บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
4.1K
2 นาที
24 มกราคม 2560
7 ข้อต้องรู้ก่อนเริ่มต้น Startup แบบมีงบจำกัด 

 
การเริ่มต้นทำธุรกิจของผู้ประกอบการมือใหม่ ส่วนใหญ่มักคิดว่าจะต้องมีเงินจำนวนมากมารองรับ

เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งไม่เป็นจริงเสมอไป เพราะกว่า 80% ของสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา ต่างเริ่มต้นธุรกิจด้วยทุนของตัวเองประมาณ 10,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการสตาร์ทธุรกิจได้ดีมากทีเดียว
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาคุณไปดูว่า หากต้องการที่จะเริ่มต้นธุรกิจ Startup ให้ประสบความสำเร็จ ด้วยข้อจำกัดเงินทุนน้อย ผู้ประกอบการจะต้องรู้ในเรื่องอะไรบ้าง ที่จะนำพาพวกเขาไปสู่ความสำเร็จได้ มาดูกันเลยครับ 
 
1. ทำธุรกิจที่คุณรู้จักและหลงรัก


 
เคล็ดลับที่นำไปสู่ความล้มเหลว คือ การเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่คุณไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน คุณอยากทำเพียงเพราะเห็นว่าธุรกิจนั้นมีศักยภาพที่ดีน่าลงทุน

อย่างไรก็ตามทุกธุรกิจมักมีกฎที่ไม่ได้เขียนไว้เสมอ และการที่คุณขาดความรู้ในธุรกิจนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง จะทำให้คุณมีต้นทุนมหาศาล โดยเฉพาะต้นทุนการเรียนรู้ นอกจากการทำธุรกิจที่คุณรู้จักและหลงรักแล้ว การมี Connection ที่ดีก็ช่วยให้ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจหลายอย่างเสร็จสิ้นได้โดยใช้เงินเพียงเล็กน้อย
 
2. หาทีมที่ยอมทำงานเพื่อเป็นหุ้นส่วน มากกว่าทำเพื่อเงิน

ใครก็ตามที่คุณดึงมาร่วมทีมด้วย ทุกคนต้องเข้าใจว่าความล้มเหลวของทีม คือ ความล้มเหลวของธุรกิจ มากกว่าคาดหวังเรื่องเงินในภายภาคหน้า การจัดการพนักงานและสัญญาจ้างทั้งยุ่งยากและมีต้นทุนสูง

ซึ่งผู้ประกอบการมือใหม่จะจัดการเรื่องเหล่านี้ได้ไม่ดีนัก การให้สมาชิกในทีมเป็นหุ้นส่วน จึงเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ทีมยอมร่วมหัวจมท้ายและโฟกัสกับธุรกิจ
 
3. อย่าเริ่มต้นธุรกิจแบบไร้แผน 

 
ผู้ประกอบการใดๆ ก็ตามที่เริ่มต้นธุรกิจแบบไร้แผนจะต้องใช้เงินจำนวนมาก เช่นเดียวกันคนเหล่านั้นจะต้องแบกรับความกดดันที่จะคงความนิยมเอาไว้ตามหน้าสื่อ ทำให้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเอาใจนักลงทุน ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่ยอมรับว่า การใช้เงินที่มากเกินไปจะทำให้การตัดสินใจแย่ลง และเกิดการควบคุมไม่อยู่
 
4. อย่ามองหาออฟฟิศ จนกว่าคุณจะได้ลูกค้า

ทุกวันนี้การทำสตาร์ทอัพโดยสมาชิกอยู่กันคนละมุมโลกเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว เพราะทุกคนต่างมีสมาร์ทโฟน วิดีโอ และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงช่วยอำนวยความสะดวก ค่าใช้จ่ายสำหรับสำนักงานเป็นต้นทุนที่แพงเอาเรื่อง

ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ การจัดสรรพนักงาน และค่าใช้จ่ายสำหรับเดินทาง ที่ควรทำคือมีเว็บไซต์ เพราะช่วยให้ธุรกิจของคุณดูน่าเชื่อถือ (แม้ไม่มีออฟฟิศ) เทียบเท่ากับคู่แข่งรายใหญ่ได้เช่นกัน
 
5. ดีลเรื่องค่าธรรมเนียมล่วงหน้าจากพาร์ทเนอร์ 

 
ถ้าวิธีแก้ปัญหาของคุณมีคุณค่าจริง พาร์ทเนอร์ในอนาคตย่อมกระโจนเข้ามาร่วมวงด้วยอยู่แล้ว ดังนั้น อย่าลืมเจรจาเรื่องค่าลิขสิทธิ์หรือค่าธรรมเนียมกันตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะการขอส่วนลด

เพราะทั้งผู้ร่วมทุนและพาร์ทเนอร์จะเข้าใจเรื่องกระแสเงินสดที่ธุรกิจเกิดใหม่ของคุณต้องจัดการ ถือว่าใช้โอกาสนี้เพื่อฝึกทักษะการขายของคุณเองตั้งแต่เนิ่นๆ ไปในตัว
 
6. ต้องรู้จักการเจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์ ผู้จัดจำหน่าย
 
ถ้าคุณขายสินค้า ซัพพลายเออร์ หรือผู้จัดจำหน่าย จะทำหน้าที่ส่งสินค้าที่อยู่ในคลังแทนคุณ แต่ถ้าคุณขายบริการอย่ากลัวที่จะขอบวกค่าบริการเพื่อชดเชยต้นทุนของคุณ การทำธุรกิจ คือ การเจรจาต่อรอง เพื่อให้ไก้กำไร หรือถูกลง แต่ผู้ประกอบการมือใหม่ที่มีเงินมากมักเกรงใจที่จะต่อรองกับคู่ค้า
 
7. เลือก Business Model ที่เพิ่มประสิทธิภาพช่วยสร้างรายได้ ประหยัดเวลา 

 
ตัวอย่าง Business Model ยอดนิยม เช่น การเก็บค่าธรรมเนียมสมาชิกรายเดือน และค่าบริการเสริมต่างๆ หรือการขายสินค้าครั้งเดียวจบ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การสร้างเว็บอีคอมเมิร์ซแทนที่การค้าปลีกแบบดั้งเดิม เพื่อให้ธุรกิจสามารถขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงแก่ลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก
 
หนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้คุณประหยัดเงินและลดความเสี่ยง คือ การใช้ Social Media ซึ่งมีข้อดีคือฟรี และสามารถใช้หยั่งเสียงได้ว่า วิธีการแก้ปัญหาของคุณมีคนสนใจมากน้อยแค่ไหน ก่อนที่คุณจะลงทุนเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการผลิตสินค้าและบริการ 
 
นอกจากนี้ Social Media ยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง และราคาไม่แพงสำหรับใช้ทำการตลาดให้กับธุรกิจของคุณได้อีกด้วย
 
คุณอาจมองเงินเริ่มต้นธุรกิจที่มีเงินทุนจำกัด ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด หรือเป็นสิ่งกระตุ้นช่วยให้คุณทำธุรกิจได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้นก็ได้ การทำสตาร์ทอัพมักเน้นที่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม แต่คู่แข่งรายใหญ่ก็สามารถที่จะลอกเลียนแบบ Solution ต่างๆ ที่มีอยู่ในตลาดได้ทันที

และแทบไม่มีความเสี่ยงเลย ดังนั้น จงให้ข้อจำกัดด้านการเงินเป็นตัวขับเคลื่อนให้คุณมุ่งชนะมากกว่าที่จะมองเป็นจุดอ่อนในการเริ่มต้นธุรกิจครับ
 

SMEs Tips 
  1. ทำธุรกิจที่คุณรู้จักและหลงรัก
  2. หาทีมทำงานเพื่อเป็นหุ้นส่วน มากกว่าทำเพื่อเงิน 
  3. อย่าเริ่มต้นธุรกิจแบบไร้แผน  
  4. อย่ามองหาออฟฟิศ จนกว่าคุณจะได้ลูกค้า
  5. ดีลเรื่องค่าธรรมเนียมล่วงหน้าจากพาร์ทเนอร์แทนที่จะขอรับเงินสด
  6. รู้จักการเจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์ ผู้จัดจำหน่าย
  7. เลือก Business Model ช่วยเพิ่มรายได้ ประหยัดเวลา 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,681
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,319
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
520
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
520
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
462
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
434
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด