บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    กระแสเงินสด เงินทุนหมุนเวียน
5.1K
2 นาที
28 เมษายน 2559
7 วิธีบริหารกระแสเงินสดให้ SMEs สตรอง! 
 
“กระแสเงินสด” ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน เพราะเปรียบเสมือนกระแสเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้ขับเคลื่อนและเติบโตได้ ยิ่งถ้าคุณเป็นธุรกิจ SMEs ยิ่งต้องทำให้เกิดการไหลเวียนเข้าออกตลอดการดำเนินธุรกิจ

ช่วงเวลาไหนที่ธุรกิจขาดเงินหรือมีกระแสเงินสดติดลบ อาจจะมีผลทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก เพราะไม่สามารถซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบมาขาย ไม่สามารถชำระค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่า รวมถึงค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ธุรกิจดำเนินการได้ปกติ 
 
 
ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จึงจำเป็นต้องรู้จักการบริหารกระแสเงินสด ให้มีการไหลเวียนเข้าออกอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้ากระแสเงินสดไหลเข้าน้อยกว่ากระแสเงินสดไหลออก รับรองได้ว่าธุรกิจของคุณมีปัญหาแน่ๆ  
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีวิธีการบริการจัดการกระแสเงินสด มาฝากท่านผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs เพื่อช่วยให้คุณมีเงินสดไว้ใช้ไม่ขาดมือ และช่วยให้ธุรกิจมีสุขภาพที่แข็งแรง มีเลือดไหลเวียนสูบฉีดตลอดเวลา
 
1.ตรวจเช็คสถานะเงินสดปัจจุบัน เพราะจะทำให้คุณรู้ว่าเงินสดในบัญชีบริษัทมีจำนวนเท่าไหร่ เพียงพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ หรือใช้จ่ายด้านอื่นๆ จิปาถะภายในองค์กรหรือไม่
 

ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จะต้องทำการตรวจเช็คและอัพเดทสมุดบัญชีเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะค่าใช้จ่ายบางอย่าง เช่น การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอาจถูกตัดออกจากบัญชี แต่ไม่ได้แสดงในยอดดังกล่าวก็ได้
  
2.อย่าคิดว่ากำไรคือเงินสด ผู้ประกอบการธุรกิจหลายท่านยังคงเข้าใจกันแบบผิดๆ ว่า ตัวเลขของกำไรจะแสดงผลของเงินสดด้วย แต่แท้จริงแล้วกำไรทางบัญชีเกิดจากรายได้ลบค่าใช้จ่าย โดยที่รายได้เกิดจากการขายสินค้าและส่งมอบสินค้าแล้ว แต่บางครั้งก็ได้กลับมาเป็นเงินสดหรือเงินเชื่อที่ต้องตามทวงก็ได้ แค่รายได้ก็ไม่ใช่เงินสดทั้งหมดแล้ว 
 
 
 
3.จัดทำงบประมาณเงินสด ถือเป็นการช่วยให้คุณรู้ว่า ณ ปัจจุบันบริษัทมีเงินสดเท่าไหร่ กระแสเงินสดไหลเข้าเมื่อไหร่ มากน้อยแค่ไหน และมีรายการกระแสเงินไหลออกเมื่อไหร่ ถ้าไหลออกมากกว่าไหลเข้าก็จะแสดงให้คุณเห็นว่ากระแสเงินสดเริ่มที่จะติดลบแล้ว ต้องหาวิธีการดึงเงินสดเข้ามา อาจทวงลูกหนี้ให้เร็วขึ้น

ดังนั้น การจัดทำงบประมาณเงินสดอาจจะต้องทำล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน จะช่วยให้คุณประมาณการได้ว่าช่วงไหนธุรกิจขาดเงิน เพื่อจะได้รับมือทัน
 
 
 
4.ไม่ผลิตและสต็อกสินค้ามากๆ ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ควรจะรู้ไว้ว่า การเก็บสินค้าหรือสต็อกสินค้าเอาไว้ทีละมากๆ เป็นการนำเงินสดออกจากกระเป๋าไปจมอยู่กับสินค้า ดังนั้น คุณต้องรู้จักบริหารการผลิตสินค้า หรือสั่งซื้อสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด และต้องหาวิธีการหมุนขายสินค้าออกให้เร็ว เพื่อไม่ให้เงินสดขาดมือ 
 
 
 
5.รู้จักบริหารเครดิตและเร่งรัดลูกหนี้ แม้บางครั้งคนอื่นอาจจะมองคุณว่าหน้าเลือด แต่ก็ต้องทำ มิเช่นนั้นคุณนั่นแหละจะลำบาก

ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ควรที่จะมีการพิจารณานโยบายการให้เครดิตกับลูกหนี้การค้า เช่น ชำระสินค้าภายใน 30 วัน หรือ 60 วัน และต้องคำนึงถึงระยะเวลาการเรียกเก็บให้เหมาะสมสอดคล้องกับภาระการชำระเงินของบริษัทด้วย ซึ่งต้องติดตามทวงลูกหนี้การค้าอย่างสม่ำเสมอ 
 
หรือไม่ถ้าอยู่ในช่วงเงินสดขาดมือจริงๆ อาจหาวิธีให้ลูกค้าหรือลูกหนี้ชำระเงินให้เร็วขึ้นก่อนกำหนด เช่น วางเงินมัดจำครึ่งหนึ่งในการจองหรือสั่งซื้อล่วงหน้า การให้ส่วนลดทางการค้าอื่นๆ อาจช่วยให้คุณได้รับเงินจากลูกค้าง่ายขึ้น หรืออาจจะเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าชำระเงินได้ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่ต้องเสียเวลา เช่น การชำระเงินทางออนไลน์ผ่านธนาคาร 
 
 
 
6.หาช่องทางลงทุนเพิ่ม หากว่าช่วงเวลาไหนที่ธุรกิจของคุณสามารถทำกำไรได้ดี ขายสินค้าได้ และมีกระแสเงินสดไหลเข้ามากระทั่งผลสุทธิเป็นบวก คุณควรที่จะหาช่องทางในการนำเงินสดไปลงทุนเพิ่ม อาจจะลงทุนในสินทรัพย์หรือธุรกิจอื่นๆ ที่ได้ผลตอบแทนเร็ว เพื่อให้เกิดกระแสเงินสดรับเข้ามาใหม่ สิ่งสำคัญคุณต้องกันเงินสดสำรองไว้ด้วย 
 
 
 
7.รู้จักเจรจาต่อรองเจ้าหนี้ วิธีนี้มีความสำคัญแน่ๆ หากช่วงเวลานั้นบริษัทของคุณไม่มีกระแสเงินสดจริงๆ เพราะการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้การค้าในการเลื่อนชำระหนี้ จะช่วยยืดระยะเวลากระแสเงินสดติดลบได้ แต่คุณต้องระวังเรื่องการเสียเครดิต

นอกจากนี้ ถ้าหากคุณจะซื้อสินค้าต้องดูด้วยว่าเจ้าหนี้การค้ารายไหนให้เครดิตชำระเงินยาวนานกว่า เพราะจะช่วยให้คุณมีระยะเวลาในการหมุนเงินได้มากขึ้น ซึ่งเวลานี้คุณอาจจะนำสินค้าไปขาย ได้เงินมาลงทุน และขายได้อีก 
 
คุณเห็นแล้วว่ากระแสเงินสดเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของธุรกิจ SMEs ต้องเข้าใจ แต่หากไม่เข้าใจคุณก็ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความกังวลและความกลัว

ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือความเสี่ยง การดำเนินธุรกิจหากบริหารกระแสเงินสดได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก อาจช่วยให้สามารถควบคุมต้นทุน สามารถวางแผนด้านเงินทุน หรือเงินกู้ สินเชื่อ ที่ต้องการจะขอในอนาคตได้ 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด