บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
346
2 นาที
7 มีนาคม 2568
Neuromarketing การตลาดขายของ ให้ถูกใจ "สมอง"
 

 
การเพิ่มยอดขายโดยใช้หลักการทางจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้อง มีหลายรูปแบบเช่น Psychology of Happiness , Decoy Effect , Tugging At Emotions , Social Proof , Illusion of Scarcity เป็นต้น ส่วนแบรนด์จะเลือกใช้แบบไหนอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับไอเดียด้านการตลาดเป็นสำคัญด้วย
 
แต่วิธีที่ดูจะได้ผลมากคือการ “อ่านใจ” หรือรู้ก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร การนำเสนอสินค้าให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า จะทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นวิธีนี้เรียกว่า Neuromarketing เป็นหลักจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับการทำงานของสมองในส่วนที่เรียกว่า Reptilian Brain ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมประเภท “สัญชาตญาณ” เช่น ลักษณะนิสัย ความเคยชิน การเอาตัวรอด และพฤติกรรมที่อยู่ในจิตใต้สำนึก
 
การสร้างแคมเปญการตลาดที่สามารถเร้าสมองในส่วนนี้ได้จะทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เพราะลูกค้าจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง คล้ายกับการเปิดโทรศัพท์แล้วไปเจอข่าวสารมากมาย เราเองก็ไม่ใช่จะอ่านทุกข่าว แต่ถ้าเลื่อนไปเจอข่าวอะไรก็ตามที่สนใจ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตตัวเอง เช่นข่าวรัฐบาลพร้อมแจกเงินหมื่น หรือข่าวสถานีบริการน้ำมันประกาศลดราคา ส่วนใหญ่เราก็จะเข้าไปดูเนื้อหาข่าวเหล่านี้ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเราหรือว่าเราสนใจ 
 
วิธีการนี้นำไปประยุกต์ใช้กับการเพิ่มยอดขายให้สินค้าได้หลายรูปแบบ เช่น

 
1.การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยวิเคราะห์ลูกค้า ยกตัวอย่าง Eye tracking หรือการตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา , การวิเคราะห์สีหน้า (Facial Coding) รวมถึงการตรวจจับการคายประจุไฟฟ้าในสมอง (EEG) เป็นต้น วิธีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้แบรนด์ระดับโลกส่วนใหญ่ใช้กันเช่น Google , Coca-Cola , Spotify , PepsiCo เป็นต้น
 
2.การใช้ตัวหนังสือที่ง่ายกระตุ้นให้เกิด action ตัวหนังสือธรรมดานั้นกระตุ้นให้เกิด การกระทำ (action) ได้มากกว่า โดยเฉพาะในการทำเว็บไซต์ที่มีปุ่ม call to action ต่างๆ และมีโอกาสให้ลูกค้าเข้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์ที่ได้มากขึ้นด้วย
 
3.การเล่นเฉดสีมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า เช่นการใช้สีแดงและสีส้มในการตลาดประเภทอาหาร เพราะมีผลในการกระตุ้นสมองของมนุษย์ให้อยากอาหาร เป็นต้น
 
 
การนำ Neuromarketing ไปใช้ไม่ได้จำเพาะว่าต้องเป็นธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง แต่ใจความสำคัญคือเป็นทฤษฏีที่เอาไว้อ่านใจหรือเข้าใจความต้องการลูกค้า สามารถใช้ได้ในหลายธุรกิจที่มีกลุ่มลูกค้าหลากหลายเช่น สินค้าอุปโภคบริโภค , บริการด้านการเงิน , การดูแลสุขภาพและเภสัชกรรม , การท่องเที่ยว , เสื้อผ้า เป็นต้น
 
เหมือนที่ครั้งหนึ่ง ซุปกระป๋อง Campbell’s ได้นำเอา Neoroscience มาช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าพบว่าแพคเกจจิ้งของแบรนด์ที่ผู้คนบอกว่าดีแล้วก็จริง แต่พอวัดด้วยอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ กลับสะท้อนมุมลูกค้าว่า การออกแบบแพคเกจจิ้งดูแบบเก่าลูกค้าไม่ดึงดูดให้ลูกค้าอยากซื้อ พอได้ข้อมูลแบบนี้ ทางบริษัทออกแบบใหม่ ลองเติมควันลอยเบาๆ เข้าไปในแพคเกจจิ้ง ทำให้ดูมีอีโมชั่นมากขึ้น กลายเป็นว่าเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นด้วย
 
อีกสักตัวอย่างกรณีของ Starbucks คือการสร้าง Campaign ที่มีความ Limited ต่างๆออกมาเช่นเครื่องดื่มที่มีเฉพาะในช่วงเวลาบางอย่างเท่านั้นหรือกิจกรรมที่มีในวันเดียวต่อสัปดาห์หรือในช่วงเวลาเท่านั้นทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้นกลัวที่จะสูญเสียโอกาสจนต้องยอมที่จะเข้ามาใช้บริการจนกลายเป็นกระแสในบางครั้งได้
 
 
Neuromarketing เป็นเพียงทฤษีด้านการตลาดที่พูดถึงการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดขายแต่ในด้านปฏิบัติที่แท้จริงก็จำเป็นต้องใช้หลักการตลาดอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย จึงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายให้กับธุรกิจได้อย่างสูงสุดแท้จริง
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
517
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
388
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
370
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
367
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
355
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
350
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด