บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
5.0K
2 นาที
13 ธันวาคม 2559
5 เทรนด์ดึงลูกค้าสร้างกำไรให้ธุรกิจในปี 2017


 
เมื่อเรากำลังจะก้าวข้ามปีเก่าสู่ปีใหม่ ต้องมีหลายสิ่งที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป

ไม่เว้นแต่ในโลกของธุรกิจที่ถือว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นค่อนข้างรวดเร็วและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องก้าวตามให้ทันโดยเฉพาะกับกระแสเทคโนโลยีที่ไม่อาจปฏิเสธได้อีกต่อไปว่าคือเครื่องมือสำคัญที่มีผลต่อการสร้างสรรค์การตลาดเป็นอย่างมาก
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าในปี 2017 เป็นอีกปีหนึ่งที่เราไม่อาจทำการตลาดแบบเดิมๆได้อีกต่อไป การผนวกเอาสินค้ารวมกับเทคโนโลยีจะกลายเป็นเทรนด์ที่สร้างความน่าสนใจได้มาก

ซึ่งในต่างประเทศเองก็เริ่มดำเนินกลยุทธ์เหล่านี้กันไปบ้างและนี่คือ 5 เทรนด์ในปี 2017 ที่คาดว่าจะมาแรงและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแวดวงธุรกิจได้อย่างดี
 
1.สร้างธุรกิจให้เหมือนจับต้องได้ (Virtual Experience Economy)


ภาพจาก goo.gl/4LkP8b

ในปี 2017 ถือเป็นยุคทองของโลกดิจิตอลโดยแท้โดยจะเป็นการเปลี่ยนถ่ายจากยุคข้อมูลข่าวสารที่ Internet มีความสำคัญ สู่ยุคแห่งเศรษฐกิจประสบการณ์ (Experience Economy)

ยืนยันได้จากตลาดอุปกรณ์เทคโนโลยีที่จะพาเราสู่ความจริงใน 3 รูปแบบคือเสมือนจริง (Virtual Reality -VR) ,ความจริงเสริม (Augmented Reality -AR) และความจริงผสมผสาน (Mixed Reality -MR) ที่กำลังเติบโตในจำนวนนี้อุปกรณ์ประเภทแรกจะเข้ามามีบทบาทและถูกนำมาใช้มากสุด

เพราะนอกจากจะสร้างความแปลกใหม่ทางธุรกิจและไม่ซับซ้อนเกินไปแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการณ์ต่างๆ แม้มีข้อจำกัดทางกายภาพก็ตาม

โดยความสำเร็จของแบรนด์ที่เข้าร่วม Trend นี้วัดกันตรงที่แบรนด์ไหนจะสามารถตอบสนองพฤติกรรมในส่วนลึกของผู้บริโภคได้มากกว่ากัน
 
ตัวอย่างของแบรนด์ที่เริ่มใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เช่นAlibaba เว็บไซต์ E-Commerce ยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนที่ให้นักช็อปชาวจีนสวมแว่น VR ซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้า Mercy’s ที่อยู่ไกลออกไปถึง New York ได้อีกด้วย 
 
2.สร้างภาพลักษณ์ชูธุรกิจเป็นศูนย์กลางให้ทุกคนมีความเสมอภาคกัน(World Apart : Campaign)

ปัญหาหนึ่งในปีที่ผ่านๆมาคือความเหลื่อมล้ำของคุณภาพชีวิต ก่อให้เกิดทั้งปัญหารายได้ การก่อการร้าย และการแตกแยกในระดับองค์กรจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้แบรนด์ที่สร้างแคมเปญเพื่อเชื่อมประสานความแตกร้าวเหล่านี้จะเป็นเหมือนธุรกิจที่ทำให้โลกยุคใหม่มีความเท่าเทียมกัน แน่นอนว่าเป้าหมายสำคัญคือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแต่สิ่งสำคัญคือต้องเป็นการทำที่ออกมาจากความรู้สึกที่อยากแก้ปัญหาเหล่านั้นได้จริงๆ
 
ตัวอย่างของแบรนด์ที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้คือ Momondo เว็บไซต์จองบริการท่องเที่ยวของเดนมาร์ก ที่ออกแคมเปญชื่อ The DNA Journey โดยให้คนหลายเชื้อชาติเผยถึงความภูมิใจในประเทศตัวเองและประเทศที่ตนเองมีทัศนคติเชิงลบ

โดยหนังโฆษณาเรียกน้ำตาในตอนท้ายเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนไปท่องเที่ยวสืบหาที่มาของตนเองเรื่องนี้ กระแสตอบรับดีพอสมควร หลังเผยแพร่มา 6 เดือนมียอด View บน Youtube กว่า 12 ล้านครั้ง

3.สร้างธุรกิจที่สามารถทลายกำแพงอคติในโลกดิจิตอล(Incognito Individual)

ภาพจาก  goo.gl/LNbLAR

ปัจจุบันแบรนด์รวมถึงบรรดา Social Media รู้ใจผู้บริโภคมากขึ้นจนน่าตกใจ เบื้องหลังคือการนำข้อมูลส่วนตัวมาผ่านชุดคำสั่ง (Algorithm) สร้างเนื้อหาให้ “เป๊ะ” กับรสนิยม พิสูจน์ได้จากเพลงใน Playlist ของ Spotify ที่ป้อนให้ผู้ใช้ 40 ล้านคนทั่วโลกทุกวันจันทร์ ซึ่งการวางใจเทคโนโลยีมากเกินไป ทำให้เกิดการจัดกลุ่มผู้บริโภคแบบเหมารวม

บางครั้งการที่มีอคติต่อกันเช่นผู้หญิงอคติต่อผู้ชาย คนขาวอคติต่อคนดำ เมื่อพูดคุยกันก็ทำให้คลางแคลงใจต่อกัน จึงมีซอฟแวร์ ที่เน้นการแปลงเสียงให้คลุมเคลือเพื่อให้การพูดคุยดำเนินต่อไปได้ง่ายขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความรู้สึกสงสัยต่างๆเหล่านั้น
 
4.สร้างธุรกิจให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย(Capacity Capture)

ในปี 2017  ความคาดหวังของผู้บริโภคที่สูงขึ้นจะขยายสู่ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมและพลังงานด้วย แบรนด์จึงต้องหา ต้องสร้างรูปแบบใหม่ในบริหารจัดการพลังงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไปพร้อมกับการลดปริมาณขยะจากการอุปโภค บริโภคให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งผลกำไรควรมีความสำคัญรองลงมาจากการอนุรักษ์และทำให้ผู้บริโภคอิ่มเอมกับการทำความดีนั้นๆ
 
ตัวอย่างของแบรนด์ที่เริ่มดำเนินกลยุทธ์เหล่านี้เช่น Nissanแบรนด์รถญี่ปุ่นที่ร่วมกับ Enel บริษัทไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของยุโรป ออกแคมเปญ Vehicle to Grid

 ด้วยการให้เจ้าของรถพลังงานไฟฟ้า 2 รุ่น คือ LEAF และ NV200 ในอังกฤษ จ่ายไฟฟ้าของเครื่องยนต์ที่เต็มแล้วแต่จอดทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้ให้กับโรงไฟฟ้าหรือสำหรับใช้ในตัวอาคารสำนักงานช่วงกลางวัน ชาร์จกลับมาให้ช่วงบ่ายก่อนขับกลับบ้าน และชาร์จอีกครั้งตอนกลางคืนที่ความต้องการใช้พลังงานน้อย โดยสิ่งที่เจ้าของรถจะได้ตอบแทนคือค่าไฟที่ถูกลงนั่นเอง

5.สร้างธุรกิจที่มีนวัตรกรรมทางเทคโนโลยีมากขึ้น (Big Brother Brands)

อุปกรณ์ที่เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence-AI) จะเริ่มมีบทบาทอย่างมากในปี 2017 จากาการวิจัยของ Tractrica บริษัทวิจัยข้อมูลตลาดสินค้าเทคโนโลยีในสหรัฐ

คาดว่าจำนวนผู้ใช้ Gadget ประเภทนี้ทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 390 ล้านคนในปี 2015 จะเพิ่มเป็น 1,800 ล้านคนเมื่อถึงปี 2021 โดยผู้บริโภคนิยมในอุปกรณ์เหล่านี้เพราะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันได้มากแน่นอนว่าแบรนด์ก็ต้องคำนึงการตลาดที่มองเห็นกระแสความต้องการเหล่านี้ไว้ด้วย
 
ตัวอย่างของแบรนด์ที่ดำเนินการในกลยุทธ์นี้เช่น Google ที่เปิดตัว Google Assistant ลำโพงที่เชื่อมต่อ Internet ผ่าน WIFIซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สั่งการกิจกรรมบน Internet เช่นตรวจ E-Mail ,Upload รูปภาพ ซื้อสินค้าออนไลน์

สอบถามข้อมูลหรือเปิดเพลงจาก List ใน Spotify ด้วยเสียง โดยเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจรวมไปถึงบอกให้ AI ปิด-เปิดเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านด้วย
 
จะเห็นได้ว่าเทรนด์ของการตลาดในปี 2017 เริ่มจะก้าวล้ำเข้าสู่เรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น การที่หลายคนเคยเห็นนวัตรกรรมต่างๆที่อยู่ในภาพยนต์ในปี 2017 นี้คาดว่าจะมีการพัฒนาอุปกรณ์เหล่านั้นออกมาใช้ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

ทั้งนี้สินค้าทั้งหลายนอกจากความคิดในการสร้างสรรค์คุณภาพสินค้าก็ควรจับเทรนด์การตลาดโลกดิจิตอลเหล่านี้ไว้รับรองว่าไม่ตกเทรนด์และจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์กำไรได้อย่างดีทีเดียว
 
ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/fLjJX3
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
531
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด