “ข้าวแกงนางงาม 10 บาท” คนกินอิ่..
844
จีนไม่หยุด บุกขยายสาขา หรือ ล่าอาณานิคม!
787
Data-driven Marketing อาวุธ Burger King ปั้นเมนู..
731
เรียบร้อยโรงเรียนจีน แบรนด์ญี่ปุ่นถูกแซงไม่เหลือ!
721
ข้อเสียที่เจ้าของร้าน Food Truck ไม่(เคย) บอก!
700
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด