บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    การลงทุน
5.4K
2 นาที
28 ตุลาคม 2549
ทำอย่างไรให้ SMEs กู้เงินจากสถาบันการเงินได้
 
ด้วยคำถามยอดฮิตที่สถาบันพัฒนา SMEs ได้รับจากผู้ประกอบการ SMEs ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นคำถาม ที่ว่า "ทำอย่างไรจึงจะกู้เงินจากสถาบันการเงินได้?" จึงขอถือโอกาสเปิดตัวคอลัมน์นี้ ด้วยการนำข้อสรุปที่ได้จาก เวทีเสวนากลุ่มย่อยเรื่องดังกล่าว ซึ่งสถาบันพัฒนา SMEs จัดขึ้นเมื่อ 18 เมษายน 2544 มานำเสนอเพื่อประโยชน์แก่ SMEs โดยทั่วกัน โดยจะขอนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อมของ SMEs เป็นสาระสำคัญ
 
 ปัญหาและอุปสรรคในการกู้เงินของ SMEs ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พร้อมของผู้ประกอบการในหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ขาดประสบการณ์ ขาดความเข้าใจในการทำธุรกิจที่ดีพอมีระดับภาระหนี้เกินตัว เป็นลูกหนี้ NPL ขาดการทำระบบบัญชีที่น่าเชื่อถือ ขาดหลักประกันที่เพียงพอ ขาดหลักฐานสำคัญในการยื่นประกอบคำขอกู้ เช่น สัญญาเงินกู้ ใบส่งสินค้า สัญญาการซื้อขาย เป็นต้น 
 
ปัญหาและอุปสรรคการกู้เงินไม่ได้ของผู้ประกอบการ SMEs อีกส่วนหนึ่งเกิดจากสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนนโยบาย กฎเกณฑ์ และการปฏิบัติ เช่น การจัดชั้นลูกหนี้ที่เป็น NPL และตั้งสมมุติฐานว่าลูกหนี้ NPL เป็นกิจการที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้ การใช้นโยบายการพิจารณาและวิเคราะห์สินเชื่อที่เหมือนกัน แม้ว่าจะมีลักษณะกิจการ ขนาดธุรกิจและวัตถุประสงค์การกู้เงินที่แตกต่างกันการขาดมาตรฐานการ พิจารณาการให้บริการตามลำดับก่อนหลัง เป็นต้น 
 
SMEs จะต้องเตรียมตัวอย่างไร 
 
องค์ประกอบสำคัญที่สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์พิจารณา ปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ได้แก่ ความสามารถของตัวผู้ประกอบการ การมีและใช้แผนธุรกิจในการประกอบธุรกิจ และการมีหลักประกันค้ำประกันที่เพียงพอ ทั้งนี้มีหลัก 8 ประการคือ 
  1. ผู้ประกอบการ SMEs มีความแน่นอนชัดเจนในธุรกิจ 
     
  2. มีความเหมาะสมและความจำเป็นในการกู้ 
     
  3. มีความพร้อมและความโปร่งใสด้านข้อมูล
     
  4. สามารถแสดงหลักฐานประกอบ เช่น สัญญาเงินกู้ สัญญาซื้อ 
     
  5. มีประสบการณ์และมีการศึกษาในรายละเอียดของธุรกิจ
     
  6.  มีเงินทุนของตนเองขั้นต่ำ 20% ของเงินลงทุนทั้งหมด 
     
  7.  มีหลักประกัน เช่น หลักทรัพย์ หนังสือค้ำประกัน การโอนสิทธิการรับเงิน และ
     
  8. มีความสามารถในการชำระหนี้

ทั้งนี้เอกสารประกอบการกู้ที่สำคัญที่สุดคือ แผนธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยแผนงานด้านการตลาด การจัดกำลังคน แผนการผลิต และแผนการเงิน ซึ่งแผนธุรกิจนี้นอกจากจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถ วางแผนการทำธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ รอบคอบ และครบวงจรแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ผู้ให้กู้เข้าใจธุรกิจของผู้ประกอบการเองได้ง่ายขึ้น สามารถวิเคราะห์ ศักยภาพการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการใช้คืนเงินกู้ได้นั่นเอง 
 
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs ไม่ควรมุ่งเน้นการระดมทุนจากการกู้เงินเป็นหลักโดยเฉพาะ ในช่วงแรกของการเริ่มธุรกิจใหม่และไม่มีประสบการณ์ เพราะจะทำให้เกิดความวิตกกังวลต่อภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น แทนที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาตลาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของ SMEs 
 
ผู้ประกอบการที่ต้องการคำปรึกษาแนะนำในการจัดทำ "แผนธุรกิจ" สามารถติดต่อสอบถามและรับบริการปรึกษาแนะนำของสถาบันพัฒนา SMEs ได้ที่โทร. 
0-2564-4000 ต่อ 2225-2226 
 
อ้างอิงจาก: สถาบันพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,395
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด