บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    สร้างความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน
3.3K
2 นาที
30 มีนาคม 2560
3 วิธีเปลี่ยนความคิด สร้างนวัตกรรม ทำรายได้ให้ตัวเอง!

 
พลังของความคิดเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดธุรกิจ จงเชื่อในคำที่ว่ายิ่งแปลกและแตกต่างยิ่งมีรายได้ แม้ปัจจุบันเราจะมองว่าสินค้าและบริการที่มีนั้นแทบจะมีทุกอย่างที่ต้องการ การจะสร้างแบรนด์ใหม่สร้างสินค้าใหม่เป็นสิ่งที่หลายคนมองว่าโอกาสเกิดขึ้นยาก แต่คำว่ายากไม่ใช่สิ่งที่บอกว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้

เชื่อได้อีกเช่นกันว่าในอนาคตจะต้องมีสิ่งที่แปลกใหม่ยิ่งกว่านี้ปรากฏออกมา คำถามก็คือว่าแล้วความคิดเหล่านั้นมาได้อย่างไรในเมื่อเราตีความไปว่าการสร้างธุรกิจใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์นั้นยากเหลือเกิน
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มีคำตอบพร้อมตัวอย่างดีๆในการเปลี่ยนแปลงความคิดสู่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆที่ทำให้เรามีแนวทางในการประกอบอาชีพมากขึ้นบางครั้งเรื่องที่เราคิดอาจจะไกลตัวเกินไปหรือยังไม่มีหลักคิดที่ดีพอลองมาดูวิธีคิด 3 ประการที่ทำให้แบรนด์ใหญ่ๆสร้างนวัตกรรมได้สำเร็จและเป็นสินค้าเป็นภูมิปัญญาที่สร้างรายได้มหาศาลให้ตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อ
 
1.Divergent Thinking 

ภาพจาก goo.gl/rsNX8Z

Divergent Thinking หมายถึง การคิดถึงสิ่งใหม่ๆ หรือการสำรวจหา (exploration) ความน่าจะเป็นต่างๆ ขึ้นมาตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดในทฤษฏีข้อนี้คือบริษัท Bell ที่คิดค้นและประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ขึ้นได้เป็นเจ้าแรก แต่กลายเป็น Sony ที่สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ ขายเป็นวิทยุทรานซิสเตอร์จนขายดิบขายดีแทน หรือกรณีบริษัท EMI ที่คิดค้นเครื่องเอ็กซเรย์ขึ้นมา แต่กลายเป็น General Electric (GE) ที่นำมาใช้ประโยชน์ทางการตลาดจนสำเร็จ
 
2.Convergent Thinking  
 
ภาพจาก goo.gl/7zdwr8

Convergent Thinking หมายถึง การคิดว่าจะทำอย่างไรให้ไอเดียที่แตกต่างหลากหลายนั้นสามารถมาบรรจบเป็นคอนเซปต์เดียวกันได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ และหลายครั้งต้องบอกว่ายากมากๆ เช่นกัน เพราะมันจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไอเดียหรือความคิดแปลกใหม่ที่ได้มานั้นไม่หยุดอยู่แค่ไอเดีย แต่สามารถต่อยอดเป็นรูปธรรมและใช้ได้จริง 
 
โดยตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่องของบริษัท 3M โดย Spencer Silver นักวิจัยของบริษัทตั้งใจจะผลิตกาวติดที่มีความเหนียวเป็นพิเศษ แต่ล้มเหลว แทนที่จะได้กาวเหนียวกลับได้กาวไม่เหนียวแทน จนกระทั่งผ่านมาหลายปี Arthur Fry เพื่อนของ Silver ก็บังเอิญพบวิธีสร้างประโยชน์จากกาวไม่เหนียวนี้ขึ้นมาได้ ซึ่งเขาเผอิญคิดได้ระหว่างที่กำลังหงุดหงิดกับกระดาษที่ใช้คั่นหน้าหนังสือ ที่พอคั่นทีไรก็หลุดทุกที

เหตุการณ์นี้เองที่ทำให้เขานึกถึงกาวไม่เหนียวของ Silver เลยปิ๊งไอเดียเอากาวไม่เหนียวมาบวกกับไอเดียกระดาษของเขา ออกมาเป็นกระดาษที่มีกาวไม่เหนียวติดอยู่ด้านหลัง ซึ่งสุดท้ายมันก็กลายมาเป็น Post-it ที่เรารู้จักกันนั่นเอง

3.Exploitation Thinking 

Exploitation Thinking หมายถึงการคิดในเชิงธุรกิจและการตลาดว่าจะทำอย่างไรถึงจะแสวงหากำไรหรือทำเงินจากไอเดียที่คิดมาได้ โดยตัวอย่างก็ยังอยู่ที่ 3M โดยในครั้งแรกได้ตั้งชื่อสินค้านี้ว่า ‘Press n’ Peel’ (แปลว่าแปะและลอกออก) โดยทดลองตลาดด้วยการวางจำหน่ายในบางพื้นที่ เพื่อดูฟีดแบ็กก่อน แต่ปรากฏว่ามันขายไม่ออก ด้วยเหตุผลว่าคนงง ไม่รู้ว่าใช้ยังไง เลยทำให้ 3M ต้องกลับมาคิดวิธีใหม่

โดยใช้วิธีแจกตัวอย่าง ให้คนลองใช้กันดู จากนั้นก็เปลี่ยนชื่อใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า ‘Post-it’ (แปลว่าติดประกาศมัน) ทีนี้พอเปลี่ยนชื่อและแจกให้คนได้ลองใช้ คนก็เริ่มเก็ตแล้วว่ามันใช้ยังไงและมีประโยชน์อย่างไร ผลที่ได้คือ Post-it กลายเป็นสินค้าขายดีของ 3M และยังถูกใช้เป็นคำเรียกสิ่งที่ว่านี้ไปแล้ว ซึ่งหากจะให้สรุปกรณีนี้ก็คือ นอกจากจะผนวกไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่างได้แล้ว ก็ต้องคิดต่อในเชิงธุรกิจและการตลาดด้วยว่า จะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
 
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างในการเปลี่ยนความคิด และความรู้ในสิ่งที่ชอบให้เป็นนวัตกรรมสร้างรายได้ให้ตัวเองได้อย่างน่าสนใจโดยตัวอย่างแรกคือ เครื่องชงกาแฟของ Nespresso ที่เข้ามาปฏิวัติความคิดของการดื่มกาแฟยุคเก่าที่ว่าถ้าเร็วต้องไม่อร่อย

แต่ถ้าอยากอร่อยต้องไม่เร็วและด้วยการออกแบบเครื่องทำกาแฟ Nespresso ที่ใช้แคปซูลเป็นตัวบรรจุกาแฟทำให้ผู้บริโภคได้ชิมกาแฟรสชาติเยี่ยมในเวลาอันรวดเร็ว และ Nespresso ยังทำมากกว่านั้นด้วยการออกแบบเครื่องให้สวยงามสามารถตั้งโชว์ได้เหมือนเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งในสำนักงาน สร้างยอดขายได้อย่างถล่มทลายจากความคิดที่แปลงเป็นนวัตกรรมชิ้นนี้
 
หรืออีกหนึ่งตัวอย่างในการแปลงความคิดเป็นนวัตกรรมสุดยอดสร้างรายได้ให้ตัวเองแบบสุดโต่งคือเรื่องของ Robert Lang นักออปโตอิเล็กทรอนิกส์ ดีกรีปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology) โดยเขาหลงใหลในศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่นหรือโอริกามิอย่างจริงจังและเขาก็ศึกษามันจนทะลุปรุโปร่งและเขาก็ตัดสินใจลาออกมาศึกษาเรื่องนี้แบบจริงจัง

และกลายเป็นว่างานอดิเรกด้านโอริกามิของ Robert Lang ได้ถูกนำมาใช้กับองค์การนาซา ที่ต้องการพับเลนส์กล่องส่องทางไกลเพื่อส่งขึ้นสู่อวกาศ  หรือผู้ผลิตรถยนต์ในเยอรมันนีที่ใช้ความรู้ด้านการพับโอริกามิของ Robert Lang ในการพับแอร์แบ็กเข้าไปในตัวรถยนต์ แม้กระทั่งวงการแพทย์ก็ต้องขอความรู้จาก Robert Lang ในการผลิตอุปกรณ์ขยายหลอดเลือดที่ตอนเข้าต้องมีขนาดเล็กและขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเข้าไปถึงเป้าหมายในร่างกาย ตัวอย่างของโอริกามิจาก Robert Lang นั้นชัดเจนมากว่าความคิดสร้างสรรค์ถ้าทำอย่างจริงจังก็ทำให้เป็นนวัตกรรมและสร้างรายได้มหาศาล 
 
ไอเดียที่แตกต่างและความหลากหลายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการทำธุรกิจยุคใหม่ ยิ่งแตกต่างยิ่งได้เปรียบบางครั้งสิ่งที่เราถนัด หรือสิ่งที่เราคุ้นเคยอาจดูไม่มีความหมายแต่ถ้าเราศึกษาและพัฒนาความรู้ความสามารถที่มีอย่างจริงจังก็ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆที่ทำให้โลกแตกตื่นนั้นคือที่มาของรายได้มหาศาลที่เริ่มมาจากความคิดอันแปลกและแตกต่างของตัวเราเองล้วนๆ
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม

ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด