บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
261
2 นาที
27 ธันวาคม 2567
เจาะตลาดค้าปลีกปี 2568! พุ่งหาลูกค้าด้วย “STP Marketing”
 

จากการประเมินธุรกิจค้าปลีกในปี 2568 คาดว่าจะมีอัตราเติบโตที่ 3-5% ถ้าแยกประเภทจะพบว่า
  • ร้านค้าปลีกประเภทแฟชั่น-ไลฟ์สไตล์ , ภัตตาคาร ร้านอาหารและเครื่องดื่ม อาจเติบโตประมาณ 3-7%
  • ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง มีอัตราเติบโตประมาณ 2-5%
  • ร้านสะดวกซื้อ, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค จะเติบโตประมาณ 1-3%

คำถามคือในภาวะที่เศรษฐกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็มีรอบด้าน ไม่ว่าจะต้นทุนที่เพิ่ม กำลังซื้อที่หดหาย ทิศทางการทำตลาดค้าปลีกในปี 2568 ต้องเน้นแบบไหน เพื่อให้ธุรกิจอยุ่รอด
 
แน่นอนว่ากลยุทธ์การตลาดคือสิ่งที่ต้องนำมาใช้อย่างถูกต้อง และที่เหมาะสมมากที่สุดในปี 2568 คือ “STP Marketing” ที่ใช้การรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปเพื่อหากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง 
 
โดยมี 3 กระบวนการคือSegmentation, Targeting และ Positioning ซึ่งการตลาดในรูปแบบนี้ เป็นการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายของสินค้าหรือแบรนด์อย่างชัดเจน ทำให้นักการตลาด เจ้าของตราสินค้าสามารถสื่อสารตรงถึงกลุ่มเป้า หมายได้ถูกต้องและถูกจุด
 

ยกตัวอย่างง่ายๆที่เห็นภาพของการใช้ STP Marketing คือ 7 – Eleven ที่มีการ Repositioning ตัวเองใหม่ โดยปรับเปลี่ยนจากแค่การเป็นร้านคอนวีเนียน ฟู้ด สโตร์ มาสู่การเป็น “ออลล์ คอนวีเนียน” ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายทุกรูปแบบของการใช้ชีวิตของลูกค้า
 
หรือการพัฒนาธุรกิจของโลตัส ที่ใช้ STP Marketing สร้างโมเดลการตลาดแบบ Hyper Hybrid รวมห้างค้าปลีกค้าส่งไว้ในที่เดียวมีการคัดสรรสินค้าอุปโภคบริโภคมากมาย โดยเฉพาะสินค้า Slap Pricing หรือ ซื้อเยอะ ราคาขายส่ง เพื่อผู้ประกอบการและลูกค้าได้เลือก เป็นต้น
 
ถึงแม้ว่า STP Marketing จะไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ และกลยุทธ์ที่ว่านี้ก็มีการนำมาใช้นานแล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับไอเดียของนักการตลาดในแต่ละแบรนด์เองว่าจะผนวกใช้ STP Marketing อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 
เหมือนที่ครั้งหนึ่ง Steve Jobs เคยกล่าวไว้ว่า “ไม่ต้องถามลูกค้าว่าต้องการอะไร เพราะว่าลูกค้าก็ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ถ้าเราไปถามเราก็ได้ข้อมูลเดิมๆ สินค้ามันก็วนอยู่กับเรื่องเดิมๆ”
 
 
สิ่งที่เราต้องทำคือการหาคุณค่าใหม่ๆ ที่ลูกค้าไม่เคยเจอ ไม่เคยเห็นมาก่อน อาจจะไม่ตรงกับความต้องการของคนที่เคยใช้สินค้าแบบเดิมๆ  เช่นบรรดาศูนย์การค้าต่างๆ จากในอดีตที่เป็นศูนย์รวมของร้านค้าและบริการ เพื่อผลักดันให้ตัวเองก้าวขึ้นไปเป็นเดสทิเนชั่นของการช้อปปิ้ง 
 
ในปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นไลฟ์สไตล์ มิกซ์ ที่เลือกวางร้านค้าหรือบริการ โดยดูความต้องการและรสนิยมของลูกค้าว่ามีออกมาอย่างไร แม้ลูกค้าจะเป็นกลุ่มเดียวกัน แต่รสนิยมอาจจะแตกต่างกันออกไป แม้แต่ร้านกาแฟก็เช่นกันที่หากหวังจะอยู่รอด จะต้องแตกเซ็กเม้นต์แยกย่อยไปตามรสนิยมของลูกค้า มากกว่าที่การมีแค่ร้านเดียวแล้วสามารถตอบโจทย์ได้ครบทุกกลุ่ม 
 
ทั้งนี้ธุรกิจค้าปลีกในปี 2568 ควรให้ความสำคัญกับ Data Base ของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์ศึกษาพฤติกรรมลูกค้า โดยจะเริ่ม Segment ลูกค้าออกมาเป็นกลุ่มๆ และนำเสนอคุณค่าเพิ่มที่แตกต่างกันไปตาม Segment ของลูกค้า จะทำให้การโฟกัสกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และต้องไม่ลืมว่าปัจจุบันกระแสโซเชี่ยลมาแรงมาก สินค้าที่ต้องการอาจไม่ใช่แค่เพราะว่าจำเป็น แต่ต้องเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ในด้านคุณค่าต่อความรู้สึกด้วย
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สงครามร้านสะดวกซื้อ 6 แบรนด์ ในมือ 5 เจ้าสัวไทย
903
สุกี้ไทยเปลี่ยนมือ MK รายได้วูบ สุกี้ตี๋น้อย แซง..
618
CJ ปั้น “เถียน เถียน” ไอศกรีมและชาผลไม้สัญชาติไท..
471
ค้าปลีก 2568! เปิดเกมรุกด้วย “Localized Marketing”
387
เปิดสูตร “เงินทุนหมุนเวียน” คำนวณให้ดี ร้านจะได้..
341
ตัวเล็กแต่ทรงพลัง! โลตัส โกเฟรซ! มินิบิ๊กซี! ร้า..
336
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด