บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.1K
2 นาที
19 พฤษภาคม 2560
เอาจริงละ! ธุรกิจบัตรเครดิตรวมพลังดันระบบ QR Code มาตรฐาน สู่สังคมไร้เงินสด

 
ภาพจาก goo.gl/ZuGxvn

ดูท่าว่าจะไม่ใช่กระแสมาเล่นๆกันซะแล้วสำหรับ Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดที่ภาครัฐเองก็ดูจะจริงจังเป็นอย่างมากถึงกับมีโรดแมพและแนวทางในการสร้างประเทศไทยไปสู่ Cashless Society อย่างเต็มตัวในอนาคต แต่ถึงตอนนี้การเปลี่ยนแปลงยังเป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้นเพราะความเคยชินเป็นหลัก ซึ่งก็คงต้องมาบริหารจัดการระบบการเงินกันใหม่อีกครั้งหากหวังจะเป็น Cashless Society ที่มีประสิทธิภาพและไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
 
www.ThaiFranchiseCenter.com เองก็มองเห็นความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้จากหลายธุรกิจที่เริ่มขยับให้สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลและแน่นอนว่าธุรกิจบัตรเครดิตที่เกี่ยวข้องกับการเงินแบบเต็มๆจะต้องนำร่องในเรื่องนี้กันก่อนธุรกิจอื่นๆ

โดยตามข่าวที่เห็นทั้งมาสเตอร์การ์ด ยูเนี่ยนเพย์ และวีซ่า ได้ร่วมมือกันประกาศเปิดตัว QR Code มาตรฐาน QR Code Standardized การชำระเงินในรูปแบบใหม่ที่จะยกระดับประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสด ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยนวัตกรรม, ความปลอดภัยในการชำระเงิน และ ระบบธุรกรรมการเงินแบบเปิด
 
หลักการทำงานของ QR Code Standardized


 
ภาพจาก goo.gl/rslgim

ผู้บริโภคที่ถือบัตรมาสเตอร์การ์ด ยูเนี่ยนเพย์ หรือวีซ่า สามารถใช้แอพพลิเคชั่นบนมือถือที่รองรับ QR Code มาตรฐานสำหรับการชำระเงินได้อย่างง่ายดาย เพียงสแกน QR Code ที่แสดงอยู่ในร้านค้า โดย QR Code จะสามารถใช้งานได้บนสมาร์ทโฟน และโทรศัทพ์มือถือที่มีกล้องถ่ายภาพ

ซึ่งการกำหนดสเปคมาตรฐานสากลสำหรับการชำระเงินด้วย QR code จะทำให้ผู้บริโภคและผู้ค้าในประเทศไทยมีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้นเพื่อชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย  ทั้งยังง่ายในการตั้งค่าและใช้งานอีกด้วย

3 ประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากระบบ QR code

 

 
ภาพจาก goo.gl/GAvPLf

1.ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องสแกน QR code ที่แตกต่างกันสำหรับการชำระเงินด้วยบัตรมาสเตอร์การ์ด ยูเนี่ยนเพย์ และวีซ่า เพราะผู้ค้าจะแสดงเพียงแค่ QR code เดียวที่หน้าร้านหรือผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือของธนาคารที่บริการร้านค้า หรือพูดง่ายๆคือ QR code ภาพเดียว ใช้ได้กับบัตรทั้ง 3 ค่าย
 
2.การทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายการชำระเงินระดับโลกทั้งสามค่ายนี้ จะลดขั้นตอนและลดความเสี่ยงในการถือเและชำระด้วยเงินสด เพิ่มความสะดวกในกรณีที่เงินสดไม่พอ ทำให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์การชำระเงินที่รวดเร็ว สะดวก และปลอดภัย หรือในฝ่ายของผู้ประกอบการเองก็เพิ่มโอกาสในการขายและให้บริการ ด้วยช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
 
3. QR Code มาตรฐาน  มีไว้เพื่อการใช้งานร่วมกันทั่วโลก เพียงแค่ผู้บริโภคมีแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่รองรับ ก็สามารถชำระเงินได้ทุกที่ ที่รับ QR Code มาตรฐาน
 
 
ภาพจาก goo.gl/rLWBnl

และในขณะนี้ ทั้งธนาคารและร้านค้าอยู่ในระหว่างการดำเนินงานติดตั้ง QR Code มาตรฐาน คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่สามประจำปี พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีส่วนช่วยนโยบายรัฐบาลในการเพิ่มจุดชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โรดแมปการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติของกระทรวงการคลัง
 
ซึ่งการเปิดตัวระบบ QR Code มาตรฐาน นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของก้าวย่างที่สำคัญของประเทศไทย เพราะจะทำให้ผู้บริโภคพร้อมยอมรับและหันมาใช้เทคโนโลยีสำหรับการจ่ายเงินในรูปแบบใหม่ได้รวดเร็วขึ้น

จากผลการสำรวจของมาสเตอร์การ์ดพบว่า ร้อยละ 50 ของผู้บริโภคที่มีอายุน้อยทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะหันมาใช้ QR code ทันที และมั่นใจว่าผลสำรวจนี้จะสามารถใช้ได้ในประเทศไทยเช่นกันและนั่นจะยิ่งทำให้ QR code แพร่หลายเมื่อเทคโนโลยีนี้ถูกนำไปใช้ในร้านค้าขนาดย่อมทั่วประเทศ

รวมถึงใช้สำหรับการจ่ายบิลและการชำระเงินแบบเรียกเก็บปลายทาง และด้วย QR code นี้พัฒนาด้วยมาตรฐานเดียวกับ QR ทั่วโลก ทำให้ผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการได้ทุกแห่งทั่วโลกที่รับ QR Code มาตรฐาน โดยสามารถมั่นใจในความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นจุดแข็งสำคัญที่สนับสนุนให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
531
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด